วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ที่ปรึกษาอัคคีภัยเซ็นทรัลฯ ยันจำเลยคดีเผา CTW ไม่สามารถวางเพลิงได้

ที่ปรึกษาอัคคีภัยเซ็นทรัลฯ ยันจำเลยคดีเผา CTW ไม่สามารถวางเพลิงได้

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 20:40:56 น.

  




จาก ประชาไท

นัดพิพากษาคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์25 มี.ค.นี้ สืบพยานครั้งสุดท้าย ที่ปรึกษาอัคคีภัยเครือเซ็นทรัล

เบิกความไฟไหม้เพราะกองกำลังแต่งกายคล้ายทหาร ตำรวจยังไม่กล้ายุ่ง เผยช่วงเพลิงไหม้ทหารคุมพื้นที่ทั้งหมด 9 ผู้ถูกจับกุมในที่เกิดเหตุไม่มีความสามารถวางเพลิง ด้านนายจ้าง "สายชล" ยันวันเกิดเหตุขายของที่ห้างอิมฯลาดพร้าว

 

 

 

เมื่อวันที่ 28 ม.ค.56 เวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 มีการสืบพยานจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 2478/2553 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ4 เป็นโจทก์ฟ้องนายสายชล แพบัว จำเลยที่ 1 อายุ 28 ปี (ในวันเกิดเหตุ) อาชีพรับจ้างและนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 อายุ 26 ปี (ในวันเกิดเหตุ) อาชีพรับจ้างในความผิดร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจนเป็นเหตุให้นายกิตติพงษ์ สมสุขซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตายและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเหตุเกิดที่ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยคดีนี้เป็นคดีเดียวกันกับกรณีผู้ต้องหา2 คนที่เป็นเยาวชนซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้พิพากษายกฟ้องไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.55

 

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการสืบพยานจำเลย 2 ปากสุดท้าย คือ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ อายุ 61 ปี แกนนำนปช.จังหวัดชุมพร ปัจจุบันเป็นข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นนายจ้างนายสายชลจำเลยที่ 1 ที่จ้างให้ขายของที่ร้าน ชั้น 4 ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าวและพ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร อายุ 72 ปี พนักงานราชการ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนามากว่า 20 ปีในฐานะผู้ควบคุมการดับเพลิงในเซ็นทรัลเวิลด์

 

 

แกนนำ นปช.นายจ้าง "สายชล" ยันอยู่อิมฯ ลาดพร้าววันเกิดเหตุ

 

 

พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ เบิกความว่าเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มนปช.ในปี 53 นั้นทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ ความสงบเรียบร้อย ประสานงานมวลชนเสื้อแดงกับเวทีปราศรัย โดยรู้จักกับสายชล จำเลยที่ 1 จากการที่ตนเองมาปราศรัยที่สนามหลวงหลังเหตุการณ์การรัฐประหาร 19 ก.ย.49 เป็นต้นมา โดยขณะนั้นตนสังกัดอยู่กลุ่มอิสระ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลขณะนั้นจัดให้มีการเลือกตั้ง นายสายชลขณะนั้นใช้สนามหลวงเป็นที่พักและมีอาชีพรับจ้าทั่วไป

 

 

เขาเบิกความต่อว่าได้เปิดร้านค้าที่ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าวชั้น 4 เพื่อขายของกิน ของที่ระลึกของคนเสื้อแดง รวมทั้ง VCD เผยแพร่ประชาธิปไตยซึ่งเป็นเทปบันทึกการปราศรัยของแกนนำแต่ละคน และเห็นว่านายสายชล มีพฤติกรรมดี ซื่อสัตย์ จึงได้จ้างวันละ 300 บาท เพื่อมาขายของที่ร้านพร้อมยืนยันว่าในช่วงปิดล้อมการชุมนุม วันที่ 12-19 พ.ค.53พยานได้ฝากร้านค้าที่ห้างอิมฯ ลาดพร้าว ให้นายสายชลดูแล

 

 

 

 

ภาพซ้าย : ภาพที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวนและถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าภาพชายชุดดำดังกล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ

 

 

ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน

 

 

ทนายจำเลยที่ 1 ได้นำภาพที่ใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมและดำเนินคดีกับนายสายชล จำเลยที่ 1 (ดูภาพซ้ายประกอบ)ให้ พ.ต.ต.เสงี่ยม พิจารณาดูว่าเป็นนายสายชลหรือไม่นั้น พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้ยืนยันต่อศาลว่าไม่ใช่ หลังจากนั้นทนายได้นำภาพที่นายสายชลขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพขวาประกอบ) พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้ยืนยันต่อศาลว่าคนในภาพนี่คือนายสายชล

 

 

พ.ต.ต.เสงี่ยม ยังได้เบิกความต่อศาลถึงความเห็นที่มีการจับกุมตัวนายสายชลด้วยว่าหลังสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53 นั้น ตนเองถูกผู้มีอำนาจผ่าน DSI ขอหมายจับข้อหาก่อการร้าย แต่ทราบว่าศาลไม่ได้ดำเนินการ อย่างไรก็ตามตนเองได้หลบไปต่างประเทศช่วงนั้นจึงคิดว่าในช่วงนั้นรัฐบาลพยายามที่จะตามหาตัวตนเอง การที่นายสายชลถูกจับนั้นก็อาจเป็นเพราะมีความใกล้ชิดกับตนเอง

 

 

พ.ต.ต.เสงี่ยม เบิกความต่อด้วยว่าจากประสบการณ์การเป็นตำรวจ คนเร่ร่อนหรือคนที่ที่อยู่สนามหลวง บางครั้งสายสืบก็จะใช้หรือจ้างหรือบังคับให้คนเหล่าเป็นสายสืบหาตัวผู้กระทำความผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งหากไม่ทำก็อาจมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ สำหรับนายสายชลนั้นทราบว่าเคยมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและเทศกิจ เช่น การไล่ร้าน แต่ตอนมาทำงานกับพยานที่ห้างอิมฯ ลาดพร้าว นั้นไม่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่

 

 

ที่ปรึกษาอัคคีภัยเครือเซ็นทรัล เบิกความโยง "ชายชุดคล้ายทหาร"

 

 

พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนาเบิกความว่า ช่วง 2เดือนที่มีการชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ของ นปช. นั้นได้วางแผนป้องกันความปลอดภัยและอัคคีภัยให้กับห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยในเซ็นทรัลเวิลด์มีทีมดับเพลิงมืออาชีพที่เป็นพนักงานประจำอยู่ถึง 25 คน ดังนั้นจากประสบการณ์แล้วเห็นว่าห้างนี้มีระบบรองรับทุกอย่าง หากเกิดไฟไหม้เล็กๆ พนักงานหรือแม่บ้านก็สามารถดับได้ แต่หากเป็นเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ก็จะมีพนักงานดับเพลิงมืออาชีพคอยป้องกันอยู่ ถือได้ว่ามีระบบการป้องกันอัคคีภัยเป็นหนึ่งในเอเชียก็ว่าได้ และได้มาตรฐานระดับสากล

