วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"กสทช."ตั้งเกณฑ์มาตรฐานคุมสปีดขั้นต่ำบริการ"ดาต้า"บนมือถือ 2G-3G

 
วันที่ 03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 11:20:40 น.

"กสทช."ตั้งเกณฑ์มาตรฐานคุมสปีดขั้นต่ำบริการ"ดาต้า"บนมือถือ 2G-3G

Share12




"กสทช." ตั้งเกณฑ์มาตรฐานคุมบริการค่ายมือถือ ตีกรอบความเร็วดาวน์โหลด "ข้อมูล" บน "2G" 54 kbps บน "3G" ที่ 384 kpbs ส่ง SMS ไม่เกิน 90 วินาที เล็งปรับปรุงตัวชี้วัดใหม่เทียบชั้นอินเตอร์ที่ยึดเกณฑ์บริการตามโฆษณา 

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังสำนักงาน กทช. ออกประกาศเรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงเมื่อปี 2551 และกสทช.ยกร่างประกาศเรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ 3G ครอบคลุมบริการด้านข้อมูลบน 2G และ 3G การส่ง SMS และ MMS รวมถึงบริการสตรีมมิ่ง

และได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและให้ส่งรายงานเสนอความคิดเห็นต่อสำนักงาน กสทช. คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณา 1 เดือน ก่อนให้ กทค.มีมติรับรอง และนำไปประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป 

สำหรับสาระสำคัญกำหนดมาตรฐานการให้บริการข้อมูล ได้แก่ ความเร็วเฉลี่ยในการรับส่งข้อมูล FTP ระหว่างอินเทอร์เน็ตกับมือถือ 2G ต้องมีความเร็วดาวน์โหลดไม่ต่ำกว่า 54 kbps อัพโหลดไม่ต่ำกว่า 20 kbps ถ้า 3G ดาวน์โหลดได้ไม่ต่ำกว่า 384 kbps อัพโหลด 192 kbps ดาวน์โหลดสำเร็จไม่ต่ำกว่า 80% ส่วนอัพโหลดต้องสำเร็จไม่น้อยกว่า 70%

ส่วนการดาวน์โหลดเว็บไซต์ผ่าน HTTP ต้องมีอัตราการดาวน์โหลดสำเร็จไม่น้อยกว่า 90% สำหรับ 3G และไม่น้อยกว่า 80% สำหรับ 2G

ขณะที่ระยะเวลาในการส่ง SMS ต้องถึงมือผู้รับใน 90 วินาที การส่งสำเร็จไม่น้อยกว่า 90% ส่วน MMS ต้องถึงผู้รับภายใน 5 นาที ส่งสำเร็จไม่น้อยกว่า 80% สำหรับบริการสตรีมมิ่งยังไม่กำหนด 

และกำหนดให้ผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองต้องตรวจวัดและเปิดเผยข้อมูลให้ผู้บริโภคทุก 3 เดือน รวมถึงรายงานข้อมูลให้ กสทช.ด้วย 

"ในอนาคตอาจปรับปรุงตัวชี้วัดให้เป็นแบบต่างประเทศ คือไม่กำหนดขั้นต่ำ 3G ที่ 384 kbps แต่กำหนดตามที่โฆษณา ต้องไม่น้อยกว่า 80-90% "

ขณะที่ตัวแทนผู้ให้บริการแสดงความเห็นว่า ควรมีการลงพื้นที่สำรวจจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นฐานกำหนดตัวชี้วัด และควรกำหนดพื้นที่ที่จะตรวจสอบและเปิดเผยเหตุผลในการเลือกพื้นที่เพราะคุณภาพบริการแต่ละพื้นที่แม้โซนเดียวกันก็ต่างกันได้ และควรแจ้งให้

โอเปอเรเตอร์ทราบก่อนประกาศเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ควรระบุแค่ "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" เกณฑ์ หากละเอียดอาจมีการนำไปเป็นเครื่องมือทางการตลาดได้

                                           http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1328242028&grpid=&catid=06&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น