จาก: Kitsunee Ruj <kitsunee_tai@yahoo.com>
วันที่: 1 มีนาคม 2555, 9:40
หัวเรื่อง: ขอให้กระจายข่าวด้วยคะ e-mail ถูก hack
ถึง:
|
ติดต่อ คุณอัจฉรา 086-6282817 หรือร่วมบริจาค ธ.กรุงไทย เลขบัญชี 031-0-03432-9 หรือ ธ.กรุงเทพ เลขบัญชี 145-5-24762-5 ชื่อบัญชีสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ต้องใช้จ่าย เดือนละ 1 แสนบาท โดยเป็นค่าใช้จ่าย ใน 3 โครงการ ที่ดูแล คนเร่ร่อนไร้บ้าน...พนักงานบริการ ...เด็กและเยาวชนในชนบทกลุ่มต่าง ๆ /"ความสำเร็จประกอบด้วยความผิดพลั้งหลายๆ ครั้งมารวมกันโดยที่ความกระตือรือร้นที่หวังจะพบกับชัยชนะนั้นยังคงอยู่" (วินสตัน เชอร์ชิลล์).
|
| |||
| |||
| |||
|
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม แจ้งประชาชนที่มีที่พักอาศัยหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ที่คาดว่าจะอยู่ในแนวเขตทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครที่ กทพ. จะดำเนินการก่อสร้างสามารถตรวจสอบแนวเขตเวนคืนได้แล้ว
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยในรายละเอียดว่า ตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน เพื่อทำการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 16 ก เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปนั้น ฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน กทพ. จึงได้เริ่มดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 โดยได้ดำเนินการติดตั้งป้ายประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดังกล่าว จำนวน 20 ป้ายเรียบร้อยแล้ว หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองประสงค์จะทำการใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าว เช่น ซื้อขาย หรือปลูกสร้างอาคาร เป็นต้น ขอให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กองจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเลขที่ 238/6 สำนักงานอโศก ถนนอโศก-ดินแดง แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
นายอัยยณัฐฯ กล่าวในท้ายที่สุดว่า "หากสงสัยว่าบ้านของท่านจะอยู่ในเขตแนวเวนคืนดังกล่าว ท่านสามารถตรวจสอบแนวเขตเวนคืนและสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ 02-641-5355 - 9 ต่อ 3316 ,3317 หรือที่เบอร์ 02-246-9251 – 2 ทั้งนี้ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมไว้เพื่อใช้ในการสอบถาม ได้แก่ เลขที่โฉนด,ใบระวาง,เลขที่ดินและหน้าสำรวจ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ"
มือดีหอบหลักฐานแฉรายละเอียดทุจริตโครงการจัดซื้ออุปกรณ์ IPTV ของทีโอที ขณะที่มีชื่อ "นายมรกต เธียรมนตรี" และ "จันทนา เตชะศิรินุกูล" ติดร่างแหด้วย...
แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยเอกสารรายละเอียดการทุจริตโครงการจัดซื้ออุปกรณ์ IPTV ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยมีเนื้อหาระบุว่า เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้อง ทีโอที เพื่อเรียกค่าชดเชย จากการดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ อุปกรณ์ IPTV Set Tpo Box ยี่ห้อ UTStarcom จำนวน 1 หมื่นชุด จากบริษัท คอมเมอชัล อะไลอันซ์ จำกัด และคณะกรรมการ ผู้จัดการของบริษัท คอมเมอชัล อะไลอันซ์ จำกัด ขณะนั้น คือ นายธนวัฒน์ อัมพุนันท์ ขณะนี้ ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริหารทีโอที และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที
ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างกระทำภายใต้การดำเนินการของ รจญ.ล. นายมรกต เธียรมนตรี และนางสาวจันทนา เตชะศิรินุกูล ชจญ.ผ. ตั้งแต่ปี 2553 โดยใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างนอกระเบียบ จัดหาพัสดุ ทีโอที ไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบมาตรฐาน ไม่เชิญผู้เสนอราคาเข้าแข่งขันราคา และลัดขั้นตอนระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของทีโอที จนถึง ปัจจุบันกล่อง IPTV Set Tpo Box ยี่ห้อดังกล่าว ยังคงเหลืออยู่ในคลังพัสดุเป็นปริมาณกว่า 9 พัน เนื่องจากไม่สามารถนำไปให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีพอร์ต HD รองรับ ไฮดิฟฟินิชั่น วิดีโอ
สะท้อนให้เห็นว่า ทีโอที ได้เสียงบประมาณไปเกือบสองร้อยล้านบาทอย่างสูญเปล่า และกำลังจะเสียค่าเสียหายให้กับบริษัท เอชพีเอ็ม อินโนมีเดีย จำกัด จำนวนหลายร้อยล้านบาทต่อไป.