 

 

ทนายจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อความของพ.ต.ท.ชุมพล ที่เคยให้สัมภาษณ์ในหนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" ที่จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์โลกวันนี้ หน้า 11 อ่านให้พ.ต.ท.ชุมพล ฟังเนื้อหาระบุว่า

"ตลอดเวลา2เดือนเต็มๆเราได้ประสานไมตรีกับผู้ชุมนุมมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพวกการ์ดแทบจะรู้จักกันทุกคน แต่ในวันเกิดเหตุเผาเซ็นทรัลเวิลด์ขอบอกว่าไม่เห็นหน้าคนเหล่านั้นเลย มีแต่พวกที่เรียกตัวเองว่ากองกำลังไม่ทราบฝ่าย กลุ่มนี้แหละที่เขาบอกว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นผู้ก่อการร้ายที่แม้แต่ตำรวจและทหารก็ไม่กล้าแตะ ถ้าแตะมันก็ต้องมีศพกันบ้างหละ แต่นี่ไม่ คนกลุ่มนี้เข้าออกในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครกล้าทำอะไรพวกเขา เจ้าหน้าที่มีข้อมูลทุกอย่างแต่ทำไมถึงจับคนร้ายไม่ได้"

หลังจากนั้น พ.ต.ท.ชุมพล ได้ยืนยันต่อศาลว่าตนเองเป็นผู้พูดเช่นนั้น โดยหลังการสลายการชุมนุมได้มีคนมาสัมภาษณ์และนำไปลงในหนังสือ "คนช่วยคน" ของสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย ที่ตนเองเป็นเลขาธิการอยู่ และคาดว่าหนังสือความลับหลังฉากฯ ได้นำไปเผยแพร่ต่อ

 

 

ที่ปรึกษาอัคคีภัยเครือเซ็นทรัลเบิกความต่อด้วยว่า ในห้างมีสปริงเกอร์ทุกๆ 3 เมตร แต่เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ค.53 นั้นอยู่นอกเหนือจากความสามารถของพนักงานดับเพลิง เพราะไม่สามารถดับเพลิงได้ พนักงานดับเพลิงปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในตอนต้นที่มีคนกลุ่มแรกเข้ามา รปภ. ที่มีกว่า180 คนก็สามารถผลักดันออกไปได้ แต่เมื่อมีคนกลุ่มที่ 2 เข้ามาอีก รปภ. ได้แจ้งว่ามีการปาระเบิดเข้าใส่พนักงานจนทำให้มีคนบาดเจ็บ จึงได้มีการร้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามา เมื่อตำรวจเข้ามาในห้างประมาณ 25 คน ได้มีการจับกุมคนที่เข้ามาหลบซ่อนตัวในห้าง ก่อนที่จะถอนกำลังออกไปเมื่อพบผู้บุกรุกชุดที่สองซึ่งมีอาวุธอยู่ด้านหน้าของห้าง

 

 

เขาขยายความต่อว่า ชุดแรกที่เข้ามานั้นมีประมาณ 14 คน เข้ามาจาก2 ด้านคือด้านถนนพระราม 1 และถนนราชดำริ ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าเซน (ZEN) ในเวลาประมาณเกือบ 14.00 น. โดยทุบกระจกเข้ามาในห้าง แต่ รปภ. ที่มีจำนวนถึง 180 คนก็ได้ไล่คนเหล่านั้นออกไปต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. จากการตรวจสอบกล้อง CCTV เห็นว่ามีกลุ่มคนชุดที่สอง ประมาณ 7-8 คน แต่งกายคล้ายทหารและมีอาวุธด้วยเข้ามาทางด้านห้างเซ็นทรัลเวิลด์รปภ. พยายามต้านทานไม่ให้คนกลุ่มนี้เข้ามาแต่กลับถูกปาระเบิดใส่ ตำรวจในเครื่องแบบเข้ามาช่วยก็ยังต้องถอนกำลังออกไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนายได้นำภาพผู้ถูกจับกุม 9 คนซึ่งถูกตำรวจจับกุมตัวในห้างฯ โดยนำมาจากหนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" หน้า 27 ซึ่ง 1 ในนั้นมีจำเลยที่ 2 (พินิจ) รวมอยู่ด้วยให้ พ.ต.ท.ชุมพล จากนั้น พ.ต.ท.ชุมพล ได้ยืนยันต่อศาลว่า 9 คนนี้เป็นพวกที่หลบอยู่ในห้างไม่มีอาวุธและไม่ใช่กลุ่มคนที่มีอาวุธดังกล่าว โดยเขาได้รับการยืนยันจากหัวหน้า รปภ.ที่อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย

ภาพ 9 คนที่ถูกตำรวจจับกุมตัวในห้างฯจากหนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" หน้า 27

 

 

พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความต่อว่า หลังจากที่ตำรวจทั้ง 25 คน ถอนกำลังออกจากห้างไปทำให้ รปภ.และพนักงานดับเพลิงเสียขวัญกำลังใจ จึงได้ไปรวมตัวที่จุดรวมพลตรงลานจอดรถใกล้โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เพื่อให้ฝ่ายบริหารห้างตัดสินใจ เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สุดท้ายจึงได้ตัดสินใจออกจากห้างทั้งหมดในเวลาประมาณ 16.40 น.

 

 

เขากล่าวด้วยว่า หลังจากนั้นเวลาประมาณ 19.00 น. เศษ ทางสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยได้รับการขอร้องจากเซ็นทรัลเวิลด์อีกให้เข้าไปช่วยดับไฟแต่ก็ไม่สามารถเข้าไปได้ เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ทหาร กว่าจะได้เข้าไปถึงพื้นที่ได้ก็เวลาประมาณ 22.00 น. และจากการตรวจสอบ CCTV จากห้างเกษรพลาซ่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างเซ็นทรัลเวิลด์นั้นพบว่าเวลาประมาณ 21.00 น. กว่าๆ ตึกก็ได้ถล่มลงมาแล้ว และพื้นที่รอบๆ นั้นถูกควบคุมโดยกองกำลังของทหารทั้งหมด แม้กระทั่งตอนออกจากห้างในช่วงเย็นทางด้านหลังห้างพารากอนก็มีทหารควบคุมพื้นที่อยู่ รถพยาบาลหรือ รปภ. วิ่งออกมาจากพื้นที่ก็ยังต้องผ่านด่านทหาร

ทนายได้ถามด้วยว่าหลังสลายการชุมนุมของ นปช. บริเวณห้างและรอบๆ นั้น จากที่พยานได้รับรายงานและประสานงานนั้นเป็นหน่วยไหนที่ควบคุมพื้นที่ พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารของ ศอฉ.

