วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

TDRI เผยงานวิจัยระบุ ทีวีไทยไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลช่วงชุมนุมทางการเมือง มี.ค.-พ.ค. 53 สะท้อนความไม่เป็นกลางหรือการเลือกข้าง




ผลวิจัย TDRI ชี้ TPBS ไม่อิสระเต็มที่

Home> News> Thailand> ผลวิจัย TDRI ชี้ TPBS ไม่อิสระเต็มที่

ผลวิจัย TDRI ชี้ TPBS ไม่อิสระเต็มที่

 

 

TDRI เผยงานวิจัยระบุ ทีวีไทยไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลช่วงชุมนุมทางการเมือง มี.ค.-พ.ค. 53 สะท้อนความไม่เป็นกลางหรือการเลือกข้าง

 

งานวิจัยของ ดร.วิโรจน์ ณ ระนองเรื่องความเป็นอิสระของทีวีสาธารณะและการถ่ายทอดวาทกรรมและปฏิบัติการจิตวิทยาของรัฐ: กรณีศึกษาการชุมชุมทางการเมืองในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ระบุว่า ทีวีไทยเป็นส่วนหนึ่งขององค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โดยออกแบบไว้อย่างระมัดระวังเพื่อให้มีหลักประกันด้านความเป็นอิสระจากรัฐบาล (ด้วยโครงสร้างตามกฎหมาย) และจากกลุ่มทุนอื่น (โดยกำหนดให้มีแหล่งทุนสนับสนุนหลักที่ชัดเจนจากภาษีบาปปี ละไม่เกิน 2,000 ล้าน) 

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์และมีการศึกษาที่ชี้ว่า ทีวีไทยยังเป็นสถานีที่ไม่มีความโดดเด่นในด้านความเป็นอิสระอย่างที่ควรจะเป็น (และสามารถเป็นได้)   หรือเป็นกลางทางการเมือง(ในความหมายของ unbiased/impartiality) อย่างแท้จริง หรือมีความเป็นมืออาชีพที่สามารถเป็นต้นแบบที่คนทางทีวีช่องอื่นๆ (ที่อาจจะไม่มีโอกาสที่ดีเท่า เพราะต้องรับใช้ทุน รัฐ หรือกองทัพ) ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างการศึกษานี้พยายามวิเคราะห์ความเป็นอิสระและความเป็นกลางทางการเมืองของทีวีไทย โดยใช้วิธีหาหรือแสดงหลักฐานในกรณีที่การนำเสนอของทีวีไทยมีความเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานชั้นเลิศ (ideal standard)  ในด้านเหล่านี้ของทีวีสาธารณะ    

 

วิธีการศึกษาประกอบด้วย การติดตามดูทีวีไทยในช่วงเดือน มี.ค.–พ.ค. 2553   การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ รับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากการประชุมอื่นๆ และการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในวงการสื่อจำนวนหนึ่งที่สนใจปัญหานี้และติดตามชมทีวีไทยในช่วงดังกล่าว 

 

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อสาธารณะที่ใช้ภาษีของประชาชนและมุ่งหวังให้เกิดความตระหนักถึงมาตรฐาน/ความเป็นอิสระ/จริยธรรมของสื่อสาธารณะในการนำเสนอข่าวสารที่รอบด้านให้ประชาชน

 

ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าในบางช่วงทีวีไทยเป็นช่องที่เสนอข่าวการชุมนุมมากกว่าฟรีทีวีโดยเฉลี่ย แต่การที่ทีวีไทยไม่ได้เสนอข่าวที่รัฐพยายามใช้สื่อโทรทัศน์ในการทำสงครามจิตวิทยาต่อสาธารณะ ในขณะที่มีการรับและถ่ายทอดวาทกรรมต่างๆ ที่รัฐสร้างขึ้นภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง (ซึ่งอย่างน้อยบางส่วนเป็นวาทกรรมทีเห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นเพื่อดำเนินการตอบโต้กับผู้ชุมนุมและ/หรือฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง) มาใช้เป็นภาษาข่าวของสถานี  โดยปราศจากการตั้งคำถามหรือมุมมองที่วิเคราะห์วิจารณ์ต่อสาธารณะ และการที่แทบจะไม่เสนอข่าวการแทรกแซงสื่อและการปิดกั้นเว็บไซท์ต่างๆ ของรัฐและกองทัพ  จึงทำให้ภาพของทีวีไทยในด้านความเป็นอิสระของ  "สื่อสาธารณะ"  ไม่ได้มีความโดดเด่นไปจากสื่อโทรทัศน์ของรัฐหรือสื่อโทรทัศน์ทั่วไปที่มักอยู่ภายใต้วัฒนธรรมกำกับการทำงานของรัฐ และมีแนวโน้มที่จะให้พื้นที่เต็มที่กับภาครัฐ และรับวาทกรรมที่รัฐสร้างขึ้นมาเหมือนโดยปราศจากคำถามหรือมุมมองวิพากษ์วิจารณ์  ทำให้ทีวีไทยยังไม่ได้มีภาพของสื่อที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นอิสระจากอ านาจรัฐ ซึ่งเป็นความคาดหวังของคนจำนวนมากต่อทีวีไทยในช่วงที่มีการผลักดันให้ตั้งทีวีช่องนี้ขึ้นมา

 

ผลการศึกษาที่พบว่า ทีวีไทยมีแนวโน้มที่ไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลในช่วงการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม  2553 นี้อาจจะไม่ได้หมายความว่าทีวีไทยเข้าข้างรัฐบาลหรือกองทัพเสมอไป แต่อาจจะสะท้อนความไม่เป็นกลางหรือการเลือกข้างของทีวีไทย ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเอียงข้างฝ่ายตรงข้ามกับรัฐในการชุมนุมทางการเมืองในช่วงก่อนปี 2552 

 

แม้ว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงในปัจจุบัน จะเป็นเรื่องยากที่ทีวีไทยหรือสื่ออื่นใดจะสามารถท าให้ผู้ชมทุกคนเห็นว่ามีความเป็นกลาง ซึ่งกรรมการนโยบายและผู้บริหารทีวีไทยหลายท่านได้แย้งว่าทีวีไทย  "ถูกด่า/วิจารณ์จากทั้งแดงทั้งเหลือง" และบางท่านมองดูปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นกลาง เพราะแสดงว่าได้ให้พื้นที่กับทั้งสองฝ่ายแล้ว  แต่ปรากฏการณ์นี้อาจสะท้อนปัญหาความเอนเอียงไปมาตามกระแสหรือเสียงวิจารณ์ในช่วงต่างๆ ก็เป็นได้  ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถท างานได้อย่างเป็นมืออาชีพที่ไม่เลือกข้างอย่างแท้จริง ก็น่าจะทำให้ข้อครหาเหล่านี้น้อยลงหรือหมดไป (และเปลี่ยนจากการ "ถูกด่าจากทั้งแดงทั้งเหลือง" เป็น "ไม่ถูกด่าจากทั้งเหลืองและแดง" แทน)  ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถไปถึงจุดที่คนจำนวนมากเกิดความเชื่อมั่นว่าทีวีช่องนี้เป็นทีวีที่อิสระและมีความเป็นมืออาชีพที่เชื่อถือได้และกล้าที่จะแสวงหาความจริงมาตีแผ่ โดยไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแล้ว คนเหล่านั้นก็จะเกิดความหวงแหนและจะช่วยปกป้องทีวีช่องนี้ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็น  "สินทรัพย์"  (asset)  ที่มีค่าและเกราะกำบังของทีวีไทยในอนาคต  

 