โดย: ทีมข่าวไอทีออนไลน์
29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:30 น.
กสทช. เปิดเวทีเสวนาแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในโฆษณาวิทยุและโทรทัศน์ยุค กสทช. รอบ 2 ดึงหาทางออกร่วม ด้านองค์กรและภาคประชาชนระบุโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ขณะที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เร่ง กสทช. ออกหลักเกณฑ์ พร้อมดึง ปชช.มีส่วนร่วม...
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวในเวทีเสวนา NBTC PUBLIC FORUM : แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในโฆษณาวิทยุและโทรทัศน์ยุค กสทช. จัดขึ้น เป็นครั้งที่ 2 ว่า เวทีนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภาคประชาชนกลุ่มวิชาชีพ ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่สนใจ ในประเด็นสถานการณ์สื่อโฆษณาในวิทยุและโทรทัศน์ที่เอาเปรียบและละเมิดสิทธิ์ผู้บริโภคตามกฎหมายที่กำหนด
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เพื่อต้องการระดมความคิดเห็นในประเด็นของสังคมต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโฆษณาในสื่อใหม่ๆ อาทิ ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ตลอดจนวิทยุชุมชนในภูมิภาคต่างๆ โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาระดมความคิดเห็นและหาแนวทางออกร่วมกัน ขณะเดียวกัน กสทช. ยังไม่มีเกณฑ์ และกติกาในการกำกับดูแลผู้ประกอบการในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ แต่ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ จำเป็นต้องมีมาตรการในการเยียวยา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนจนกว่าจะเข้าสู่กติกาและเกณฑ์ให้ใบอนุญาต่างๆ ของ กสทช.จะเสร็จสิ้นต่อไป
กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ในปี 2553 คณะกรรมการการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ระบุถึงการศึกษาโฆษณาสินค้าและบริการในวิทยุขนาดเล็ก 12 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีการโฆษณาแฝงและโฆษณาโดยตรง โดยโฆษณาแฝงเป็นการกล่าวถึงกลุ่มผู้สนับสนุนสถานีและผู้สนับสนุนรายการ ส่วนการโฆษณาโดยตรงจะเป็นการเปิดสปอตโฆษณา โดยกลุ่มสินค้าที่ปรากฏมากที่สุด คือสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพร้อยละ 57 รองลงมาคือสินค้าทางการเกษตร ปัจจุบันวิทยุขนาดเล็กได้รับสิทธิ์ทดลองออกอากาศภายใต้มาตรการชั่วคราวของ กสทช. 6,604 รายในปี 2554 ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับใบอนุญาต 2 ราย และมีผู้ยื่นขอประกอบกิจการ เคเบิล ภายใต้มาตรการชั่วคราวจำนวน 1,042 ใบ อยู่ในกระบวนการพิจารณา 955 ใบ ในจำนวนนี้ ได้รับใบอนุญาตแล้ว 113 ใบ ส่วน ทีวีดาวเทียม ปัจจุบันมีผู้ติดตั้งจานดาวเทียมในระบบ Ku Band และ C-Band รวมกัน 5 ล้านจาน
ด้านองค์กรและภาคประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อโฆษณาในสื่อวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบันว่า พบเห็นการโฆษณาสินค้าต่างๆ ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงเป็นเวลานานและบ่อยครั้งระหว่างการออกอากาศ อาทิ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว กาแฟลดความอ้วน ยาบำรุงเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยารักษาโรค เครื่องรางของขลัง ใบ้หวยและรูปแบบรายการเข้าข่ายไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้ กสทช.ออกมาตรการในการควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ขณะที่ นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ ต้องการเรียกร้องการออกกฎหมายให้ผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่แค่การรับฟังเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงผุ้บริโภคด้วย นอกจากนี้ ยังต้องการให้ กสทช. เร่งดำเนินการในการออกหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะยิ่งช้า ผู้บริโภคจะเสียเปรียบ ขณะที่ วิทยุชุมชนเป็นสื่อที่กลางกลับหลอกลวงผู้บริโภคมากที่สุด ซึงผิดกับสื่อ ทางเลือกที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับผู้บริโภคเลย
ทั้งนี้ วิทยากรนำเสนอประเด็นเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (มีเดียมอนิเตอร์ ) นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย นายพิชัย อารยิกานนท์ สมาคมองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) นางสาวสิรินนา เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ และผู้แทนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.).
