วันที่ 12-14 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สสส. ร่วมกับ สำนักเครือข่ายประชาสังคม โต๊ะข่าวพลเมือง ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "นักข่าวพลเมือง" ที่จันทร์เกษมปาร์ค มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม กรุงเทพมหานคร มีนักสื่อสารแรงงานจากศูนย์แรงงานพื้นที่ต่างๆ เข้าร่วมการฝึกอบรม 19 คน
วิทยากรนักข่าวพลเมือง ประกอบด้วย
1. นายสมเกียรติ จันทร์สีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายประชาสังคม หัวหน้าโต๊ะข่าวพลเมือง ทีวีไทย
2. นายภูมิพัฒน์ บุญเลี้ยง โปรดิวเซอร์นักข่าวพลเมือง
3. คุณสุวัจนา ทิพย์พิพิจ เจ้าหน้าที่ประสานงาน นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย
4. คุณวราพร อัมภารัตน์ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านเทคนิค
5. นายสกล เจริญเวช เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านเทคนิค
6. น.ส.สุดารัตน์ ขจรวุฒิเดช นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย
7. น.ส.ไพฑูรย์ ธุรงพันธ์ ผู้ประสานงาน (ภาคอิสาน) สำนักสื่อสาธารณะ
เจ้าหน้าที่โครงการ ประกอบด้วย
1. นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการโครงการการพัฒนาสื่อฯ
2. น.ส.สุมาลี ลายลวด เจ้าหน้าที่การเงินโครงการฯ
3. น.ส.วาสนา ลำดี ผู้ประสานงานโครงการฯ
4. น.ส.ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ ที่ปรึกษาโครงการฯ
5. น.ส.เพ็ญจันทร์ เจริญสุทธิพันธ์ วิทยากร ที่ปรึกษาโครงการฯ
ผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย
1. ศูนย์ปทุมธานี นายธัญญา สายสิน
2. ศูนย์อยุธยา น.ส.พีระกานต์ มณีศรี นายอุดม ไกรยราช นายจำลอง ชะบำรุง
3. ศูนย์สระบุรี น.ส.นงนุช ไกรศาสตร์ นายเมืองมน สุตินะ
4. ศูนย์สมุทรสาคร-นครปฐม น.ส.อรัญญา ไชยมี นายมงคล ยางงาม
5. ศูนย์สมุทรปราการ นายวิสุทธิ์ เรื่องฤทธิ์ นายธีระวุฒิ เบญมาตย์ นายตฤบดี สุขวงศ์
6. ศูนย์ฉะเชิงเทรา-ปราจีนบุรี นายสมบูรณ์ เสนาสี นายพิทักษ์ บัวหิน
7. ศูนย์ระยอง-ชลบุรี นายสมหมาย ประไว นายมาโนช หอมจันทร์ น.ส.อัยลักษณ์ เหล็กสุข นายสราวุธ ขันอาสา นายพีรศักดิ์ สกุลเขียว นายสมศักดิ์ สุขยอด
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.30 น. เริ่มฝึกอบรม ทีมวิทยากรฉายสกู๊ป "นักข่าวพลเมือง" จากรายการโทรทัศน์ช่อง ทีวีไทย ให้รู้ความเป็นมาของโครงการนักข่าวพลเมือง ซึ่งขณะนี้มีเวลาให้ออกอากาศช่วงหลังข่าวค่ำตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ วันละ 3 นาที ซึ่งทาง ทีวีไทย กำลังพิจารณาเพิ่มเวลาออกอากาศ รวมทั้งเพิ่มรายการนอกเหนือจากข่าว เช่น สารคดีหรือรายงานพิเศษ ตามที่มีเสียงเรียกร้องมามาก โดยมีแนวคิดคือ ให้เจ้าของประเด็นเสนอเรื่องราวข่าวสารของตัวเอง เพราะในยุคสื่อสารไร้พรมแดนใครก็เป็นข่าวได้ ประชาชนสามารถจับกล้องทำข่าวในแบบจิตอาสา เพื่อใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มตนเองและสาธารณะ โดยใช้กล้องถ่ายภาพราคาไม่แพง ถ่ายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีการฉายงานข่าวของ "นักข่าวพลเมือง"หลายชิ้น เพื่อให้เห็นการผลิตข่าวจากนักข่าวพลเมืองซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาๆที่เกิดแรงบันดาลใจและเข้ารับการฝึกอบรมเป็นนักข่าวพลเมือง จนสามารถนำเสนอข่าวของชุมชนหรือกลุ่มก้อนของตนเองได้ในพื้นที่สื่อสาธารณะ
กิจกรรม : แนะนำตัว-สำรวจความคาดหวัง-ความกังวล-ชี้แจงกิจกรรมทั้ง 3วัน
กิจกรรมแนะนำตัว เป็นการผ่อนคลายอิริยาบถ โดยให้แต่ละคนก้าวเท้า 1 ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับบอกว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
สำรวจความคาดหวัง วิทยากรสรุปจากแบบสอบถามของของแต่ละคนที่เข้าร่วมอบรม ซึ่งความคาดหวังตามลำดับ คือ
1. ได้ความรู้และประสบการณ์
2. ได้ทักษะการเป็นนักข่าว การถ่ายภาพ และตัดต่อ วิดีโอ
3. มีพื้นที่เสนอข่าวของแรงงาน
4. ได้สะท้อนปัญหาในชุมชนและสังคมแรงงาน
5. ข่าวของแรงงานถูกนำเสนอต่อสาธารณะ
ความกังวล วิทยากรให้ทุกคนเขียนลงกระดาษได้ทุกเรื่อง ได้ทั้งมีและไม่มี หรือเขียนเพิ่มเติมความคาดหวัง ซึ่งความกังวลในการเข้าฝึกอบรมครั้งนี้ ซึ่งก็มีทั้ง ต้องขาดเรียน ถูกตำหนิที่ไม่ไปงานเลี้ยงบริษัท ห่วงลูก ห่วงเมียที่ท้องไม่มีคนนวดให้ ยังไม่ได้เซ็นเอกสารเงินกู้สหกรณ์ ส่งการบ้านบทความและแบบสอบถามไม่ดีพอ ล่าชื่อเสนอกฎหมายประกันสังคมไม่ทัน กลัวทำข่าวได้ไม่ดี ที่ลางานมาเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานหรือไม่ มีคนทำงานให้แรงงานน้อย อบรมแล้วไปทำงานหรือไม่ จะหาข่าวหาประเด็นโดนใจและมีประโยชน์ได้อย่างไร กลัวทำไม่ได้ดังใจหวัง ทำไม่ได้ตามเป้า
ทำได้ไม่ดี ทำให้เสียงาน กลุ่มส่งมา 6 คนเหลือแค่คนเดียว อยากให้ฝึกคนเพิ่ม
และก็มีที่เพิ่มเติมว่า มีแรงจูงใจจากลูกจ้างที่โดนเลิกจ้างแล้วไม่มีคนช่วย ซึ่งวิทยากรก็ได้จำแนกเป็น 4 แบบ คือ 1. เรื่องงาน 2. เรื่องครอบครัว 3. เรื่องการอบรม และ 4. งานหลังฝึกอบรม
แผนการฝึกอบรม ทีมวิทยากรได้แจ้งถึงแผนการฝึกอบรม คือ วันแรก ทำความเข้าใจคำว่า "นักข่าวพลเมือง" รวมทั้งการเล่าเรื่อง การสื่อสารให้โดนใจ วันที่สอง อบรมเรื่องเทคนิคต่างๆ ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์ กล้อง การถ่ายภาพ การตัดต่อ การเขียนบทเขียนสคริปต์ และฝึกปฏิบัติการผลิตข่าวทีวี และวันที่สาม ฉายงานของแต่ละกลุ่ม ให้สภาผู้ชม(ผู้เข้าร่วมอบรม)เสนอแนะ
กิจกรรม : ภาพเล่าเรื่อง พร้อมแลกเปลี่ยน-โดยทีมทีวีไทย "นักข่าวพลเมืองคือ??" "ทำไมต้องเป็นนักข่าวพลเมือง"
หาความหมาย "นักข่าวพลเมือง" การฝึกอบรมช่วงต่อมา ทีมวิทยากรให้ผู้เข้าฝึกอบรมแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ให้ทุกคนในกลุ่มหาสิ่งของใกล้ตัว หรือภาพวาดคนละ 1 ชิ้น แล้วให้ความหมายของ "นักข่าวพลเมือง" แล้วเลือก 1 ชิ้นนำเสนอ ซึ่งก็มีหลากหลายความหมายเช่น แว่นก็เหมือนข่าวที่จะต้องทำให้เกิดการรับรู้ชัดเจน ปากกาถ้าไม่เขียนก็สื่อสารไม่ได้