 

 

"ทีมงานเราอยู่ภายในถ้าไม่ไล่เราออกไป มันเรื่องเล็กสำหรับไฟขนาดนั้น ในอาคารมีอุปกรณ์พร้อม น้ำในห้างก็มีจำนวนมหาศาลทั้ง 3 อาคารเชื่อมต่อกัน ระบบแรงดันน้ำภายในห้างก็ใช้ได้ ถ้าไม่ไล่เราออกไม่มีทางจะไหม้ ส่วนคนที่ไล่เราออกไปนั้นคือกลุ่มคนที่มีอาวุธ มีการโยนระเบิด ขนาดตำรวจยังต้องหนี" ที่ปรึกษาฯ กล่าว

 

 

เขาเบิกความต่อว่า เมื่อออกไปแล้วก็กลับเข้ามายากมากเพราะต้องติดด่านที่ทหารตั้งอยู่ ตั้งแต่ด่านตรงเพชรบุรี สะพานหัวช้าง และถนนพระราม 1 ก็ไม่ให้เข้า เลยต้องขอเข้าด้านหลังแทน

 

 

พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความย้ำด้วยว่า "ไม่มีที่ไหนในโลกหรอกที่เขาไม่เคลียร์พื้นที่ให้กับทีมดับเพลิง ตั้งแต่เย็นไม่มีใครเคลียร์พื้นที่ให้ ปล่อยให้มันไหม้ได้อย่างนั้น"

 

 

ที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยเครือเซ็นทรัล เบิกความภายหลังทนายได้นำภาพถ่ายที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับนายสายชล ซึ่งเป็นรูปชายชุดำกำลังถือถังสีเขียวว่า ภาพดังกล่าวถ่ายในบริเวณห้าง ส่วนถังสีเขียวในรูปเป็นถังดับเพลิง ซึ่งในตัวห้างก็มีถังในลักษณะนี้อยู่ ยืนยันว่าไม่ใช่ถังแก๊ส และเครื่องดับเพลิงไม่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการวางเพลิงได้

ภาพชายชุดำกำลังถือถังสีเขียวที่ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับนายสายชล

 

 

อัยการได้ซักค้านพยานด้วยว่ากลุ่มคนกลุ่มที่สองซึ่งติดอาวุธ 7-8 คนที่เข้ามาในห้างที่พยานระบุว่ามีการแต่งกายคล้ายทหารนั้นมีลักษณะอย่างไร พ.ต.ท.ชุมพล ตอบว่าดูจากกล้อง CCTV ประกอบกับที่ได้รับการยืนยันจากหัวหน้า รปภ. แล้วคาดว่าเป็นชุดปฏิบัติการรบในลักษณะปฏิบัติการพิเศษแน่นอน เครื่องแต่งกายมีหมวกเหล็ก ท็อปบู๊ต ชุดพรางและมีฮู้ดปิดหน้า

 

 

พ.ต.ท.ชุมพลเบิกความยืนยันตอนท้ายด้วยว่าเมื่อพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยและรายงานจากทีมดับเพลิงในที่เกิดเหตุเห็นว่า ผู้ถูกจับกุมทั้ง 9 คนที่ถูกจับในห้างนั้นไม่มีความสามารถในการวางเพลิงได้

หลังเสร็จสิ้นการสืบพยาน ศาลได้นัดพิพากษาคดีนี้ในวันที่ 25 มี.ค.53 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้

 

 

ทั้งนี้นายสายชล แพบัว จำเลยที่ 1 และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวมาตั้งแต่กลางปี 2553


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359638663&grpid=03&catid=01&subcatid=0100

"หลวงปู่จาม" กับมรดกธรรม ความสามารถทาง "สถาปัตยกรรม"

"หลวงปู่จาม" กับมรดกธรรม ความสามารถทาง "สถาปัตยกรรม"

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:30:27 น.

  




ทีมข่าวเฉพาะกิจ - เรื่อง พัทธยุทธ ฟักผล - ภาพ 



เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา เป็นวันที่หลวงปู่ จาม มหาปุญฺโญแห่งวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ละสังขารด้วยโรคปอดติดเชื้อในวัย 103 ปี

หลวงปู่จาม อรหันต์เจ้าแห่งแดนอีสาน เป็นพระอาจารย์สายกรรมฐานชื่อดัง ลูกศิษย์ของ พระครูวินัยธร หรือหลวงปู่ มั่น ภูริทตฺโต พระสายธรรมยุต สายกรรมฐานที่ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

มีโอกาสเดินทางไปกราบสรีระสังขารของหลวงปู่จาม...

ขบวนรถแล่นจาก อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ไปตามทางหลวงสายที่ 12 มุ่งหน้า อ.คำชะอี เมื่อมาถึงกิโลเมตรที่ 751 ก็มองเห็น "พระธาตุเจดีย์บู่ทองกิตติ" เจดีย์ 5 ยอดปูกระเบื้องสีอิฐ สัญลักษณ์ของวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ในบริเวณวัดร่มครึ้มไปด้วยเงาไม้ มีสิ่งก่อสร้างหน้าตาประหลาดอย่างกุฏิเสาเดียวซ่อนตัวอยู่

เข้ากราบสรีระสังขารของพระอาจารย์แล้ว จึงเข้าพบ ครูบาแจ๋ว หรือ พระธมฺธโร รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม 

สิ่งหนึ่งที่ได้รับรู้จากครูบาแจ๋ว ก็คือเรื่อง "เจดีย์บู่ทองกิตติ" ที่โดดเด่นเป็นสง่านั่นเอง

ครูบาแจ๋วเล่าว่า การก่อสร้างเจดีย์บู่ทองกิตติ เกิดขึ้นเมื่อ นางบู่ทอง กิตติบุตร คหบดีเมืองเชียงใหม่ และบุตรหลานซึ่งเคยอุปัฏฐาก อุปถัมภ์หลวงปู่จามเมื่อครั้งอยู่เมืองเหนือมาตลอด เดินทางมากราบหลวงปู่จามที่วัดนานร่วม 30 ปี เมื่อเห็นพระบรมสารีริกธาตุ จึงบอกกับหลวงปู่ว่าทำไมวางไว้ในตู้อย่างนั้น หลวงปู่ท่านก็บอกว่าไม่มีกำลังทำให้ใหญ่โต โยมบู่ทองจึงมอบเงินให้ 1 ล้านบาท เพื่อเริ่มการก่อสร้างใน พ.ศ.2527 และบริจาคเงินมาเรื่อยๆกระทั่งเจดีย์สร้างเสร็จ ใน พ.ศ.2530 รวมเงินทั้งสิ้น 4 ล้านบาท โดยด้านนอกขององค์เจดีย์ หลวงปู่จามสั่งให้นำกระเบื้องดินเผามาติด