โดย: ทีมข่าวไอทีออนไลน์
29 กุมภาพันธ์ 2555, 15:00 น.
กสทช.ตั้งอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำกับจริยธรรมสื่อวิทยุ-ทีวี เผยแผนควบคุมระยะสั้น -ตักเตือน ระยะยาว -ระงับใบอนุญาต คาดระเบียบทีวีดาวเทียมเสร็จทันส.ค.55ด้านเลขาฯ สคบ.แนะกระจายอำนาจตรวจสอบสู่ท้องถิ่น จี้เอาผิดพรีเซนเตอร์สินค้า
วันที่ 25 ก.พ. 55 สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดสัมมนา "ทีวีดาวเทียมพันช่อง : ตลาด จริยธรรมและการกำกับดูแล ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ
พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวปาฐกถา "นโยบายกสทช.ต่อธุรกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ดาวเทียม และเคเบิลทีวี" ว่า โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของประเทศไทยมีประมาณ 300 ช่อง ซึ่งนับว่าเป็นกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ในการจัดการ เพราะเป็นทรัพยากรไม่จำกัด แต่จำเป็นต้องสร้างกฎระเบียบการออกอากาศเหมาะสม ผ่านใบอนุญาตประกอบกิจการที่กำหนดตามแผนแม่บท 1 ปี หลังจากนั้นจะมีการต่อใบที่ 2 ระยะ 5 ปี หรือ 10 ปี โดยขณะนี้ระเบียบยังไม่ชัดเจน แต่มั่นใจว่าปี 2555 จะเกิดความพร้อมในการกำกับดูแลมากขึ้น
ส่วนการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในรายการช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนั้น ระยะสั้นกสทช.และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะตักเตือนและขอความร่วมมือ ระยะยาวจะพิจารณาไม่ออกใบอนุญาต ซึ่งเนื้อหาที่พบเข้าข่ายผิดจริยธรรมบ่อยครั้ง ได้แก่ การโฆษณาเกินจริง ใช้วาจาไม่สุภาพ
"การดำเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะสำเร็จต้องได้รับความร่วมมือภาคประชาชนเพราะลำพังเพียงแต่เจ้าหน้าที่คงไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นหากผู้ใดพบเห็นรายการที่ผิดจริยธรรมและเป็นภัยต่อผู้บริโภคสามารถร้องเรียนที่เบอร์โทร 1200"
ในงานยังมีการเสวนา "กลไกการกำกับเนื้อหา สินค้าที่ล่อแหลม ไร้การควบคุมในทีวี" โดยน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกสทช.กล่าวว่า การโฆษณาเกินจริงและผิดจริยธรรมในสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเกิดขึ้นในสังคมไทยมานาน ซึ่งเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงที่กสทช.ต้องตั้งหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแล แต่จำเป็นต้องรอกฎหมายเสร็จก่อน จึงสามารถดำเนินการได้
"ขณะนี้กสทช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และคณะกรรมการชุดนี้จะร่างระเบียบการขออนุญาตและใช้คลื่นความถี่ โดยเฉพาะวิทยุชุมชน รวมถึงร่างเกณฑ์ประเมินเนื้อหาและกำกับรายการ คาดว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในส.ค. 55"
น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่าคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯจะเป็นผู้ดูแลกำกับจริยธรรมการนำเสนอเนื้อหาร่วมกับกสทช. ผ่านขั้นตอนรับเรื่องร้องเรียน หากผู้ประกอบการคนใดดำเนินกิจการตามหลักเกณฑ์จะได้รับใบอนุญาตเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวเข้าหากฎกติกาที่วางไว้ แต่คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรเพื่อจัดระเบียบองค์กรทุกฝ่าย ทั้งการแยกแยะบทบาทหน้าที่องค์กรภายในกสทช. ให้ชัดเจน และกำหนดกติกาควบคุมเนื้อหาส่วนผลิตรายการของผู้ประกอบการ
ขณะที่นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีสินค้าด้านสุขภาพร้อยละ 70 ขายผ่านสื่อโทรทัศน์และกระจายเสียง ซึ่งสคบ.ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)ในการเฝ้าระวังสินค้าที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคตามกรอบกฎหมาย อีกทั้งกระจายอำนาจการตรวจสอบผ่านเครือข่ายสคบ.ตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยอนาคตต้องทบทวนกติกาควบคุมจริยธรรมโฆษณาสินค้าเกินจริงใหม่ นอกจากจะกำกับดูแลผู้ประกอบการและผู้บริโภคแล้ว ควรมีมาตรการขั้นเด็ดขาดกับพรีเซนเตอร์สินค้าด้วย.
