ผลวิจัย TDRI ชี้ TPBS ไม่อิสระเต็มที่
TDRI เผยงานวิจัยระบุ ทีวีไทยไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลช่วงชุมนุมทางการเมือง มี.ค.-พ.ค. 53 สะท้อนความไม่เป็นกลางหรือการเลือกข้าง
งานวิจัยของ ดร.วิโรจน์ ณ ระนองเรื่องความเป็นอิสระของทีวีสาธารณะและการถ่ายทอดวาทกรรมและปฏิบัติการจิตวิทยาของรัฐ: กรณีศึกษาการชุมชุมทางการเมืองในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ระบุว่า ทีวีไทยเป็นส่วนหนึ่งขององค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โดยออกแบบไว้อย่างระมัดระวังเพื่อให้มีหลักประกันด้านความเป็นอิสระจากรัฐบาล (ด้วยโครงสร้างตามกฎหมาย) และจากกลุ่มทุนอื่น (โดยกำหนดให้มีแหล่งทุนสนับสนุนหลักที่ชัดเจนจากภาษีบาปปี ละไม่เกิน 2,000 ล้าน)
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์และมีการศึกษาที่ชี้ว่า ทีวีไทยยังเป็นสถานีที่ไม่มีความโดดเด่นในด้านความเป็นอิสระอย่างที่ควรจะเป็น (และสามารถเป็นได้) หรือเป็นกลางทางการเมือง(ในความหมายของ unbiased/impartiality) อย่างแท้จริง หรือมีความเป็นมืออาชีพที่สามารถเป็นต้นแบบที่คนทางทีวีช่องอื่นๆ (ที่อาจจะไม่มีโอกาสที่ดีเท่า เพราะต้องรับใช้ทุน รัฐ หรือกองทัพ) ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างการศึกษานี้พยายามวิเคราะห์ความเป็นอิสระและความเป็นกลางทางการเมืองของทีวีไทย โดยใช้วิธีหาหรือแสดงหลักฐานในกรณีที่การนำเสนอของทีวีไทยมีความเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานชั้นเลิศ (ideal standard) ในด้านเหล่านี้ของทีวีสาธารณะ
วิธีการศึกษาประกอบด้วย การติดตามดูทีวีไทยในช่วงเดือน มี.ค.–พ.ค. 2553 การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ รับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากการประชุมอื่นๆ และการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในวงการสื่อจำนวนหนึ่งที่สนใจปัญหานี้และติดตามชมทีวีไทยในช่วงดังกล่าว
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อสาธารณะที่ใช้ภาษีของประชาชนและมุ่งหวังให้เกิดความตระหนักถึงมาตรฐาน/ความเป็นอิสระ/จริยธรรมของสื่อสาธารณะในการนำเสนอข่าวสารที่รอบด้านให้ประชาชน
ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าในบางช่วงทีวีไทยเป็นช่องที่เสนอข่าวการชุมนุมมากกว่าฟรีทีวีโดยเฉลี่ย แต่การที่ทีวีไทยไม่ได้เสนอข่าวที่รัฐพยายามใช้สื่อโทรทัศน์ในการทำสงครามจิตวิทยาต่อสาธารณะ ในขณะที่มีการรับและถ่ายทอดวาทกรรมต่างๆ ที่รัฐสร้างขึ้นภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง (ซึ่งอย่างน้อยบางส่วนเป็นวาทกรรมทีเห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นเพื่อดำเนินการตอบโต้กับผู้ชุมนุมและ/หรือฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง) มาใช้เป็นภาษาข่าวของสถานี โดยปราศจากการตั้งคำถามหรือมุมมองที่วิเคราะห์วิจารณ์ต่อสาธารณะ และการที่แทบจะไม่เสนอข่าวการแทรกแซงสื่อและการปิดกั้นเว็บไซท์ต่างๆ ของรัฐและกองทัพ จึงทำให้ภาพของทีวีไทยในด้านความเป็นอิสระของ "สื่อสาธารณะ" ไม่ได้มีความโดดเด่นไปจากสื่อโทรทัศน์ของรัฐหรือสื่อโทรทัศน์ทั่วไปที่มักอยู่ภายใต้วัฒนธรรมกำกับการทำงานของรัฐ และมีแนวโน้มที่จะให้พื้นที่เต็มที่กับภาครัฐ และรับวาทกรรมที่รัฐสร้างขึ้นมาเหมือนโดยปราศจากคำถามหรือมุมมองวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ทีวีไทยยังไม่ได้มีภาพของสื่อที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นอิสระจากอ านาจรัฐ ซึ่งเป็นความคาดหวังของคนจำนวนมากต่อทีวีไทยในช่วงที่มีการผลักดันให้ตั้งทีวีช่องนี้ขึ้นมา