(บน) หลวงปู่จาม - ครูบาแจ๋ว (ล่าง) กุฏิเสาเดียวแห่งเดียวของประเทศ



จากการระดมสรรพกำลังช่างพื้นบ้าน มีองค์หลวงปู่จามเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เกิดเป็นเจดีย์สำหรับรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่มีความโดดเด่นทางศิลปะ

"ท่านสร้างตามแรงศรัทธา (งบประมาณ) โดยไม่ได้เขียนแบบร่าง หลวงปู่จะสั่งงานเอง เริ่มจากฐานรากที่ตอม่อของตัวเจดีย์วางบนพระลานหิน (หินดินดาน) ตีขึ้นไปไม่ได้ตอกเสาเข็ม ทำนั่งร้าน ท่านบอกว่าแบบนี้แหละเหมาะกับโยมบู่ทอง กิตติบุตร ที่ให้เงินมาประมาณ 5 ล้านบาท" ครูบาแจ๋ว กล่าว และว่า แม้จะมีคนทักท้วง ห่วงเรื่องความมั่นคงของโครงสร้างของพระเจดีย์ แต่กลับหมดความกังวล เนื่องจากหลังจากขุดดินลงไปก็พบกับหินดินดานก้อนใหญ่ รองรับพระเจดีย์พอดี 

"พอตอนหลังสร้างพระอุโบสถถัดจากเจดีย์ กลับไม่เจอหินดินดานก้อนนั้นที่มีเพื่อรองรับเจดีย์เท่านั้นจริง ท่านมองทะลุดิน" รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนารามกล่าวอย่างศรัทธา

ที่ยอดของเจดีย์บู่ทองกิตตินั้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอีก 4 ยอดที่อยู่รายรอบนั้น ประดิษฐานพระธาตุของอัครสาวก ได้แก่ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ รวมถึงพระธาตุของพระสีวลีและพระอุปคุต 

ด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เหมือนศิลปะสมัยโกธิค และไม่ได้ตอกเสาเข็ม จึงมีนักศึกษาและสถาปนิกเดินทางมาศึกษาไม่ขาดสาย

ครูบาแจ๋วเล่าว่า เมื่อเจดีย์บู่ทองสร้างเสร็จแล้ว ไม่มีการฉลองใดๆ เน้นให้เรียบง่ายที่สุด แต่มีพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 

(บน) พระเจดีย์บู่ทองกิตติ (ล่าง) กุฏิอีกหลังที่แสดงถึงความเรียบง่าย



"พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาตั้งแต่ พ.ศ.2514 ท่านเก็บใส่ตู้กระจกและสั่งให้รักษาให้ดี เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งเพราะในรอบปีนั้นมีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาจำนวนมาก จนมีน้ำหนัก 14.9 กิโลกรัมจากเดิมที่มีไม่มากนัก นับว่ามากกว่าที่อื่นๆ นอกจากนั้น โยมบู่ทองยังบริจาคเงินสร้างศาลาทรงล้านนาประยุกต์อีกหลังหนึ่งด้วย" 

เมื่อดูภาพถ่ายเก่าๆ พบว่าเป็นศาลาการเปรียญที่มี "กาแล" เป็นเครื่องหลังคาอย่างศิลปะล้านนา ไม่ใช่ช่อฟ้า ใบระกา หรือหางหงส์อย่างวัดทั่วไป ตั้งอยู่บนพื้นที่เดียวกับศาลาการเปรียญหลังปัจจุบัน 

พระธมฺธโรเล่าว่า เดิมเป็นศาลาไม้ขนาดเท่ากับที่เห็นในปัจจุบัน แต่ใช้เสาเพียง 4 ต้น มีคานรับน้ำหนักเครื่องหลังคาที่ประกอบกัน โดยมีลิ่มไม้เป็นตัวเชื่อม ไม่ได้ใช้ตะปูเพื่อตอกยึด โดยไม้ที่นำมาสร้างศาลาการเปรียญหลังเก่านั้นนำมาจากไม้ที่ยืนต้นตายในป่า ไม้ล้มขอนนอนในป่า และไม้หีบศพที่หลวงปู่จามแกะและสะสมไว้ ไม่ได้เบียดเบียนต้นไม้ที่ยังมีชีวิต

"แต่เมื่อตัวศาลาเริ่มทรุดโทรม จึงรื้อศาลาหลังเดิมแล้วนำไม้ กระเบื้อง และเครื่องมุงหลังคาส่วนใหญ่ไปบริจาควัดต่างๆ ส่วนที่เหลือได้นำไปซ่อมแซมศาลาในวัด" ครูบาแจ๋วกล่าว

สิ่งก่อสร้างอีกอย่างที่สะท้อนความสามารถทางสถาปัตย์ของหลวงปู่จาม คือ "กุฏิเสาเดียว" แห่งเดียวของเมืองไทย

ครูบาแจ๋ว ผู้ใกล้ชิดกับหลวงปู่จามตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เล่าว่า หลวงปู่จามเป็นผู้ออกแบบเองตั้งแต่ พ.ศ.2505 แต่เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ.2520-2525 มีเสากลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1 ฟุต สูงเกือบ 3 เมตร รองรับตัวอาคารด้านบนที่สร้างจากไม้

"หลวงปู่อ่านในตำรา ว่ากษัตริย์โบราณปรารภจะสร้างปราสาทเสาเดียวแต่หาไม้ไม่ได้ มีไม้อยู่ต้นหนึ่งที่เป็นบ้านเรือนปราสาทวิมานของรุกขเทพบุตร แต่รุกขเทพบุตรอาศัยอยู่ก็เป็นทุกข์ใจ อาลัยที่อยู่ของตน เกิดความวุ่นวายใจจึงไปขอร้องรุกขเทวดา องค์ที่สถิตอยู่กอหญ้าแฝกให้มาแก้ไขให้ จนข้าราชบริพารของช่างไม้เลิกล้มความตั้งใจที่จะนำไม้ต้นนั้นไปทำเป็นเสาปราสาทเสาเดียวของกษัตริย์"