แผนการปฏิวัติรัฐประหารที่คณะก่อการทุกชุดต้องดำเนินการเป็นลำดับต้นเหมือนเป็นสูตรสำเร็จของการยึดอำนาจ ก็คือการควบคุมตัวนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และ เข้ายึดกุมสื่อที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายถืออำนาจรัฐใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้
กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 ช่อง 9 ช่อง 7 ช่อง 5 ช่อง 3 ไอทีวี รวมถึงสถานีดาวเทียมไทยคม จึงจัดอยู่ในเป้าหมายที่หัวหน้าคณะผู้ปฏิบัติการต้องวางกำลังไปยังจุดศูนย์ดุลเหล่านั้น โดยการดำเนินการต้องรวดเร็วเบ็ดเสร็จก่อนที่คณะผู้ก่อการจะออกแถลงการณ์ยืนยันการใช้อำนาจของคณะปฏิวัติ เพื่อคุมสภาพไม่ให้อีกฝ่ายปฏิบัติการต่อต้าน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ได้จัดวางการปฏิบัติไว้ในแผนปฐพี 143 แบ่งหน่วยในการเข้ายึดพื้นที่ของสื่อโทรทัศน์ไว้โดยรอบ ในขณะเดียวกัน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ หรือ ทีวีพูล ได้สั่งการให้สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 เป็นแม่ข่ายในการถ่ายทอดการอ่านแถลงการณ์คณะปฏิวัติ พร้อมให้นำรถถ่ายทอดสดมาสแตนด์บายที่กองบัญชาการกองทัพบก
ระหว่างนั้น ช่อง 5 ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงรายการบนหน้าจอสี่เหลี่ยม จากรายการปกติ เป็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนั้น ยังมีการเปิดเพลงมาชร์กองทัพบก ตามขั้นตอนที่คณะปฏิวัติได้ทำมาตั้งแต่อดีต เช่นเดียวกับวิทยุของทหาร ที่ถ่ายทอดเสียงเพลงมาชร์กองทัพบกอย่างพร้อมเพรียง
โดยระหว่างนั้นผู้บริหารของ ทีวีพูล ต้องยกหูโทรศัพท์โดยด่วนเพื่อให้แต่ละช่องเชื่อมสัญญาณของทีวีพูล ทว่าในเหตุการณ์ครั้งนั้น ช่อง 9 อสมท. ไม่ยอมเชื่อมสัญญาณ เนื่องจาก นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผอ.อสมท. ได้สั่งการให้ถ่ายทอดคำแถลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ
แต่ไม่นาน ช่อง9 ก็ต้องยอมรับการเชื่อมสัญญาณจากทีวีพูล เนื่องจากหน่วยทหารที่เข้าไปคุมพื้นที่ซึ่งก็คือ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ได้ใช้กำลังเข้าล้อมสถานี และ ขอให้ผู้บริหารสถานีเชื่อมต่อสัญญาณจากคณะปฏิวัติในที่สุด
ส่งผลให้การอ่านคำแถลงการณ์สมบูรณ์ คำแถลงปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ออกจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหาร ที่ข้ามประเทศมาก่อนหน้านั้น จึงไม่เป็นผล
จะเห็นได้ว่า สื่อโทรทัศน์ และ วิทยุ ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดอำนาจ เพราะการคุมพื้นที่ของสื่อที่เข้าถึงประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ทว่าปัญหาหลักในขณะนั้น คือการก่อเกิดของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบางสถานี ที่คณะปฏิวัติเองก็ยังเอื้อมมือไปไม่ถึงและไม่เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะปริมาณของโทรทัศน์ดาวเทียมเหล่านั้นไม่ได้มากขึ้นเช่นปัจจุบัน
