โดย อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล
|
ไม่น่าเชื่อว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" จะเคยหายไปจากประเทศไทยกว่า 200 ปี!
เพื่อค้นหาความลับของเรื่องราวดังกล่าว ในงานนิทรรศการศิลปะฉลองปีพุทธชยันตี "ต้นธารแห่งความสุข" ที่หอศิลปแห่งชาติ (หอศิลป์เจ้าฟ้า) จึงจัดเสวนา "ตามรอยวิปัสสนากัมมัฏฐานจากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ" ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เรื่องวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มณเธียร ธนานาถ อดีตอุปนายก ยุวพุทธิกสมาคมฯ บอกว่า วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้ง (วิ แปลว่า รู้ ปัสสนา แปลว่า แจ้ง) อีกนัยหนึ่งคือหนทางที่พัฒนาสู่ปัญญา ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นรูปแบบ เช่น การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรม แต่ความจริงแล้ววิปัสสนาธุระ หรือวิปัสสนากรรมฐาน คือหนทางแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส และการพัฒนาปัญญา ซึ่งศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาไม่ให้เชื่อโดยงมงาย
มณเธียรเล่าว่า จากการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา เมื่อ พ.ศ.235 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้มีการส่งพระธรรมทูต 9 สาย ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีสายหนึ่งเดินทางมาที่สุวรรณภูมิ คาดเดากันว่าเป็นพื้นที่ประเทศไทยและพม่า นั่นคือครั้งแรกที่วิปัสสนากรรมฐานเข้ามาในประเทศไทย
"ส่วนเรื่องวิปัสสนาหายไปนั้น ไม่ได้มีหลักฐานที่ค้นคว้าไว้ แต่มีหลักฐานที่เป็นการบอกเล่ากันมาว่าเริ่มจางหายตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะสมัยนั้นมีความเชื่อเรื่องการปฏิบัติที่เป็นความเชื่อทางฮินดูมากกว่า ทำให้ความสำคัญของวิปัสสนาลดน้อยลง จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้นมา และมีดำริให้มีการสืบต่อการปฏิบัติธรรมสายคันธุระและวิปัสสนาธุระ แต่ในประเทศไทยไม่ปรากฏว่ามีพระสายวิปัสสนาธุระเลย จึงต้องระงับเรื่องวิปัสสนานี้ไป เพราะหาบุคคลากรไม่ได้ เมื่อสืบเสาะลึกลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงพบว่าวิปัสสนากรรมฐานได้หายไปจากประเทศไทยราว 200 ปี" มณเธียรบอก ภาพวาดจากดิน ภาพพระอาจารย์ชัชวาล ชินสโภ ของ สมภพ บุตราช (ซ้าย)
|
ด้าน นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น