ผลการศึกษาที่พบว่า ทีวีไทยมีแนวโน้มที่ไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลในช่วงการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 นี้อาจจะไม่ได้หมายความว่าทีวีไทยเข้าข้างรัฐบาลหรือกองทัพเสมอไป แต่อาจจะสะท้อนความไม่เป็นกลางหรือการเลือกข้างของทีวีไทย ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเอียงข้างฝ่ายตรงข้ามกับรัฐในการชุมนุมทางการเมืองในช่วงก่อนปี 2552
แม้ว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงในปัจจุบัน จะเป็นเรื่องยากที่ทีวีไทยหรือสื่ออื่นใดจะสามารถท าให้ผู้ชมทุกคนเห็นว่ามีความเป็นกลาง ซึ่งกรรมการนโยบายและผู้บริหารทีวีไทยหลายท่านได้แย้งว่าทีวีไทย "ถูกด่า/วิจารณ์จากทั้งแดงทั้งเหลือง" และบางท่านมองดูปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นกลาง เพราะแสดงว่าได้ให้พื้นที่กับทั้งสองฝ่ายแล้ว แต่ปรากฏการณ์นี้อาจสะท้อนปัญหาความเอนเอียงไปมาตามกระแสหรือเสียงวิจารณ์ในช่วงต่างๆ ก็เป็นได้ ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถท างานได้อย่างเป็นมืออาชีพที่ไม่เลือกข้างอย่างแท้จริง ก็น่าจะทำให้ข้อครหาเหล่านี้น้อยลงหรือหมดไป (และเปลี่ยนจากการ "ถูกด่าจากทั้งแดงทั้งเหลือง" เป็น "ไม่ถูกด่าจากทั้งเหลืองและแดง" แทน) ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถไปถึงจุดที่คนจำนวนมากเกิดความเชื่อมั่นว่าทีวีช่องนี้เป็นทีวีที่อิสระและมีความเป็นมืออาชีพที่เชื่อถือได้และกล้าที่จะแสวงหาความจริงมาตีแผ่ โดยไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแล้ว คนเหล่านั้นก็จะเกิดความหวงแหนและจะช่วยปกป้องทีวีช่องนี้ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็น "สินทรัพย์" (asset) ที่มีค่าและเกราะกำบังของทีวีไทยในอนาคต
เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้ทีวีสาธารณะในบางประเทศมีภาพลักษณ์ที่มีจุดยืนทางการเมืองและในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ใช่ตรงกลาง ตัวอย่างเช่น PBS ในสหรัฐได้ชื่อว่าเป็นทีวีเสรีนิยม (liberal) รวมทั้งรายการและพิธีกรที่มีชื่อเสียงของช่องบางคนด้วย อย่างไรก็ตาม ทีวีเหล่านี้มักจะมีนโยบายที่ชัดเจนในการเปิดพื้นที่ให้กับรายการที่ได้ชื่อว่ามีจุดยืนทางการเมืองต่างออกไป นอกจากนี้การทำงานของทีวีอย่าง PBS ก็ได้รับความยอมรับในความเป็นมืออาชีพค่อนข้างสูง และโดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อครหาเรื่องการบิดเบือนใดๆ ความยอมรับในส่วนนี้ทำให้พิธีกรข่าวของ PBS มักได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ด าเนินรายการ (moderator) ในการโต้วาทีในการเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอยู่บ่อยๆ โดยไม่มีข้อคัดค้านหรือข้อครหาเรื่ องความไม่เป็นกลางทางการเมืองแต่อย่างใด ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นเป้าหมายที่ทีวีไทยควรจะตั้งและพยายามดำเนินงานแบบมืออาชีพในการนำเสนอข่าวสารและรายการอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากการยัดเยียด บิดเบือน หรือโจมตีเพื่อช่วยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งจะทำให้ทีวีไทยกลายเป็นทีวีสาธารณะที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและยังสามารถรักษาจุดยืนขององค์กร (ถ้ามี) ไปพร้อมกันด้วย
ศึกษางานวิจัยทั้งหมดได้ที่ http://www.tdri.or.th/download/publication/d2012001.pdf
Source : www.tdri.or.th / www.bloggang.com (Image)
by VoiceNews
13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 14:18 น.
สำหรับตัว "รายงานการประเมินผลการดำเนินงานปี 2552 (การประเมินภายนอก) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย" (TPBS) ซึ่งเป็นรายงานการประเมิน TPBS ในทุกด้านที่สำคัญ ที่เป็นฉบับทางการ สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บ TDRI ที่ http://www.tdri.or.th/th/php/projectdetail.php?l=2&n=1637 กด F)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น