เช่นเดียวกับ การขยายตัวของคลื่นสถานีวิทยุ ที่ไม่ได้มีเฉพาะแต่ภาพวิทยุทหารแหล่งขุมทรัพย์เช่นในอดีต คลื่นวิทยุ ที่ออกกระจายเสียงทั้งในระบบเอฟเอ็ม หรือเอเอ็ม ซึ่งเป็นของหน่วยงานรัฐ กองทัพบก จำนวน 126 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร 24 สถานี ซึ่งแบ่งเป็น เอฟเอ็ม 12 สถานี เอเอ็ม 12 สถานี ส่วนต่างจังหวัดมีรวมทั้งสิ้น 102 สถานี แบ่งเป็นเอฟเอ็ม 37 สถานี เอเอ็ม 65 สถานี กองทัพอากาศ ที่มีกรมสื่อสารทหารอากาศ เป็นผู้ดูแล จำนวน 35 สถานี แบ่งเป็น เอเอ็ม 17 สถานี และ เอฟเอ็ม 18 สถานี กองทัพเรือ จำนวน 17 สถานี และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีสถานีวิทยุในเครือข่ายทั้งหมด 44 สถานี
จากการที่เอกชนผู้ประกอบการวิทยุชุมชนสำแดงไว้ กับ คณะกรรมการกิจการวิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุกระจายเสียง หรือ กสทช. รวมแล้ว 6,001 สถานี ไม่นับรวมของหน่วยงานรัฐที่มีการจดทะเบียนไว้รวม 525 สถานี เป็นงานหนักที่ กสทช. ต้องเข้าไปออกใบอนุญาตเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย การทำงานของ กสทช. จึงมีความยากลำบาก นับแต่แผนแม่บทที่จะดำเนินการออกมาในไม่ช้านี้ นอกจากกรอบกฎหมายในการพิจารณาแล้ว กสทช. เองก็ต้องใช้ดุลยพินิจ ในการลงมติว่าจะออกใบอนุญาตให้ใครดำเนินการประเภทใดได้บ้างใน 3 ประเภท คือ 1.เพื่อสาธารณะ 2. ธุรกิจ 3. ชุมชน
นส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งใน กสทช. ระบุว่า เป็นเรื่องที่ท้าทาย กสทช .เพราะนอกจะมีกฎหมายกำกับแล้ว ตัวบุคคลใน กสทช. ยังต้องใช้ดุลยพินิจว่า การที่หน่วยงานรัฐ และ เอกชนจะขอใบอนุญาตต่างๆ นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้จดแจ้งหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เป้าหมายในการทยอยออกใบอนุญาตช่วง 1-2 ปี ต่อจากนี้ ก็อาจจะเกิดความโกลาหลบ้าง และ หน่วยงาน เอกชน กองทัพ ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตก็อาจจะต้องมีการไปร้องศาลปกครองเพื่อศาลตัดสินในขั้นสุดท้าย กว่าจะออกมาได้ว่าใครบ้างที่ได้รับอนุญาตก็คงต้องใช้เวลา
"เหมือนกับการย้ายบ้านขึ้นไปอยู่คอนโด โดยเราก็จะออกโฉนดให้ใหม่ โดยไม่ใช่ที่ดินเดิมของตัวเอง อย่างกรณีของคลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ที่จะได้รับการจัดสรรก็จะเปลี่ยนไปด้วย เป็นธรรมดาที่จะมีความโกลาหล เหมือนตอน 3 จี ก็มีปัญหาระบบล่มบ้าง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติของการเปลี่ยนผ่าน กว่าจะเข้าที่หรือได้ข้อยุติคงอีกหลายปี ไม่นับรวมถึงการที่ กสทช. กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนระบบของคลื่นวิทยุ โทรทัศน์ใหม่เป็น ดิจิตอล ตามที่อาเซียนตกลงกันไว้ในอนาคต ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาในการทำเรื่องนี้ถึง 5 ปี ซึ่งการเปลี่ยนระบบจากอนาล็อค มาเป็นดิจิตอล ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันในการทำธุรกิจมากขึ้น " นส.สุภิญญา กล่าว
ในอนาคตจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า คลื่นวิทยุทหารที่มีอยู่อาจต้อง "หนีตาย" เพราะการจะใช้รูปแบบเดิมในการ ขายเวลาเช่าช่วง เพื่อหารายได้ให้หน่วยเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว เพราะ กสทช. จะทำหน้าที่ในการดูแลให้การดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตเพื่อใช้ในงานเพื่อสาธารณะก็จะต้องคงเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง สังคม เป็นหลัก แต่หากเป็นการประกอบธุรกิจต้องมีการประมูล