เป็นที่น่าสังเกตว่า  ถึงแม้ทีวีสาธารณะในบางประเทศมีภาพลักษณ์ที่มีจุดยืนทางการเมืองและในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ใช่ตรงกลาง  ตัวอย่างเช่น PBS  ในสหรัฐได้ชื่อว่าเป็นทีวีเสรีนิยม (liberal)  รวมทั้งรายการและพิธีกรที่มีชื่อเสียงของช่องบางคนด้วย  อย่างไรก็ตาม ทีวีเหล่านี้มักจะมีนโยบายที่ชัดเจนในการเปิดพื้นที่ให้กับรายการที่ได้ชื่อว่ามีจุดยืนทางการเมืองต่างออกไป  นอกจากนี้การทำงานของทีวีอย่าง PBS ก็ได้รับความยอมรับในความเป็นมืออาชีพค่อนข้างสูง และโดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อครหาเรื่องการบิดเบือนใดๆ  ความยอมรับในส่วนนี้ทำให้พิธีกรข่าวของ PBS มักได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ด าเนินรายการ (moderator) ในการโต้วาทีในการเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอยู่บ่อยๆ โดยไม่มีข้อคัดค้านหรือข้อครหาเรื่ องความไม่เป็นกลางทางการเมืองแต่อย่างใด  ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นเป้าหมายที่ทีวีไทยควรจะตั้งและพยายามดำเนินงานแบบมืออาชีพในการนำเสนอข่าวสารและรายการอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากการยัดเยียด บิดเบือน หรือโจมตีเพื่อช่วยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  ซึ่งจะทำให้ทีวีไทยกลายเป็นทีวีสาธารณะที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและยังสามารถรักษาจุดยืนขององค์กร (ถ้ามี) ไปพร้อมกันด้วย

 

ศึกษางานวิจัยทั้งหมดได้ที่ http://www.tdri.or.th/download/publication/d2012001.pdf

 

Source : www.tdri.or.th / www.bloggang.com (Image)

by VoiceNews

13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 14:18 น.


http://news.voicetv.co.th/thailand/30713.html

อันนี้มาจากรายงานส่วนบุคคลที่ผมทำในช่วงเข้าอบรม บสก.2 ของสถาบันอิศรา นะครับ สำหรับรายงานการประเมินภายนอก TPBS (ซึ่งทำเสร็จตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าอบรม บสก.2) ซึ่ง TPBS โดยคุณหมอพลเดชเชิญผมไปประเมิน และต่อมา block ไม่ให้ีตีพิมพ์เผยแพร่ ก็เพิ่งมีให้ download เช่นกัน เพราะผมถือว่าโดยเจตนารมณ์ที่ พรบ TPBS กำหนดให้มีการประเมินภายนอก ก็เพือสาธารณะสามารถตรวจสอบได้ และผมได้ให้เวลามาเป็นปีจนถึงช่วงนี้ ที่มีรายงานการประเมินปีภายนอกของปีถัดมา (โดย อ.ปัทมาวดี ซูซูกิ และคณะ) ออกมาให้เปรียบเทียบได้แล้ว (ในเว็บ TPBS มีเฉพาะบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ในแต่ละปี) ซึ่งยกเว้นในเรื่องความน่าเชื่อถือของข่าว (ที่ผู้ประเมินอิงผลจากการทำ focus group กับกลุ่มคนที่ใกล้ชิด TPBS เป็นหลัก) แล้ว ผมได้ฟังการนำเสนอที่ กมธ วุฒิ และดูรายงานไปคร่าวๆ เชื่อว่าผลการประเมินเรื่องและด้านอื่นๆ ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
รายงานนี้มี link สำหรับ download อยู่ตรงท้ายข่าวแล้วนะครับ 
สำหรับตัว "รายงานการประเมินผลการดำเนินงานปี 2552 (การประเมินภายนอก) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย" (TPBS) ซึ่งเป็นรายงานการประเมิน TPBS ในทุกด้านที่สำคัญ ที่เป็นฉบับทางการ สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บ TDRI ที่ http://www.tdri.or.th/th/php/projectdetail.php?l=2&n=1637 กด F)
Kitcle Opensource ·  Top Commenter · นักเขียนโปรแกรมและวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) at บริษัทเอกชน
ทุกวันนี้ TPBS ไม่มีอะไรที่เป็นจุดเด่น จุดยืน หรือจุดขาย ที่จะนำความเชื่อถือสู่องค์กร นั่นเพียงเพราะว่า บุคคลากรของช่องนี้ ส่วนใหญ่เติบโตมาจากสื่อเลือกข้าง ... มิใช่บุคคลากรที่เติบโตมาจากอุดมการณ์แท้จริง "ความเป็นกลาง ไม่มีในโลก แต่คุณสามารถนำเสนอ 2 ฝั่ง โดย หาร 2 ไม่ให้เหลือเศษได้" ..



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น