วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

วช.ระดมความคิดป้องกันการทุจริตทางปัญญาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์

 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประชุมระดมความคิดเรื่อง "การจัดการธรรมาภิบาล ทางปัญญาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์" เมื่อเร็วๆ นี้ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่นกรุงเทพมหานคร โดยศาตราจารย์ ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานเปิดในงาน

ศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ เปิดเผยว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นหนึ่งในหลายปัญหาที่บั่นทอนเสถียรภาพทางสังคมองค์การ สหประชาชาติได้จัดทำอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตขึ้น เมื่อปี 2003 ปัจจุบันมีประเทศที่ให้การรับรองจำนวน 190 ประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าทั่วโลกได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและถือว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความรุนแรงของคอร์รัปชั่นอันดับต้นๆ ของโลก เห็นได้จากข้อมูลการจัดอันดับขององค์กรเพื่อความโปร่งใส ในนานาชาติซึ่งได้จัดทำดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผลปรากฏว่าประเทศไทย อยู่ลำดับที่ 80 จากการจัดอันดับทั้งหมด 183 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในอันดับที่ 10 จาก 26 ประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน โดยได้ 3.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน (คะแนน 10 คะแนน หมายถึง มีการคอร์รัปชั่นเพียงเล็กน้อย)

ศาสตราจารย์ดร.อานนท์ กล่าว เพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ในภาครัฐและภาคเอกชนแล้ว การคอร์รัปชั่น ทางปัญญา ได้แก่ การขโมย การคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการ/วรรณกรรม และวิทยานิพนธ์ของผู้อื่น โดยไม่ อ้างอิงตามหลักวิชาการที่ถูกต้องถือว่าเป็นการ ขโมยหรือการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง ในประเทศที่พัฒนาแล้วถือว่าเป็นการกระทำผิด ทางอาญาที่ต้องลงโทษขั้นรุนแรง แต่ปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงในระดับต้นๆ ของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการป้องกันและแก้ไข วช. จึงได้จัดการประชุมระดมความคิดในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อวิเคราะห์และรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญาตลอดจนการละเมิดเชิงพาณิชย์ของ ตลาดยาในโรงพยาบาลของรัฐเพื่อหาแนวทาง มาตรการป้องกัน และแก้ไขรวมทั้งการกำหนด หัวข้อการวิจัยในการจัดการธรรมาภิบาลทางปัญญา ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อป้องกันปัญหาการคอร์รัปชั่นทางปัญญาในประเทศไทยต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น