ความหนักใจของกองทัพจึงไม่ได้อยู่ที่การถูกยึดคลื่นวิทยุ หากแต่เป็นการปรับตัวในเรื่องเนื้อหาเพื่อรักษาคลื่นที่ กสทช.จะจัดสรรให้
ส่วนสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบันนอกจาก ฟรีทีวีแล้ว ยังมีทีวีเคเบิ้ลและทีวีดาวเทียม ที่มาแจ้งการดำเนินการกับ กสทช. ทั้งหมด 200 ราย เนื้อหาของการนำเสนอแต่ละสถานี มีความหลากหลาย และ ยากที่จะกำหนดกรอบเนื้อหาให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทีวีที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง เป็นเรื่องไม่ง่ายที่ กสทช.จะเข้าไปดูเรื่องความสมดุลให้เกิดขึ้น
ในปัจจุบันการเพิ่มช่องทีวีจากปรากฎการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อค่าออกอากาศตามเวลาของสถานีที่ลดลงในบางช่อง ไม่เหมือนในอดีตก ที่โฆษณา และ การประชาสัมพันธ์ ไม่ได้ฝืดเคืองหรือหายากเหมือนเช่นปัจจุบัน รายได้ที่กองทัพจะได้รับอย่างเดิมคงเปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่ทว่า กองทัพเองก็ไม่อาจฝืนกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
ความหลากหลาย และ เสรี ของสื่อจากตัวกฎหมาย และ กระแสของสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสื่อกระแสรองที่เกิดขึ้นจากก่อกำเนิดของโซเชี่ยลมีเดีย เว็บไซด์ ในโลกออนไลน์ต่างๆ ส่งผลอย่างมากต่อการคุมสภาพทางด้านความมั่นคง และ เป็นภาวะที่กองทัพเองก็เริ่มตระหนักว่า การจะกระทำการนอกกฎหมาย เพื่อเข้าจัดระเบียบสังคม โดยใช้การยึดอำนาจ อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด
การปรับวิธีคิดในเรื่องการรัฐประหารตามแรงต้านของสังคม ยังเกิดไปพร้อมกับความยากลำบากในกระบวนการยึดอำนาจ เพราะอย่างที่กล่าวแล้วว่า แผนลำดับต้นๆ ที่ต้องวางกำลังเข้ายึดสื่อโทรทัศน์ เพื่อตัดช่องทางสำคัญในการต่อต้านจากฝ่ายที่ถูกรัฐประหารแล้วไม่สามารถเป็นไปได้ง่ายดายเหมือนเดิมแล้ว
"ต่อให้นำกำลังเข้ายึดสื่อฟรีทีวี และไล่ไปปิดตามสถานีเคเบิ้ลทีวี หรือ ทีวีดาวเทียม หมดก็ปิดช่องทางสื่อสารของมวลชนที่ต้านไม่ได้ เพราะการเกิดขึ้นของสื่อกระแสรองในอินเตอร์เน็ต ทำให้การก่อตัวที่จะต้านคณะยึดอำนาจมีพลังมากขึ้น ตอนรัฐประหารปี 49 ตอนนั้นแค่เริ่มๆ การปลุกระดมต้านกองทัพยังสามารถก่อม็อบเล็กๆ ม็อบย่อยๆ ออกมาได้เหมือนกัน นี่ยังไม่นับการที่ กสทช.จะซอยช่องความถี่ จากการปรับระบบเทคโนโลยีด้านสื่อเป็น ดิจิตอล ในอนาคต ถึงตอนนั้น ยิ่งไม่มีทางที่จะคุมได้" นายทหารนายหนึ่ง ซึ่งคุมสื่อในช่วงรัฐประหารปี 2549 เล่าให้ฟัง
แต่ในมุมมองของ นส.สุภิญญา มองว่า แม้จะเป็นเรื่องยากแต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้น หากกองทัพ หรือแม้กระทั่งกลุ่มการเมืองในสีต่างขั้ว จะลุกขึ้นมาเป็นมวลชนปฏิวัติเสียเอง ก็ต้องยึดสื่อเหมือนกัน และ กสทช.เองที่จะเป็นเป้าใหญ่ ที่เขาต้องเข้ามาควบคุม สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ต่อไปการตัดช่องสัญญาณสื่อสารทางโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า เพราะคนส่วนใหญ่กระจายข่าวสารผ่าน ข้อความมือถือ เฟซบุ้ค หรือ ทวิตเตอร์ ซึ่งหากไม่มีคลื่นโทรศัพท์ หรือ สัญญาณอินเตอร์เน็ต การสื่อสารก็จะถูกตัดขาด
