วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

"พระรัตนตรัย"

"ทิศ 6"
หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย
1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา
2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์ 
3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย
5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ
6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

"อปริหานิยธรรม 7" 
หลักธรรมที่นำบุคคลไปสู่ความไม่เสื่อม ประกอบด้วย
1. หมั่นประชุมกันเสมอ
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจกรรมส่วนรวม
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเดิม ตามที่บัญญัติไว้
4. ให้ความเคารพนับถือแก่นักปกครองผู้ใหญ่ และฟังคำของท่าน
5. ไม่บังคับกดขี่เอากุลสตรี มาเป็นนางบำเรอ
6. สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ปูชนียสถานทั่วรัฐ
7. ให้การอารักขา คุ้มครองป้องกันอันเป็นธรรมแก่นักบวชผู้มี ศีลาจารวัตร ปรารถนาให้ท่านมาสู่รัฐของตน ที่มาแล้วขอให้อยู่อย่างเป็นสุข

"จักร 4" 
หลักธรรมที่นำบุคคลไปสู่ความเจริญ ประกอบด้วย
1. ปฏิรูปเทสวาสะ หมายถึง การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม
2. สัปปุริสูปสังเสวะ หมายถึง การคบสัตบุรุษ การเข้าไปคบกับคนดี ผู้มีสัปปุริสธรรม7
3. อัตตสัมมาปณิธิ หมายถึง การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งอยู่ในสุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
4. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อ

"กุลจิรัฏฐิติธรรม 4"
หลักธรรมที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่ง ประกอบด้วย
1. ของหายของหมดต้องแสวงหา
2. ของเก่าชำรุดต้องบูรณซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการใช้จ่าย
4. ต้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

 "ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4" 
หลักธรรมที่นำไปใช้แล้วได้ประโยชน์ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1. อุฏฐานสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น
2. อารักขสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการรักษา 
3. กัลยาณมิตตตา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการมีมิตรดี
4. สมชีวิตา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ดี

"สังคหวัตถุ 4" 
หลักธรรมที่ใช้ในการผูกมิตร ประกอบด้วย
1. ทาน หมายถึง การให้
2. ปิยะวาจะ หมายถึง การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา หมายถึง การกระทำตนให้เป็นประโยชน์
4. สมานัตตตา หมายถึง การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย

"พรหมวิหาร 4" 
คือ ธรรมสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย
1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข 
2. กรุณาหมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี 
4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย

"อิทธิบาท 4" 
คือ เป็นธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย
1. ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ
2. วิริยะ หมายถึง ความเพียร
3. จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่
4. วิมังสา หมายถึง ความไตร่ตรองตามเหตุผล
"อริยสัจ 4" 
คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ เป็นผู้ประเสริฐได้ ประกอบด้วย
1. ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ 
2. สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) หมายถึง ต้นเหตุที่ให้เกิดทุกข์หรือปัญหา 
3. นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) หมายถึง สภาวะที่ทุกข์หมดสิ้นไป สภาพที่ปราศจากทุกข์ มีแต่ความสงบร่มเย็น 
4. มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการ มีสัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ เป็นต้น 

อริยสัจ 4 ไม่เพียงแต่เป็นหลักความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักแห่งเหตุและผล แต่ยังถือว่าเป็นหลักการสำคัญในการแก้ปัญหาชีวิตอีกด้วย

"พระธรรม"
คำว่า "ธรรมะ" มีความหมายประกอบกัน 4 อย่าง คือ
1. ตัวธรรมชาติ 
2. กฎธรรมชาติ 
3. หน้าที่ตามกฎธรรมชาติ
4. ผลที่เกิดจากหน้าที่ 

"พระรัตนตรัย"
มาจากคำว่า "รัตน" แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า "ตรัย" แปลว่า สาม แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง ได้แก่
1. ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือ "พระพุทธเจ้า" 
2. คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ "พระธรรม"
3. สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือ "พระสงฆ์"
4. พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ
5. ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา
6. ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น