วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการรถไฟฟ้า BTS ย่านฝั่งธนบุรีข้ามมาฝั่งพระนคร ที่มีแต่การศึกษาแต่ไม่มีการปรับมาใช้

สภาฯจี้กทม.เร่งแก้ไขจราจรลั่นต้องพัฒนาระบบขนส่งด่วน

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 29 มกราคม 2554 12:53:31 น.

นายกิตพล เชิดชูกิจกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) เขตประเวศ กล่าวถึงเรื่องการเร่งรัดดำเนินการระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานครเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ว่า ตนพร้อมคณะได้ยื่นญัตติในเรื่องนี้ต่อที่ประชุมสภากทม. เพื่อขอให้ฝ่ายบริหารเร่งรัดการดำเนินงานโครงการต่างๆเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในปัจจุบัน เนื่องจากกรุงเทพฯเป็นศูนย์รวมความเจริญในทุกด้านและมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีอัตราการขยายตัวของประชากรในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเพิ่มสูงขึ้น จาก 10 ล้านคน ในปี 2540 เป็น 11 ล้านคน ในปี 2550 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคนในปี 2564 โดยเฉลี่ย 150,000 คน ซึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนจำเป็นต้องมีการเดินทาง

จากสถิติ ปี 2530 มี จำนวน 12 ล้านเที่ยว(คน) ต่อวัน เพิ่มเป็น 15 ล้านเที่ยว(คน) ต่อวัน ในปี 2550 และคาดว่าจะเพิ่ม ขึ้นเป็น 26.4 ล้านเที่ยว(คน) ต่อวัน ในปี 2570 จะเห็นได้ว่าระบบขนส่งมวลชนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ประชาชนต้องนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ ขณะที่โครงข่ายก็ไม่เพียงพอ

กทม.พัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลายรูปแบบ แต่ยังมีความล่าช้า ดังนั้นจึงควรเร่งรัดดำเนินการ เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชน ส่วนต่อขยายสายสีลม(ตากสิน-เพชรเกษม) สายพหลโยธิน(หมอชิต — สะพานใหม่) และสายสุขุมวิท (อ่อนนุช — แบริ่ง) โครงการพัฒนาระบบขนส่งรางเดี่ยว (Monorail) รวมทั้งการให้บริการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT)ด้วย

นอกจากนี้มีสก.อีกหลายคนได้ให้ความเห็นผ่านการอภิปรายในญัตติฯดังกล่าว อาทิ การคิดระบบอัตราค่าโดยสารของ BTS , การปรับเส้นทางทบทวนระบบขนส่งรางเดี่ยว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นเส้นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ดินแดง-มักกะสัน แทน, การปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสถานี BTS สายสุขุมวิท (อ่อนนุช — แบริ่ง) ที่จะเปิดใช้ ช่วงเดือนสิงหาคม 2554 นี้ , โครงการรถไฟฟ้า BTS ย่านฝั่งธนบุรีข้ามมาฝั่งพระนคร ที่มีแต่การศึกษาแต่ไม่มีการปรับมาใช้ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการแก้ไขปัญหา

ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวชี้แจงว่า ฝ่ายบริหาร ได้วางกรอบแผนงานไว้อย่างเป็นระบบชัดเจน มีความคืบหน้า แต่ที่ยังไม่ได้รายงานสู่สาธารณะนั้น เนื่องจากต้องการความชัดเจนจากหน่วยงานต่างๆก่อน จะที่จะสรุปลงไปเพียงหน่วยงานเดียว

ส่วนเรื่องการสร้างระบบขนส่งลอยฟ้านั้น ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์คงดำเนินการไม่ได้ กรุงเทพฯมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราจะสร้างระบบขนส่งต้องมีความเชื่อมโยงกัน อย่างเช่น โครงการโมโนเรล ที่จามจุรีสแควร์ เรามีการวางแผนสำคัญๆ เชื่อมจุดสำคัญๆ 4 จุดโดยรอบถึงแยกราชประสงค์ ส่วนเรื่องของ BRT คณะผู้บริหาร ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้กทม.ขาดทุน สัดส่วนต้องพอดีทั้งผู้โดยสารและ ราคาตามเป้าหมายซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา โครงการ BRT จะเหมือน BTS ในช่วงต้นๆ จึงต้องดูกันอีกสักระยะ ส่วนเรื่องค่าโดยสารช่วงสายสุขุมวิท (อ่อนนุช — แบริ่ง) จะเริ่มที่ราคา 15 บาท ซึ่งต่ำกว่าระบบอื่นๆ และมีกำหนดเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 12 สิงหาคม 2554 นี้

http://www.ryt9.com/s/nnd/1077403


--

กรุงธนบุรี ยุทธศาสตร์สำคัญของพื้นที่บางกอก

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ประจำวันที่ 30 มกราคม 2554

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2554 01:53:12 น.
กรุงธนบุรี ยุทธศาสตร์สำคัญของพื้นที่บางกอก