"เมื่อตรวจค้นจากชาดก ก็พบในกุสนาฬิชาดก (ชาดกว่าด้วยประโยชน์ของการคบมิตร) ที่เล่าว่า กุฏิรุ่นเก่าที่สร้างนับแต่ พ.ศ.2487 เป็นต้นมาเริ่มผุพัง ทั้งปลวกกัดแทะ มดแมลงคอยรบกวนทำลายข้าวของบริขาร หลวงปู่จึงได้แนวคิดในการสร้างกุฏิเสาเดียว เพื่อป้องกันมด ปลวก หนู แมลง หรือสัตว์อื่น ดูแลเพียงเชิงบันไดและต้นเสาเท่านั้น" รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนารามกล่าว

จากแนวคิดการพัฒนาวัดที่เน้นธรรมชาติ สิ่งต่อเติมก่อสร้าง กุฏิ ศาลาธรรม และพระเจดีย์ ผนวกกับความสามารถทางสถาปัตย์ของหลวงปู่จาม ผลคือ เกิดเป็น "มรดกธรรม" ในรูปแบบเสนาสนะซึ่งล้วนถูกสร้างอย่างกลมกลืนกับต้นไม้ที่อยู่รายรอบ 

เกิดบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น และอบอุ่น

ดำรงแนวคิดการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย หลีกเร้นจากผู้คน ตามคติของภิกษุสายธรรมยุต


หน้า 20 มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2556 

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม Convention Hall 2 สถานีโทรทัศน์ ไทย พีบีเอส



---------- จดหมายที่ถูกส่งต่อ ----------
จาก: Jivita Sikkha <jivitasikkha@gmail.com>
วันที่: 28 มกราคม 2556, 06:17
หัวเรื่อง: ประชาสัมพันธ์ อบรม "ธรรมะบำบัดความป่วย...ได้จริงหรือ?" ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556
ถึง:


เครือข่ายชีวิตสิกขา www.lifebhavana.net
ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมการอบรม

"ธรรมะบำบัดความป่วย...ได้จริงหรือ?" ครั้งที่ 3
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุม Convention Hall 2 สถานีโทรทัศน์ ไทย พีบีเอส

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน

09.00-11.00 น. ฝึกเจริญสติภาวนา/ธรรมบรรยายเพื่อการเยียวยาความป่วย
โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก

11.00-12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ป่วย
โดย คุณนงลักษณ์ ฉัตรชัยเวช

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันมังสวิรัติ (โดยเจ้าภาพจัดเตรียมต้อนรับทุกท่าน)

13.00-13.30 น. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล

13.30-15.30 น. อยู่เป็น เจ็บเป็น ตายเป็น : กรณีศึกษา-คุณสุภาพร พงศ์พฤกษ์
โดย ครูดล ธนวัชร์ เกตน์วิมุต ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขา

15.30-16.00 น. ธรรมโอสถสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล/รับพรก่อนเดินทางกลับ
โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก

การอบรมครั้งนี้เป็นธรรมทานไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับผู้ป่วย, ผู้ดูแลผู้ป่วยและ
ผู้ที่สนใจทั่วไป

ห้องอบรมเป็นห้องปรับอากาศ กรุณาเตรียมผ้าพันคอหรือผ้าคลุม แต่งกายตามปกติไม่จำเป็นต้องเป็นชุดขาว

สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้เท่านั้น ที่ 
https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dFdGVzNhSGxKcTg0S3VqVC03UFVCdlE6MQ

หากท่านจำเป็นต้องยกเลิกการเข้าร่วมโปรดแจ้งกลับที่ Email address: jivitasikkha@gmail.com

หลังจากที่ท่านได้กดปุ่ม ส่ง / Submit การลงทะเบียนของท่านจะได้รับการยืนยัน 

เมื่อข้อความปรากฏตามข้างล่างนี้

ธรรมะบำบัดความป่วย...ได้จริงหรือ?
ท่านได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
Your response has been recorded.

สอบถามรายละเอียดได้ที่.... คุณหญิง 087-718-9555, ครูดล 087-678-1669

สถานีโทรทัศน์ Thai PBS (ติดสโมสรตำรวจ ถ.วิภาดีรังสิต)
รถเมล์ฝั่งขาออกลงป้ายนอร์ธปาร์ค สาย 52, 29, 59, 95, 504, 510, 513, 538, ปอ29, ปอพ 504
รถเมล์ฝั่งขาเข้าลงป้ายหน้าไทย พีบีเอส สาย 52, 29, 59, 187, 504, 510, 519, 555

แผนที่ http://www2.thaipbs.or.th/event/rangteen/map.php

ร่วมเป็นแฟนคลับกับชีวิตสิกขาลัย ในเครือข่ายชีวิตสิกขาได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Jivita-Sikkhalay-Club/324767881811?v=wall






 





ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม รุ่นที่ 3 จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม-1 เมษายน 2556



---------- จดหมายที่ถูกส่งต่อ ----------
จาก: rakluke camp <raklukecamp@hotmail.com>
วันที่: 28 มกราคม 2556, 11:39
หัวเรื่อง: ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม รุ่นที่ 3 จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม-1 เมษายน 2556
ถึง:



 

From: raklukecamp@hotmail.com
To: raklukecamp@hotmail.com
Subject: ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม รุ่นที่ 3 จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม-1 เมษายน 2556
Date: Sat, 26 Jan 2013 19:08:16 +0700



กิจกรรม ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม รุ่นที่ 3 จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม-1 เมษายน 2556  
สถานที่จัดกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา



ค่ายที่จะส่งเสริมให้เด็กๆ เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีตามแนววิถีพุทธ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกอย่างมีคุณธรรม 


ไปกับทีมพระวิทยากร จากสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม หลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
และนักจิตวิทยา สหวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ที่จะทำให้น้องๆ รู้ว่า 
เด็กๆ พัฒนาได้ถ้าใจมีศีล
ทักษะชีวิต ด้วยวิถีแห่งพุทธะ 

โภชนาการแห่งความสุข 

สวนดอกไม้ใต้แสงธรรม
สร้างจิตสำนึกสายใยครอบครัว 

ธรรมะเฮฮา กับนิทานชาดก 
ฝึกสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี Smart & Smile
ก้าวไปในบุญ 

ครอบครัวยุคใหม่เปิดใจสู่ธรรม 
บริหารจิต เจริญปัญญา พัมนากาย วาจา ใจ 
อัจฉริยะใจใสวัยปิ๊ง เกมชีวิตพิชิตทุกสิ่ง
แสงเทียนแห่งปัญญา กตัญญูกตเวที 
ตุงคุณธรรม จริยะธรรมแห่งความดี


รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 10 มีนาคม 2556 รับจำนวนจำกัด 
** น้องๆอายุ 4-6 ปี จำนวน 25 คน 
น้องๆ อายุ 7-9 ปี จำนวน 40 คน 
น้องๆ อายุ 10-12 ปี จำนวน 40 คน 
น้องๆ อายุ 13-15 ปี จำนวน 40 คน 
น้องๆ อายุ 16-18 ปี จำนวน 40 คน 
น้องๆ ระดับอุดมศึกษา จำนวน 25 คน 
สำหรับรับผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม 3 วัน 2 คืน จำนวน 40 คน** 
อัตราค่าสมัครคนละ 1,250 บาท

รับผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม 1 วัน 250 บาท **


รับผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม วัน คืน จำนวน 40 คน**
***ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร โบชัวร์ได้ที่ที่เว็บไซต์  http://www.thammacamp.com 

สอบถามรายละเอียด และสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ กลุ่มใจใสวัยปิ๊ง 
086-3239578, 084-9291105, 083-0171699 ,089-1525661, 086-539-0775 



Best regards,
Thammacamp


 



--
สุวิมล เชื้อชาญวงศ์ : 
Suwimol Chuachanwong
ICT for ALL Club
โทร 08 3986 8084 

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

44308.พระองค์ที่ ๕ : สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

รูปภาพ

พระประวัติและปฏิปทา 
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
พุทธศักราช ๒๓๖๕-๒๓๘๕ 


วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร 
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 


หัวข้อ

• พระประวัติในเบื้องต้น
• ประวัติและความสำคัญของวัดหงส์รัตนาราม
• ทรงย้ายจากวัดหงส์มาครองวัดสระเกศ
• ประวัติและความสำคัญของวัดสระเกศ
• สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
• พระกรณียกิจพิเศษ
• การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญ
• จัดสมณทูตไทยไปลังกา
• ชำระความพระสงฆ์ครั้งใหญ่
• พระอวสานกาล
• ประวัติและความสำคัญของวัดราชาธิวาส
• วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ 
สถิตย์สถานของสมเด็จพระสังฆราช ๔ พระองค์

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง
 

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์ 
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1693


{ GIVEN }: { THANKS } 
{ RECEIVED }: { THANKS } 

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระประวัติในเบื้องต้น 

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) 
พระประวัติในเบื้องต้นมีความเป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด 
ทราบแต่เพียงว่า ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ 
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา 
เดิมจะได้เปรียญและเป็นพระราชาคณะตำแหน่งใดมาก่อนหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐาน 
กระทั่งมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ 
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงปรากฏหลักฐานว่าเป็นที่ พระเทพโมลี อยู่วัดหงษ์ 
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี 
แล้วต่อมา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม 
เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ 
ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็น สมเด็จพระสังฆราช 
ในราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) 

รูปภาพ
วัดหงส์รัตนาราม 


ประวัติและความสำคัญของวัดหงส์รัตนาราม 

"วัดหงษ์" แต่เดิมมานั้นเรียกขานกันว่า วัดเจ๊สัวหงบ้าง วัดเจ้าสัวหงบ้าง 
วัดเจ้าขรัวหงบ้าง ตามชื่อของคหบดีจีนที่เป็นผู้สร้างวัด 
มาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดเกล้าฯ 
ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเป็นพระอารามที่อยู่ติดกับพระราชวัง 
และพระราชทานชื่อว่า "วัดหงษ์อาวาสวิหาร" 
จึงได้เป็นพระอารามหลวงและพระอารามสำคัญมาแต่ครั้งนั้น 

จนมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
แต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น 
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล 
ทรงปฏิสังขรณ์ จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดหงษ์อาวาสบวรวิหาร" 
เพราะเป็นพระอารามที่อยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม 
อันเป็นที่ประทับของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 

ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานเปลี่ยนนามอีกครั้งหนึ่งว่า "วัดหงสาราม" 
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง 
เมื่อทรงปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า 
"วัดหงส์รัตนาราม" ดังที่เรียกกันสืบมาจนปัจจุบัน

ปัจจุบัน วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร 
ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ 
กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ ๔๖ ไร่เศษ และมีที่ธรณีสงฆ์คือ
ที่จัดประโยชน์ให้ประชาชนเช่าปลูกที่อยู่อาศัย ติดกับวัดอีกประมาณ ๒๐ ไร่

ภายในวัดหงส์รัตนารามฯ มีโบราณสถานสำคัญภายในวัดที่น่าสนใจ 
อาทิ พระอุโบสถในสมัยอยุธยา ภายในมีเสาอยู่ด้านข้างพระอุโบสถ ๒ ข้างสวยงามมาก 
พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยอู่ทอง ปูนปั้นลงรักปิดทอง 
ไม่มีพระนามสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยา พระพุทธรูปหลวงพ่อแสน 
เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะสวยงามเป็นพิเศษ 
ตามประวัติ ได้มีการอัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตง เมื่อพ.ศ.๒๔๐๑ 

นอกจากนี้แล้วยังมีสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร 
อยู่ทางทิศตะวันตกท้ายวัด ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หอพระไตรปิฎก 
ตู้พระไตรปิฎก กุฏิไม้สักเก่า เป็นต้น นับเป็นวัดที่เก่าแก่
และเป็นที่พำนักจำพรรษาของสมเด็จพระสังฆราชถึง ๒ พระองค์ 

รูปภาพ
พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม 


ทรงย้ายจากวัดหงส์มาครองวัดสระเกศ

ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์ 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริจะทรงตั้ง 
สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช 
จึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่ไปอยู่วัดมหาธาตุ เพื่อเตรียมการทรงตั้งต่อไป 
และโปรดเกล้าฯ ให้พระพิมลธรรม (ด่อน) ย้ายจากวัดหงส์มาครองวัดสระเกศ
สืบต่อจาก สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ นั้น

สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) นั้นเมื่อแห่ไปอยู่วัดมหาธาตุได้ ๘ เดือน 
ยังมิทันได้ทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็เกิดอธิกรณ์ขึ้นเสียก่อน 
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอดเสียจากสมณฐานันดร แล้วให้ออกไปเสียจากวัดมหาธาตุฯ 
จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง (บางที่เรียกว่า วัดแหลม) 
ซึ่งเป็นวัดเบญจมบพิตรในบัดนี้ จนถึงมรณภาพ

ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน 
พระพิมลธรรม (ด่อน) เป็น สมเด็จพระพนรัตน ในคราวเดียวกันกับที่ทรงตั้ง 
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็น สมเด็จพระสังฆราช

รูปภาพ
พระรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) 

(มีต่อ ๑)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง
 

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์ 
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1693