ต่อจากนั้นให้เอาของทุกคนมารวมกันเป็น 1 ภาพ แล้วหาความหมาย "นักข่าวพลเมือง" ซึ่งก็จะได้ความหมายรวมที่สมบูรณ์ขึ้น เช่นกลุ่มที่มี กล้อง ปากกา สมุดโน้ต โทรศัพท์มือถือ สื่อความหมายว่า เป็นนักเล่าเรื่องโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆที่มีอยู่ บันทึกและส่งกระจายข่าวสาร เป็นการทำงานสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
หลังจากนั้น ทีมวิทยากรได้สรุปความหมายของ "นักข่าวพลเมือง" ว่า
1. เป็นนักเล่าเรื่อง
2. เสนอเรื่องสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดการแก้ไข
3. ขยายประเด็นเล็กๆให้เป็นประเด็นใหญ่ เป็นประเด็นระดับชาติ
4. เป็นตัวสะท้อนเสียงของเราให้สังคมรับรู้
5. ทุกเรื่องราวรอบตัวเป็นประเด็นปัญหา
6. มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
เรียนรู้ "พลังของนักข่าวพลเมือง" โดยทีมทีวีไทย
นายสมเกียรติ จันทร์สีมา กล่าวว่า การเป็นนักข่าวพลเมืองไม่มีลิขสิทธิ์ ทุกภาคส่วนสามารถเล่าเรื่องราวของตัวเองและสื่อสารออกไปได้ ซึ่งก็มักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใช้เป็นตัวเชื่อมกับ
สังคมภายนอกให้เกิดการรับรู้ เกิดความเข้าใจอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาให้กับกลุ่มหรือชุมชนของตัวเองได้ วิธีการก็อาจใช้การเล่าเรื่องที่แตกต่างหลากหลาย ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องร้ายๆหรือเชิงเรียกร้องรุนแรงเท่านั้น แง่มุมดีๆที่จะทำให้คนเกิดความสนใจเห็นใจเข้าใจก็สามารถนำมาเล่าเรื่องเพื่อชักนำไปสู่การแก้ปัญหาได้เช่นกัน สำหรับในส่วนของภาคแรงงานครั้งนี้ถือเป็นครั้งบุกเบิกและก็คงไม่ใช่ครั้งแรก ทางทีวีไทยจะหาโอกาสจัดฝึกอบรมเพื่อขยายนักข่าวพลเมืองสายแรงงานอีกในอนาคต
ช่วงนี้มีการฉายวิดีโอ "นักข่าวพลเมือง" หลายเรื่อง เสร็จแล้วก็ให้ผู้เข้าฝึกอบรมแสดงความคิดเ
ห็น โดยนายสมเกียรติจะเป็นผู้
คอยสรุปเนื้อหาแนวคิด กระบวนการผลิตและการเผยแพร่ ซึ่งข่าวต่างๆประกอบด้วย
เรื่อง ปะกากะญอ ผลิตโดย เดเด นักศึกษาชาวกระเหรี่ยง ที่อยากให้สังคมได้รับรู้เข้าใจชาวกระเหรี่ยง มีวิธีเผยแพร่ไปสู่ชาวกระเหรี่ยงที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถรับชมทีวีโดยการหอบหิ้วโปรเจ็คเตอร์ไปฉายให้ดู ถือเป็นเรื่องของการเรียนรู้นอกจากได้เป็นข่าวเรื่อง ควายทะเล โดยครูฉิ้น แห่งชุมชนทะเลน้อย ใกล้ทะเลสาบสงขลา ที่เล่าเรื่องผ่านควายที่ต้องดำน้ำลงไปกินรากบัวเพราะพื้นที่หากินถูกน้ำท่วมอันเป็นผลกระทบมาจากการสร้างเขื่อน รวมทั้งปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่ง เป็นวิธีเสนอปัญหาเล็กๆที่คนไม่ค่อยได้รับรู้ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานรัฐต้องเข้าไปแก้ไข ใช้ปัญหาของควายมามาสร้างจุดสนใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน
เวลา 13.30 น. การวิเคราะห์ประเด็นและผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวจากงานของ"นักข่าวพลเมือง"
แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ประเด็นของตนเอง(ที่เตรียมมา) – นำเสนอการวิเคราะห์ประเด็นสู่การเล่าเรื่อง เริ่มฝึก "วิธีเล่าเรื่อง" โดยวิทยากรกล่าวว่า นักข่าวพลเมืองแค่สะท้อนเรื่องราวที่คนอาจมองไม่เห็น ไม่ต้องไปสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีหรือคนใหญ่คนโต แต่ใช้วิธีซักถามพูดคุย ใช้ภาพเล่าเรื่อง
การฝึกอบรมโดยให้แต่ละกลุ่มจากศูนย์ต่างๆ "คิด" เรื่องที่เขียนมา "ให้เป็นภาพ" โดยวาดออกมาให้เป็น 1 ภาพที่อธิบายได้ทั้งเรื่อง จากนั้นให้ช่วยกันทายว่าเป็นเรื่องอะไร ต้องการสื่ออะไร คนดูได้อะไร ซึ่งประเด็นต่างๆก็มีเรื่อง
ค่าจ้างไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ ความมั่นคงในการทำงาน การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ความเปลี่ยนแปลงจากชนบทสู่โรงงาน ซึ่งสรุปความคิดเห็นโดยรวมก็พบว่า เสนอแต่ประเด็นของแรงงานที่คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อ
นายสมเกียรติยกตัวอย่างเรื่องค่าแรงว่า น่าจะสื่อให้เห็นว่ากระทบกับใครบ้าง เคยมีสกู๊ปเรื่องค่าแรง ขั้นต่ำ นักข่าวใช้วิธีนำเสนอโดยไปตามดูว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง พอไหม ซึ่งกระบวนการสื่อสารต้องมอง 2 ส่วน คือ ผู้นำเสนอ ต้องคิดว่าทำกับใคร ต้องการเปลี่ยนอะไร และอีกส่วนคือ คนดู ต้องชัดว่าอยากให้คนดูรู้อะไร และอยากได้อะไรจากคนดู
สำหรับ "นักข่าวพลเมือง" งาน 1 ชิ้นอาจเปลี่ยนได้แค่จุดเดียว ใน 3 นาทีคงไม่ครอบคลุมปัญหาได้ทั้งหมด คงต้องลงลึกแค่ 1 ประเด็น คลี่ประเด็นให้เห็นรายละเอียด
ฝึกการ "เขียนสคริปต์ (Script)" โดยวิทยากรอธิบายว่า งานทีวี ภาพกับบทต้องสัมพันธ์กัน ซึ่งหลักหรือไวยากรณ์ของการเขียนบท ก็มี 4 ขั้นตอน ดังตัวอย่าง
ภาพ เสียง
1. เกิดอะไรขึ้น
2. เกิดขึ้นได้อย่างไร
3. ขยายความ
4. ขมวดปม สรุปทางออก
โดยต้องคำนึงถึงว่า
• คนดูจะรู้สึก และเข้าใจสิ่งที่เสนอไหม
• จะใช้ภาพอะไร ซึ่งบางช่วงก็ต้องสัมภาษณ์
• จุดสำคัญที่ต้องการบอกคืออะไร
• ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
หลังจากนั้น ทุกกลุ่มได้ลองฝึกเขียน Script เรื่องที่เตรียมมา จากนั้นก็เป็นการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม แลกเปลี่ยนเสนอแนะ โดยสรุปคือ ต้องมีการเพิ่มเติมเรื่องข้อมูล ลดประเด็น ต้องพูดกับทั้งสังคมไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม หาจุดเชื่อมโยงกับสังคม นำเสนอด้านที่ดีของแรงงาน เรื่องคุณภาพชีวิต พูดถึงเรื่องคุณค่ามากขึ้นกว่ามูลค่า
ทีมวิทยากรสรุปว่า สื่อ เป็นเรื่องของการชิงกำหนดวาทกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไรจะให้สังคมเข้าใจสิ่งที่เราเข้าใจและอยากสื่อสาร และถึงแม้จะมีวาทกรรมเดิมครอบอยู่ แต่ก็สามารถสร้างวาทกรรมใหม่เพื่อสร้างความเข้าใจและความเปลี่ยนแปลงได้ เสร็จสิ้นการฝึกอบรมวันแรกเวลา 21.30 น.
วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00 น. เรียนรู้การใช้ภาพ – เรียนรู้เรื่องภาพ ฝึกการถ่ายภาพ โดย นายสกล เจริญเวช และ นายภูมิพัฒน์ บุญเลี้ยง
วิทยากรได้อธิบายว่า การถ่ายภาพก็มีไวยากรณ์ การถ่ายภาพหากถ่ายไปนานๆก็จะมีลูกเล่น ส่วนกล้อง ทุกตัวก็จะมี
พื้นฐานที่ถ่ายได้เหมือนกัน ต่างกันที่ Option คือความสามารถในการปรับค่าต่างๆให้ใช้งานได้กว้างขึ้น มีคุณภาพมากกว่า
วิทยากรสาธิตการใช้กล้องจริงโดยฉายขึ้นจอใหดู พร้อมอธิบายว่า การถ่ายภาพต้องรู้เรื่อง "ขนาด" ซึ่งประกอบด้วย กว้าง กลาง แคบ และย่อยไปอีกเป็นการ โคลสอัพ (CU) ที่เห็นราย
ละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละขนาดภาพสามารถบรรยายความหมายที่แตกต่างกัน การถ่ายก็จะมีการถ่าย "แตก Shot" คือมีทั้งขนาด กว้าง กลาง แคบ และ CU แล้วค่อยนำไปตัดต่อซึ่งไม่นิยมนำภาพขนาดเดียวกันมาต่อกัน(Jump Shot) อาจเป็น กว้าง-แคบ-กลาง-แคบ-กลาง-กว้าง การเคลื่อนกล้องก็มีหลายแบบ ถ่ายแช่ จะไม่เคลื่อนกล้อง แต่ละ shot จะยาวเท่าใดขึ้นอยู่กับภาพที่ถ่ายแต่ด้องไม่น้อยเกินไปเช่น 2-3วินาที อาจเป็น 8-10 วินาที หากเป็นภาพที่อยู่นิ่งๆ ถ้าเป็นภาพที่มีการเคลื่อนที่เช่นรถวิ่ง คนเดินผ่านหรือหยิบยกอะไร ต้องให้ผ่านพ้นจบสิ้นไปก่อน การแพน ( Pan ) เคลื่อนจากด้านซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย เร็วช้าอยู่ที่อารมณ์ความรู้สึก ที่สำคัญต้องซ้อมก่อนว่าจากจุดใหนถึงใหน การทิ้ว ( Tilt ) ถ่ายกดลง หรือเงยขึ้น เห็นมิติความสูงต่ำ องค์ประกอบภาพ บน ล่าง ซ้าย ขวา ก็มีผลต่อการทำให้ภาพดูดีขึ้น เช่นภาพคนหน้าอ้วนบวม ก็ช่วยให้ดูดีขึ้นโดยถ่ายให้มีที่ว่าง( Space)ด้านข้างมีข้อควรคำนึงต่างๆ เช่น หากไม่มีขาตั้ง ควรใช้มุมกว้าง หลีกเลี่ยงการซูม(Zoom) จับกล้องให้มั่นคงแขนอยู่ใกล้ลำตัว ถ่ายย้อนแสง ใช้ Mode Auto จะเกิดการเฉลี่ยแสงทำให้ภา
พมืด อาจใช้ Mode Manaul แล้วปรับรูรับแสง(ค่า F stop)ให้กว้างขึ้น หรือลดความเร็วชัตเตอร์(Shutter Speed) จะได้ภาพที่ต้องการสว่างขึ้น แต่ส่วนอื่นจะสว่างจ้ามากขึ้นด้วย การถ่ายกลางคืน มีข้อจำกัดมาก ถ้าใช้ Mode Auto จะเฉลี่ยแสงทำให้กำหนดตำแหน่งที่ชัด( Focus) ไม่ได้แม่นยำ แต่หากใช้ Mode Manual จะทำให้กำหนดตำแหน่ง Focus ได้ง่ายถ้ากดบันทึกภาพ (Record) แล้ว ต้องหยุดพูด หยุดทำเสียงดัง เพราะจะมีเสียงแทรกทำให้ใช้เสียงจากเหตุการณ์จริงไม่ได้ การถ่ายภาพข่าว หรือการชุมนุม