แผ่นดินที่เรียกว่า "บางกอก" นั้นถือเป็นภูมิบ้านภูมิเมืองสำคัญของบริเวณปากอ่าวไทย โดยมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลคดเคี้ยวไปมา วกวนจนเกิดพื้นที่สวนที่มีแม่น้ำล้อมอยู่หลายแห่งดูคล้ายเกาะ สรุปแล้วก็คือ บางกอกมีพื้นดินที่คอดกิ่วจนเดินข้ามได้ไปยังแม่น้ำสายเดียวกันอีกฝากหนึ่งได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีสวนของพื้นที่บางกอกปลูกผลไม้อยู่หนาแน่น พ่อค้าชาวยุโรปชาวจีนที่เดินเรือเข้ามายังอยุธยาจึงรู้จัก บางกอก (BANGKOK) มากกว่าชื่อกรุงเทพ ที่ตั้งขึ้นภายหลังเมื่อพ.ศ.๒๓๒๕ ส่วนแม่น้ำที่บันทึกไว้ว่า แม่น้ำริเวอร์ (MEANAM RIVER) นั้นก็ชื่อ บางเจ้าพญา ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช จากบทกวี"ต้นฝรั่งเศส"ที่พบใหม่

เมื่อพื้นที่สวนบางกอกถูกตัดให้แม่น้ำเดินสายตรงในสมัยอยุธยา ความสำคัญของเมืองธนบุรีที่เคยเป็นราชธานีในแผ่นดินพระเจ้าตากสิน จึงเปลี่ยนภูมิบ้านภูมิเมืองไปอยู่บางกอกฝั่งตะวันออก ส่วนบางกอกฝั่งตะวันตกนั้นมี พระราชวังเดิมเป็นพระราชวังหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นจุดสำคัญในการป้องกันทางน้ำก่อนเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะมีภูมิสถานที่สามารถสังเกตเรือสินค้า-เรือรบเข้าออกได้ในระยะไกล โดยเฉพาะเป็นเส้นทางที่สะดวกในการใช้เป็นเส้นทางเดินทัพทั้งทางบกและทางน้ำด้วย

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้สร้างพระราชวังเดิมนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากที่ทรงนำกำลังเข้ากู้แผ่นดินให้ชาติไทย สถาปนาเมืองธนบุรีศรีสมุทร ซึ่งเป็นเมืองด่านสำคัญในสมัยอยุธยานั้นเป็นเมืองหลวงแทนกรุงศรีอยุธยาที่ถูกทำลายย่อยยับ พระองค์ทรงประทับและใช้ว่าราชการงานแผ่นดินจนสามารถรวบประเทศเป็นอาณาจักรใหญ่ พร้อมกับได้ปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งก็ยังปรากฏให้เห็นความเป็นกรุงธนบุรีถึงทุกวันนี้

กรุงธนบุรีแห่งนี้มีอาณาเขตของพระราชวัง ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาถึงคลองนครบาล ซึ่งอยู่เหนือวัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม) โดยรวมวัดแจ้ง และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปอยู่ในเขตพระราชวัง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ (ทองด้วง)เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประทับและว่าราชการบริหารบ้านเมืองใหม่ในชื่อ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรฯ อันมีกษัตริย์ราชวงค์จักรีครองแผ่นดินสืบไปนั้น

พระราชวังของพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเรียกว่า "พระราชวังเดิม" ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ทรงกำหนดเขตพระราชวังเดิมให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองคือวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดนั้นอยู่นอกเขตพระราชวังเดิม และยังได้โปรดให้แต่งตั้งพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่พระราชวังเดิม ด้วยเหตุที่ภูมิสถานของเมืองธนบุรีศรีสมุทรนี้มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์การป้องกันทางทะเล ดังนั้นกรุงธนบุรีจึงมีเจ้านายหลายพระองค์ประทับอยู่ดูแลมาทุกรัชกาล ได้แก่ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระโอรสในกรมพระเทพสุดาวดี ประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ประทับอยู่จนได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๓๕๒ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสในกรมพระศรีสุดารักษ์ ได้ประทับอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในรัชกาลที่๒ จนกระทั่งได้ทรงผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี พระอนุชา สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ประทับอยู่จนกระทั่งได้มีพิธีบวรราชาภิเษก และเสด็จไปประทับที่วังหน้าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า รัชกาลที่ ๔ ต่อมากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้ประทับอยู่ตั้งแต่ประสูติ จนเสด็จไปประทับยังวังใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ได้ประทับอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๙๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ได้ประทับอยู่ขณะทรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ หลังสุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานพระราชวังเดิมแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานจากนายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ เมื่อโรงเรียนนายเรือได้ย้ายออกไปอยู่สัตหีบ และย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการแล้ว กองทัพเรือจึงใช้ พระราชวังเดิมแห่งนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือมาจนทุกวันนี้

ความสำคัญของเมืองธนบุรีศรีสมุทรหรือ กรุงธนบุรีที่เหลือพื้นที่พระราชวังเดิมแห่งนี้ ถือเป็นภูมิบ้านภูมืเมืองของการป้องกันแผ่นดินทางทะเลที่ได้รับใช้แผ่นดินมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว...

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ




การจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ หนึ่งชุดเพื่อทำการตรวจสอบ และตรวจทานข้อสอบ GAT และ PAT

2 ธ.ค.53 - ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร แนะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อสอบ GAT และ PAT ที่ออกโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) หลังมีการร้องเรียนเรื่องข้อสอบผิดพลาดเป็นประจำทุกปี

นายอภิชาต การิกาญจน์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ หรือ PAT ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นตนคิดว่าเป็นหน้าที่ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่ต้องควบคุมดูแลไม่เกิดข้อปัญหาขึ้นซ้ำซากเป็นประจำทุกปี เพราะการทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบที่มีมาตรฐานระดับประเทศหากเกิดข้อผิด พลาดบ่อยครั้งการทดสอบทั้ง GAT และ PAT จะขาดความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ตนมองว่าหากมีความเป็นได้น่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ หนึ่งชุดเพื่อทำการตรวจสอบ และตรวจทานข้อสอบ GAT และ PAT ที่ทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติได้ดำเนินการออกข้อสอบเพื่อเป็นการ สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เข้าทำการทดสอบ

นายอภิชาตยังกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าระบบการสอบแบบแอดมิชชั่นจะเปิดโอกาส ให้เด็กทั่วไปได้มีโอกาสในการแข่งขันเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากกว่า ระบบเอ็นทรานซ์ที่เด็กเก่งเท่านั้นจึงจะมีโอกาสในการเข้าเรียนในระดับอุดม ศึกษาในสถาบันของรัฐได้




เกรียงไกร หอมจันทร์เทศ ข่าว/เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=1026


ศึกษาแนวทางจัดการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนในเขตกรุงเทพมหานครและ ต่างจังหวัด

21 ม.ค. 54 คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร เตรียมหาแนวทางจัดการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด พร้อมเชิญรมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ข้อมูล 26 ม.ค นี้

นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า วันพุธที่ 26 มกราคม นี้ เวลา 09.30 น. กมธ.จะพิจารณาศึกษาแนวทางจัดการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนในเขตกรุงเทพมหานครและ ต่างจังหวัด โดยเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มาให้ ข้อมูล ต่อกมธ. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 3502 ชั้น 5 อาคารรัฐสภา 3 เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว


อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=1264












คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ตู้ ปณ.86 ปณฝ. รัฐสภา 10300

21 ม.ค. 54 - กมธ.สวัสดิการสังคม สผ. เปิดตู้ ปณ. ช่วยเหลือประชาชน ระบุ หากพบเห็น ผู้ได้รับความเดือนร้อนด้านสวัสดิการสังคม สามารถส่งข้อมูลมาได้ที่ อนุ กมธ.ติดตามและตรวจสอบปัญหาการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม ใน กมธ.สวัสดิการสังคม ตู้ ปณ.86 ปณฝ. รัฐสภา 10300

คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสมัย เจริญช่าง เป็นประธานกรรมาธิการ มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบปัญหาการดำเนินงานด้าน สวัสดิการสังคมขึ้น เพื่อตรวจสอบและติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2553 ของส่วนราชการต่างๆ เป็นกรณีเร่งด่วน และเพื่อพิจารณาศึกษา ติดตามตรวจสอบภาพรวมของปัญหาในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ปัญหาสวัสดิการครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ และปัญหาการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้หากผู้ใดพบเห็น ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัย ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือจากรัฐ หรือการบริการด้านสวัสดิการสังคมรวมถึงหากมีข้อเสนอแนะ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ สามารถแจ้งข้อมูลมาได้ที่ คณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบปัญหาการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม ในคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ตู้ ปณ.86 ปณฝ. รัฐสภา 10300 โดยทุกข้อมูลที่ส่งมา กมธ.จะสงวนเป็นความลับ

วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=1268

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 และ มาตรา 93 – 98 ในวาระที่2 แล้ว พร้อมนัดลงมติวาระ 3 ในร่างแก้ไข วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

26 ม.ค. 54 - ที่ประชุมรัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 และ มาตรา 93 – 98 ในวาระที่2 แล้ว พร้อมนัดลงมติวาระ 3 ในร่างแก้ไข วันที่ 11 กุมภาพันธ์ นี้

ที่ประชุมรัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 ว่าด้วยหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ และมาตรา 93-98 ว่าด้วยเรื่องสัดส่วนของ ส.ส. ในวาระที่ 2 แล้ว โดยมาตรา 190 ที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับการแก้ไขของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนนเสียง 343 ต่อ 205 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง และไม่ลงคะแนน 2 เสียง ส่วนมาตรา93 ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับ กับสัดส่วนส.ส. 375 ต่อ 125 คน ด้วยคะแนน 298 ไม่เห็นด้วย 211 งดออกเสียง 35 ไม่ลงคะแนน 3 จากนั้นเป็นการลงมติมาตรา 94-98 ซึ่งที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบทุกมาตรา
อย่างไรก็ดี ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ได้ใช้เวลารวมกว่า 16 ชั่วโมง ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้นัดลงมติวาระ 3 ในร่างแก้ไข วันที่ 11 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 10.00 น.


นภาทิพย์ นูโพนทอง ข่าว / เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=1299











วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

จุดจอดแรกอยู่ที่หน้าวัดสุทัศน์ฯ นอกจาก กทม. จัดรถรางไหว้พระ 9 วัด

2011-Publicize
ขบวนรถรางไหว้พระ 9 วัด ซึ่งสำนักวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และกีฬาจัดรถรางไว้บริการ 4 คัน โดยทุกปีที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก จึงจัดรถบัสปรับอากาศเตรียมไว้เพิ่มอีก 2 คัน เพื่อรับประชาชนไปไหว้พระวันละ 2 รอบ จุดจอดแรกอยู่ที่หน้าวัดสุทัศน์ฯ นอกจาก กทม. จัดรถรางไหว้พระ 9 วัดสำคัญในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์แล้ว องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ก็มีรถเมล์บริการฟรีในโครงการ "ครอบครัวสุขสันต์" อำนวยความสะดวกประชาชนที่จะเดินทางกลับต่างจังหวัดไปสถานีขนส่งหมอชิตรวม ทั้งประชาชน ที่ต้องการมาไหว้พระ 9 วัด หรือท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ด้วยเช่นกัน โดยให้บริการระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 53-2 ม.ค. 54 ช่วงเวลา 06.00-22.00 น. สังเกตรถเมล์ที่เข้าร่วมโครงการจะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ด้านหน้าและด้าน หลังรถให้ชัดเจนเป็นที่สังเกตได้ง่าย รวมรถทั้งหมด 50 คันเป็นรถร้อน เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงฤดูหนาวที่อากาศกำลังเย็นสบาย โดยเส้นทางวิ่ง เป็นวงกลมจากอนุสาวรีย์ชัยฯ-สนามหลวง-หมอชิต ผ่านวัดต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ดังนี้ จากอนุสาวรีย์ชัยฯ วิ่งถนนศรีอยุธยา ผ่านวัดเบญจมบพิตรฯ วิ่งถนนสามเสน ผ่านวัดชนะสงครามวัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพน วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง ศาลหลักเมือง วัดสุทัศน์ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. วัดอนงค์และสิ้นสุดที่วงเวียนใหญ่