{ GIVEN }: { THANKS } 
{ RECEIVED }: { THANKS } 

 ข้อมูลส่วนตัว www



รูปภาพ
วัดสระเกศ ในปัจจุบัน 


ประวัติและความสำคัญของวัดสระเกศ 

วัดสระเกศ หรือ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร 
เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่า "วัดสะแก" มามีตำนานเนื่องในพงศาวดาร 
เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธศักราช ๒๓๒๕ 
ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร 
ตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 

ดังมีข้อความปรากฏตามตำนานว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ 
สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 
เดิมมีชื่อว่า "วัดสะแก" เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ 
เมื่อครั้งที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก
ดังมีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า 

รูปภาพ
พระประธานในพระอุโบสถวัดสระเกศ 


เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ นั้น 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯ ให้ 
ลงมือก่อสร้างพระนคร รวมทั้งพระบรมมหาราชวัง และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 
ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมือง ตั้งแต่บางลำพูเรื่อยไปจนจดแม่น้ำ 
ด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส 

แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองหลอด และขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแกอีกคลองหนึ่ง 
พระราชทานนามว่า คลองมหานาค เพื่อให้เป็นที่สำหรับชาวพระนคร 
ได้ลงประชุมเล่นเพลง และสักวา ในเทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา

และวัดสะแกนั้น เมื่อขุดคลองมหานาคแล้ว
จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดสระเกศ" 
และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศทั้งพระอาราม 
ตั้งต้นแต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์ และขุดคลองรอบวัดอีกด้วย 
คำว่า "สระเกศ" นี้ตามรูปคำก็แปลว่าชำระหรือทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง 

รูปภาพ
เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ 


มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
ทรงพระราชทาน เปลี่ยนชื่อ วัดสะแก เป็น วัดสระเกศ นี้ 
มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ข้อ ๑๑ ว่า 

"รับสั่งพระโองการตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศ 
แล้วบูรณะปฏิสังขรณ์ เห็นควรที่ต้นทางเสด็จพระนคร" 


ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า 

"ปฏิสังขรณ์วัดสะแก และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสระเกศ 
เอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์ เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนคร"
 

มีคำเล่าๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวาร สรงพระมรุธาภิเษกตามประเพณี 
กลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า "วัดสระเกศ" 

รูปภาพ
เจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในภูเขาทอง


สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๖๕ 
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย นี้
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) 
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระพนรัตน (ด่อน) 
ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช 
เมื่อเดือน ๔ เดือนมีนาคม ปีมะแม ในศกนั้น แต่ไม่พบสำเนาประกาศสำเนาทรงตั้ง 

เมื่อทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนๆ 
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุ 
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ 
และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๒ ปีเศษ ก็สิ้นรัชกาลที่ ๒


พระกรณียกิจพิเศษ

ในปลายรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) 
ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจสำคัญคือทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ 
ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 
เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ตรงกับกับวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ 

เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุ ๓ วัน 
แล้วเสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) 
หลังจากทรงผนวชได้เพียง ๑๕ วัน 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคต 

เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เสด็จกลับมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ 
เพื่อทรงศึกษาภาษาบาลีต่อไป พระตำหนักอันเป็นที่ประทับของ 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชครั้งนั้น 
คือตรงที่ปัจจุบันสร้างเป็นวิหารโพธิลังกา ซึ่งอยู่ทางมุมวัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก 
หลังพระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในบัดนี้

คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า พระสงฆ์ธรรมยุต

รูปภาพ
ภาพทรงศีล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ 
(หรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระวชิรญาณเถระ) 



การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญ 

เนื่องมาจากการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ในสมัยของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ครั้งนั้น 
ได้ก่อให้เกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ที่นับว่าสำคัญครั้งหนึ่ง 
ในประวัติการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในเวลาต่อมา 

กล่าวคือ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จกลับมาประทับทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดมหาธาตุ 
จนทรงรอบรู้ในภาษาบาลีและเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกแล้ว 
ก็ทรงพิจารณาเห็นความบกพร่องในวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในยุคนั้น 
ดังพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

"ผลแห่งการที่ทรงศึกษาและพิจารณาทั่วถึงละเอียดเข้า 
ก็ให้เกิดความสลดพระราชหฤทัยไปว่าวัตรปฏิบัติแลอาจาริยสมัย 
ซึ่งได้นำสั่งสอนกันสืบๆ มานี้ เคลื่อนคลาดห่างเหิน แลหยาบหย่อนไปเป็นอันมาก 
ดูประหนึ่งว่าจะมีรากเง่าเค้ามูลอันเน่าผุไปเสียแล้ว"


ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
ดังที่ได้ทรงศึกษาจากท่าน ผู้รู้และพิจารณาสอบสวนกับพระไตรปิฏก
ที่ได้ทรงศึกษาจนเชี่ยวชาญแตกฉาน โดยพระองค์เองทรงประพฤตินำขึ้นก่อน
แล้วภิกษุสามเณรอื่นๆ ที่นิยมเลื่อมใสก็ประพฤติตาม

ในระยะแรกที่ทรงพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ดังกล่าวนั้น 
ยังเสด็จประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ จึงทรงรู้สึกไม่สะดวกพระราชหฤทัย 
เพราะวัดพระมหาธาตุเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช 
ทั้งทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระองค์ด้วย 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงย้ายไปประทับ 
ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) อันเป็นวัดที่อยู่นอกกำแพงพระนคร 
ทั้งนี้ก็คงเพราะความที่ทรงเคารพในสมเด็จพระสังฆราช 
และเพื่อจะได้ไม่เป็นที่ขัดข้องพระทัยของสมเด็จพระสังฆราช
เกี่ยวกับการปฏิบัติของพระองค์นั่นเอง

เมื่อเสด็จไปประทับ ณ วัดสมอราย แล้ว ก็ทรงปรับปรุงแก้ไข
วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ตามแนวแห่งพระราชดำริได้สะดวกนั้น 
กระทั่งมีผู้ปฏิบัติตามเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับจนกลายเป็นพระสงฆ์หมู่ใหญ่ 
ซึ่งได้รับการขนานนามในเวลาภายหลังต่อมาว่า 
คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า พระสงฆ์ธรรมยุต

พระราชดำริในการปรับปรุงแก้ไขพระศาสนาของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะ 
เรื่องวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการศึกษาพระปริยัติธรรม 
และการเทศนาสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัทด้วย 
จึงนับเป็นช่วงแห่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญช่วงหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทะนุบำรุงพระศาสนา


จัดสมณทูตไทยไปลังกา

สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงพระชนม์สืบมาถึงรัชกาลที่ ๓ 
และในปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ทรงพระราชดำริเห็นพร้อมกันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งทรงผนวชอยู่และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ในขณะนั้นว่า 