ต้องถ่ายสิ่งที่จะสิ้นสุดก่อนสิ่งอื่น เพราะจะถ่ายซ้ำอีกไม่ได้ เช่น คนพูด คนผลักปะทะกัน พวกป้ายชื่อสถานที่ถ่ายทีหลัง การสัมภาษณ์ ไม่ควรมีการเตรียมเรื่องให้พูด อาจให้แนวได้ เพื่อให้ได้อารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริง แต่ก็ต้องระวังเรื่องคำหยาบคาย คำพูดรุนแรงสามารถทำให้นุ่มนวลขึ้น (Soft) โดยใช้ภาพ หรือการเขียนบท
เวลา 13.00 น. การใช้โปรแกรมตัดต่อภาพอย่างง่าย ฝึกการตัดต่อ วิดีโอ โดย นายสกล และ นายภูมิพัฒน์ พร้อมทีมงาน โปรมแกรมสำหรับตัดต่อ วิดีโอ ที่ทีมฝึกอบรมนำมาให้ใช้คือ Video Studio Pro X2 ( Ulead 12 ) เริ่มจากสอนการติดตั้งโปรแกรม จากนั้นเป็นวิธีการใช้งานในการตัดต่อตามลำดับ
การตัด Clip มี 3 วิธีคือ การยืด-หด การใช้กรรไกร และการใช้ Mark In – Mark Out
การตัดต่องานข่าว ให้เป็นแบบต่อชน คือไม่ใช้เทคนิคพิเศษ (Effet) หรือการเปลี่ยนฉาก ( Transition) และไม่ต้องมีดนตรีประกอบ
การเอางานออกเป็นวิดีโอ ให้เป็นไฟล์ .mpg1 ซึ่งมีขนาดกลางๆไม่เล็กไม่ใหญ่ ส่งงานให้ทีวีไทยง่าย
นายภูมิพัฒน์ กล่าวสรุปว่า การฝึกอบรมเป็นนักข่าวพลเมือง ไม่จำเป็นต้องให้เกิดความชำนาญในช่วงการฝึกอบรม
แต่เป็นการปูพื้นให้ไปฝึกฝนต่อ ซึ่งทางลัดสู่การกุมหัวใจของคนดูงานนักข่าวพลเมือง คือ
1. ตีโจทย์ให้แตกว่าจะสื่อสารอะไร อะไรคือหัวใจของเรื่อง
2. คิดให้เป็นภาพ โดยวางแผนว่าจะเล่าเรื่องอะไร
3. สร้างให้เกิดอารมณ์และสำนึกร่วม
4. ใช้ชั้นเชิงในการเล่าเรื่องอย่างน่าสนใจ
5. อธิบายเรื่องใหญ่ๆให้ได้ด้วยสิ่งเล็กๆ
6. อุปมาอุปไมยได้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสาร
7. ใช้อัตลักษณ์ ลีลา จังหวะ ภาษา ที่เฉพาะตัว
จากนั้นผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติตัดต่อ วิดีโอ ทำข่าว "นักข่าวพลเมือง" เป็นกลุ่ม ทั้งหมด 8 กลุ่ม การฝึกปฏิบัติหลายคนใช้เวลาจนถึงตี 2 และตี 4 ขณะที่บางคนต้องทำต่อตอนเช้า โดยนอกจากมีปัญหาเรื่องการใช้โปรแกรมซึ่งยังไม่คุ้นเคยแล้ว
ยังมีปัญหาเรื่องภาพที่เตรียมมาไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับบทบรรยาย หลายกลุ่มเตรียมภาพมาน้อยมาก จนต้องมีการขอภาพจากทีมเจ้าหน้าที่โครงการฯซึ่งมีภาพสำหรับใช้ฝึกการตัดต่อ วิดีโอ เตรียมไว้ตลอด รวมทั้งเกิดปัญหาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook มีสมรรถนะไม่พอสำหรับงานตัดต่อ