"ดิฉันไม่ได้มองเจาะจง แต่มองว่าในแรงปะทะทางการเมืองที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น กลุ่มมวลชนต่างฝ่าย ต่างก็มีสื่อของตัวเอง การเคลื่อนตัวเพื่อกระทำการปฏิวัติโดยการยึดสื่อฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสเกิดขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งการเข้าควบคุมกสทช. ก็มีความเป็นไปได้สูง เช่นเดียวกับกองทัพ ถ้าเขาจะทำ ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ เพราะกองทัพก็เป็นองค์กรที่มีเครื่องมือ กำลังพล อาวุธ ยุทโธปกรณ์ สามารถที่จะใช้กำลังเข้าไปยึดสถานี หรือ บริษัท แคท เทเลคอม หรือ ทีโอที เพื่อตัดช่องสัญญาณ แล้วค่อยส่งกำลังเข้าไปปิดสถานีโทรทัศน์ ทั้งเคเบิ้ลทีวี หรือ ทีวีดาวเทียมในภายหลังก็ได้ " นส. สุภิญญา กล่าวให้ความเห็น
ในสถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านที่กองทัพต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจด้านสื่อ และ ดำรงไว้ซึ่งมรดกตอกทอดของบรรพบุรุษให้ได้ เป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจสูงสุดเองคงต้องตระหนัก และ ค้นหาวิธีการบริหารจัดการที่เกิดผลประโยชน์มากที่สุดโดยไม่ขัดต่อกระแสที่เปลี่ยนแปลงและกฎหมายที่เปลี่ยนไป
แต่สภาวะของกองทัพที่ยังต้องทำภารกิจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย สร้างความมั่นคงให้เกิดแก่คนในชาติ รักษาสถาบันสูงสุดของประเทศไว้ ไม่มีหลักประกันว่า การปฎิวัติรัฐประหาร จะถูกกลืนหายไปจากสังคมไทย เพียงแต่ว่ากองทัพเองก็ต้องรู้ตัวว่าไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด และ คนที่จะยึดสื่อได้ในอนาคตไม่ใช่มีแค่ทหาร เพราะเมื่อสื่อคือเครื่องมือทางการเมืองของขั้วสี มวลชนของฝ่ายการเมืองย่อมต้องเข้าไปกำกับดูแลในเหตุการณ์ไม่ปกติได้เช่นกัน
นี่ยังแค่ตอนปลายของกองทัพยุค "อนาล็อค" ยังไม่ได้ก้าวย่างสู่เทคโนโลยี ดิจิตอล ที่มีความสลับซับซ้อน และ มากล้นด้วยอิทธิพล และ ผลประโยชน์ใหม่ ที่มากเกินคณานับ น่าจะโจทย์ที่ผู้นำเหล่าทัพต้องคิดหนักอีกเรื่องหนึ่ง
http://www.thaireform.in.th/drilling-band-reformed/item/7014-2012-01-25-09-15-13.html
หากท่านไม่สามารถเปิดอีเมล์นี้ได้โปรดคลิกที่นี่ | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
อีเมล์ฉบับนี้ได้ส่งมาให้ท่านโดย บริษัท ทีทีไอเอส จำกัด ในนามของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หากท่านไม่ประสงค์จะรับข่าวสารจากศูนย์คุณธรรมในอนาคต กรุณาคลิก Unsubscribe. |
Heinrich Böll Stiftung
Southeast Asia Regional Office
75 Sukhumvit 53 (Paidee-Madee)
Klongton Neua, Wattana
Bangkok 10110, Thailand
T:+66(0)2662596 0/1/2,
F:+66(0)26627576,
Heinrich Böll Stiftung
Southeast Asia Regional Office
75 Sukhumvit 53 (Paidee-Madee)
Klongton Neua, Wattana
Bangkok 10110, Thailand
T:+66(0)2662596 0/1/2,
F:+66(0)26627576,
|
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 11:40:47 น. |
เปิดโผเวนคืนด่วน"ศรีรัช-วงแหวน" ผ่าดงบ้านจัดสรรเพียบ/แนวเขตทาง 200 ม.-3 กม.
|