การพระศาสนาในลังกาจะเป็นอย่างไร 
ไม่ได้ไปสืบสวนให้ทราบความช้านานหลายปีมาแล้ว 
อีกประการหนึ่ง หนังสือพระไตรปิฏกที่ฉบับของไทยยังบกพร่อง 
ควรจะสอบสวนกับฉบับลังกามีอยู่หลายคัมภีร์ 

ถ้าแต่งพระภิกษุสงฆ์ไทยเป็นสมณทูตไปลังกาอีกสักครั้งหนึ่ง เห็นจะเป็นการดี 
ทรงพระราชดำริเห็นพร้อมกันเช่นนี้
จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเลือกสรรพระภิกษุที่จะส่งไปลังกา 
และมีสมณลิขิตไปถึงสังฆนายกตามพระราชประสงค์ 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกได้พระภิกษุสงฆ์ธรรมยุติกา ๕ รูป 
พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรชาวลังกาอีก ๕ รูป 
ซึ่งเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เมื่อ ๒ ปีก่อน 
และเดินทางกลับบ้านเมืองของตนในคราวนี้ด้วยได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ 
โดยเรือหลวง ชื่อจินดาดวงแก้ว เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล 
ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๕ สมณทูตชุดนี้เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ 
ในเดือน ๖ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๘๖ พร้อมทั้งได้ยืมคัมภีร์พระไตรปิฎกมาด้วย ๔๐ คัมภีร์

ตามเรื่องราวที่ปรากฏแสดงว่า 

การสมณทูตไทยไปลังกาครั้งนี้ยังประโยชน์แก่
พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก 
เพราะทำให้คณะสงฆ์ไทยมีโอกาสได้คัมภีร์พระไตรปิฎกจากลังกา
มาสอบสวนกับพระไตรปิฏกของไทยในส่วนที่บกพร่องสงสัย 
ให้สมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชนชาวไทย 
ได้คัมภีร์พระไตรปิฎกที่เป็นหลักฐานสำคัญ
ของพระพุทธศาสนาครบถ้วนสมบูรณ์สืบมาดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน



ชำระความพระสงฆ์ครั้งใหญ่

ในตอนปลายสมัยของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) นี้ 
ได้มีการชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารครั้งใหญ่ 
ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ดังนี้ 

"เมื่อ ณ เดือน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เกิด 
ชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารมิควร 
ได้ตัวชำระสึกเสียก็มาก ประมาณ ๕๐๐ เศษ ที่หนีไปก็มาก 
พระราชาคณะเป็นปาราชิกก็หลายรูป" 


นับเป็นการชำระสะสางอลัชชีในคณะสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุด
เท่าที่ปรากฏในประวัติการณ์ของคณะสงฆ์ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ 

ทั้งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของคณะสงฆ์ในยุคนั้น
ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง 
ความเอาพระทัยในการคณะสงฆ์ของ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอย่างจริงจัง 
ที่ทรงอุตสาหะชำระสะสางการพระศาสนา
และการคณะสงฆ์ให้บริสุทธิบริบูรณ์อย่างเต็มพระกำลังสติปัญญาอยู่เสมอ


พระอวสานกาล 

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) 
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลานานถึง ๑๙ ปี ๖ เดือน 
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๘๕ 
ตรงกับวันศุกร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีขาล ในรัชกาลที่ ๓ 
มีพระชนม์มายุได้ ๘๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
โปรดเกล้าฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวแล้วพระราชทานเพลิงพระศพ
เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ตรงกับวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๖ 

(มีต่อ ๓)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง
 

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์ 
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1693


{ GIVEN }: { THANKS } 
{ RECEIVED }: { THANKS } 

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ศาลาการเปรียญ วัดราชาธิวาส สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง 


ประวัติและความสำคัญของวัดราชาธิวาส 

วัดราชาธิวาส หรือ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
เป็นวัดที่สร้างมานานแล้ว สันนิษฐานว่าสร้างสมัยกรุงละโว้ 
เดิมชื่อว่า วัดสมอราย รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชวิจารณ์ว่า 
คำว่า "สมอ" นี้ มาจากภาษาเขมร ว่า "ถมอ" 
ที่แปลว่า "หินถมอราย" ซึ่งหมายถึง "หินเรียงราย" 

เมื่อรัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์ ทรงปรารภว่า 
วัดสมอรายเป็นที่ประทับระหว่างทรงผนวช 
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)
และของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ 
จึงพระราชทานนามเสียใหม่ว่า วัดราชาธิวาสวิหาร ในจุลศักราช ๑๒๑๓ 
แต่ในนามเอกสารต่างๆ เรียกวัดนี้ว่า วัดราชาธิวาส 
ตลอดรัชกาลที่ ๔ และ ๕ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน 

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงอุปสมบท 
แล้วเสด็จมาประทับที่วัดนี้ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ 
เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ 
ทรงผนวชแล้วก็เสด็จมาประทับด้วยพระองค์เอง 
ซึ่งต่อมาภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี 
พระเจ้ากรุงกัมพูชา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

และเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์
ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ หลังจากประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ 
ทรงปฎิบัติอุปัชฌายวัตรตามพระวินัยแล้วก็เสด็จมาจำพรรษาที่วัดสมอราย
จนถึงสิ้นราชกาลที่ ๒ และยังประทับที่วัดนี้จนตลอดพรรษา 
แล้วเสด็จประทับวัดมหาธาตุบ้าง วัดสมอรายบ้าง 
จนถึง พ.ศ. ๒๓๗๒ จึงประทับที่วัดสมอรายเป็นการถาวร
โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ 
ทรงทราบแล้วจึงรับสั่งให้ปลูกพระตำหนักถวาย

รูปภาพ
พระอุโบสถวัดราชาธิวาส 
ออกแบบโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 



ในรัชกาลที่ ๓ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่วัดนี้ด้วย 
ได้มีการปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม เมื่อรัชกาลที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ก็มีการปฏิสังขรณ์ต่อ 
ครั้นต้นรัชกาลที่ ๕ ก็มีการปฏิสังขรณ์อีกใน ร.ศ. ๑๒๓ 
โปรดเกล้าๆ ให้รื้อและสร้างเสนาสนะขึ้นใหม่หลายสิ่ง คือ 
พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ พระตำหนักพระจอมเกล้า หอสวดมนต์ 
ศาลาคู่หน้าพระอุโบสถ ปัจจุบันรื้อแล้ว 
หมู่กุฏิจัดเป็น ๓ คณะ เขื่อนก่อด้วยอิฐ พระเจดีย์ดัดแปลงจากของ รั้วเสาหิน 
เรียกว่าเสาอินทขีล ภูเขา และสระน้ำซึ่งถมระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๒-๒๔๖๘ 
หลังจากนั้นก็มีการปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44308