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00 น. ฉายผลงานฝึกปฏิบัติ – ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิจารณ์มุมมอง
เริ่มการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม โดยวิทยากรให้ช่วยกันดูในเรื่องของภาพ และเนื้อหา ซึ่งทางทีวีไทยเน้นส่วนนี้เป็นพิเศษ
• ศูนย์ปทุมธานี เรื่อง ปัญหา
และชีวิตทำงานในเมือง
• ศูนย์อยุธยา เรื่อง แรงงานน้ำท่วมอยุธยา
• ศูนย์สระบุรี เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน
• ศูนย์สมุทรสาคร-นครปฐม เรื่อง ค่าจ้างที่เป็นธรรม
• ศูนย์สมุทรปราการ เรื่อง แรงงานขาดแคลนจริงหรือ
• ศูนย์ฉะเชิงเทรา-ปราจีนบุรี เรื่อง ความมั่นคงในการทำงาน
• ศูนย์ระยอง-ชลบุรี เรื่อง ค่าแรงต่ำ ๆ และ อุบัติเหตุจากการทำงาน
งานที่ผลิตออกมาโดยรวมยังมีข้อบกพร่องต่างๆเช่น บทยังไม่สมบูรณ์ ห้วนๆไม่มีท่อนนำท่อนสรุป ประเด็นไม่ชัด ถ่ายภาพมาไม่ดี ไม่เพียงพอ เสียงสัมภาษณ์ไม่ชัด เสียงพากษืดังไม่สม่ำเสมอ ภาพขัดแย้งกับบท มีภาพซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะของแรงงานและสังคมมองเป็นลบเช่น การเดินขบวน ภาพการทำงานในการผลิตก็อาจมีปัญหาเรื่องเปิดเผยความลับของบริษัท ฯลฯ
ส่วนที่ดีและเป็นที่สนใจของทางทีมวิทยากรก็มี เช่น เรื่องน้ำท่วมเกิดผลกระทบกับคนงาน เรื่องค่าจ้างไม่เป็นธรรมที่ใช้เด็กๆเป็นตัวเดินเรื่อง เรื่องความปลอดภัยที่มีมุมเสนอด้านบวกเรื่องความร่วมมือของลูกจ้างและนายจ้าง โดยให้ไปปรับบทและถ่ายภาพเพิ่มเติม แล้วรีบส่งให้ทางทีมงานนักข่าวพลเมืองช่วยปรับแก้อาจมีเรื่องที่ได้ออกอากาศเร็ว
สรุปการเรียนรู้และประเมินความคาดหวัง
การส่งข่าวผ่านอินเตอร์เน็ตและสื่อสาธารณะต่างๆ
นายภูมิพัฒน์ ได้สรุปตอนท้ายว่า ทุกคนสามารถนำทักษะที่ได้จากการฝึกเขียนข่าวก่อนหน้านี้มาปรับใช้กับงานทีวีได้ ที่สำคัญต้องฝึกฝนบ่อยๆ ทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่าย อย่าท้อแท้รำคาญหากถูกให้ปรับแก้งานบ่อยๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานออกมาดี
ก่อนจบการฝึกอบรม ทางทีมฝึกอบรมนักข่าวพลเมือง ทีวีไทย ได้ให้สถานที่ติดต่อและชื่อผู้ประสานงาน รวมทั้งแนะนำวิธีการส่งงานข่าว "นักข่าวพลเมือง" ให้กับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทุกคน
เวลา 13.00น.ปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "นักข่าวพลเมือง"
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อฯ รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น