เวทีชาวนาโลก อธิปไตยทางอาหาร
ธิติ มีแต้ม
กระทั่งในปีค.ศ.1992 ตรงกับ พ.ศ.2535 จึงกลาย เป็นขบวนการชาว นาชาวไร่ที่ใหญ่ ที่สุดในโลก มีสมาชิกกว่า 200 ล้านคน จาก 150 องค์กร ในทั้งหมด 70 ประเทศ ในนาม "ลา เวีย คัมเปซินา" (La Via Campesina)
ลา เวีย คัมเปซินา เป็นภาษาสเปน หมายถึง หนทางของชาวนา ดังนั้นอะไรก็ตามที่ส่อว่าจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อพวกเขา ก็จะพบกับสมาชิกของลา เวีย คัมเปซินา ชุมนุมตามท้องถนนเรียกร้องสิทธิและปัญหาที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าข้อถกเถียงระหว่างนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง ต่อนโยบายประชานิยมของรัฐบาลในการช่วยเหลือชาวนาและเกษตรกรจะลงเอยอย่างไร แต่ประสบ การณ์และบทเรียนของพวกเขา ในการดิ้นรนหาที่อยู่ที่ยืนเพื่อศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพก็น่าใคร่ครวญรับฟัง
ดังประโยคหนึ่งในคำประกาศของ ลา เวีย คัมเปซินา หลังการประชุมสากลว่าด้วยเกษตรนิเวศ เมล็ดพันธุ์ และอธิปไตยทางอาหาร ที่มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศ จ.สุรินทร์ เมื่อต้นเดือนพ.ย. ที่ผ่านมาว่า "ความอยู่รอดของชาวนาชาวไร่รายย่อยคือการอยู่รอดของสังคม"
โดยครั้งนี้ "สมัชชาคนจน" องค์กรภาคประชาชนไทย หนึ่งในสมาชิกของ ลา เวีย คัม เปซินา ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับตัวแทนชาวนาชาวไร่จากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกกว่า 70 คน ใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกันหนึ่งสัปดาห์เต็ม
ต่อจากนั้นร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และบทเรียนในการเผชิญปัญหาของชาวนาแต่ละภูมิภาคในโลกให้รับรู้ทั่วกัน
1.สมาชิกชาวนาโลก ร่วมประชุมที่ประเทศไทย 2.เยี่ยมชมสวนของเกษตรกรไทย 3.ลงพื้นที่ จ.สุรินทร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวนาไทย 4.บายศรีสู่ขวัญต้อนรับชาวนาต่างชาติ |
เบลน สนิปสเตล ชาวนาหนุ่มจากแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บอกว่าเป็นส่วนหนึ่งของคนรุ่นหวนคืนสู่อาชีพชาวนาอีกครั้ง เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากชาวนาคนหนึ่ง ที่เคยถามว่าจะมีชีวิตอยู่ให้เป็นประโยชน์กับแผ่นดินอย่างไร
"ผมกำลังมองหาผืนดินที่จะทำไร่เล็กๆ ของตัวเอง ซึ่งยากเย็นมากในอเมริกา เนื่องจากอุตสาหกรรมการเกษตรครอบครองที่ดินไปเกือบหมดแล้ว และสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่พยายามพึ่งตัวเองให้อยู่รอด ต้องเดินทางไกลถึง 25 ไมล์ (40 ก.ม.) เพื่อเอาผลผลิตไปส่งที่ตลาด ซึ่งภารกิจทั้งหมดของคนเชื้อสายแอฟริกันผสมชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันอย่าง ผม ไม่ใช่แค่ปลูกพืชผลิตอาหาร แต่ยังต้องปลูกความยุติธรรม และศักดิ์ศรีของมนุษย์อีกด้วย" เบลน ตัวแทนฝ่ายเยาวชนของ ลา เวีย คัมเปซินากล่าว
ส่วน อลิซาเบธ เอ็มโปฟู ชาวนาจากซิมบับเว ร่วมบอกว่าประเทศของตนปลูกข้าวโพดมากที่สุด แต่เมื่อสภาพภูมิอากาศผิดเพี้ยน อย่างรุนแรงทำให้เริ่มกลายพันธุ์ ทั้งยังถูกผสม จากเมล็ดพันธุ์อื่นที่นำเข้ามาจากแซมเบียบอสวานา และ แอฟริกาใต้ เราจึงพยายามรักษาเมล็ดพันธุ์ธัญพืชที่บริสุทธิ์ไว้ โชคดีที่ประธานาธิบดีของเราไม่ได้เห็นชอบกับจีเอ็มโอ หรือพืชตัดต่อทางพันธุกรรมมากนัก
"หลังปี 1980 สิ่งที่พวกเราชาวเกษตรกรพยายามผลักดันจนเกิดเป็นกฎหมายที่ดิน คือ หากนักลงทุนต่างชาติต้องการลงทุนด้านการเกษตร พวกเขาต้องลงมาเจรจากับชาวพื้นเมืองเอง ซึ่งกฎหมายระบุว่า คนพื้นเมืองต้องถือครองหุ้นไม่น้อยกว่า 55 เปอร์เซ็นต์" เอ็มโปฟูกล่าว
เอ็มโปฟู ยังบอกด้วยว่า ที่ซิมบับเวมีธัญพืชชื่อ "อาราพ็อกโค" เอาไปต้มกับข้าวโพดจนข้นคล้ายโจ๊ก โดยไม่ต้องใช้หัวผักกาดช่วยก็มีรสหวานในตัวมันเอง ผู้ป่วยโรคเอดส์มักกินเป็นอาหารและยา สามารถช่วยในเรื่องภูมิต้านทานได้
1.อาราพ็อกโค ธัญพืชจากซิมบับเว 2.ตากข้าวหลังเก็บเกี่ยว 4.ผลผลิตท้องถิ่น 5.อลิซาเบธ เอ็มโปฟู 6.เดโบลา ลาโอ คาลาน่า 7.เฮนนี่ ฟาน จีลล์ 8.เบลน สนิปสเตล 9.อุทัย สะอาดชอบ |
ขณะที่ เฮนนี่ ฟาน จีลล์ ตัวแทนชาวนาจากสหภาพยุโรป ฉายภาพเกี่ยวกับการเกษตรนิเวศว่า แม้สหภาพยุโรปจะให้ความสำคัญ กับการผลิตเกษตรเชิงนิเวศมาก แต่ที่ผ่าน มาเกษตรกรรายย่อยก็ไม่ได้รับความเหลียว แล เงินอุดหนุนส่วนใหญ่ถูกทุ่มไปที่ภาคอุตสาหกรรม
ชาวนาชาวไร่บนภูเขาในพื้นที่ยุโรปตะวันออกกำลังถูกลืมจากกระแสการพัฒนา ความตั้งใจในการปฏิรูปถูกท้าทายจากกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังนโยบายด้านการเกษตร โดยมีองค์การการค้าโลก เป็นฉากหน้า
"ภายในปี 2013 เราต้องสร้างแรงกดดันกับรัฐสภาของสหภาพยุโรปให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคในชนบทต้องได้รับการพัฒนา ไปจนถึงความเท่าเทียมในการได้รับการสนับสนุนด้านสุขภาพ และการรับรู้ถึงตัวตนของพวกเขา" ตัวแทนชาวนาจากสหภาพยุโรปกล่าว
เช่นเดียวกันกับ เดโบลา ลาโอ คาลาน่า ตัวแทนเขตหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน ร่วมเล่าเรื่องในคิวบาให้ฟังว่า หลังการปฏิวัติในปีค.ศ.1959 เรามีขบวนการเกษตรทางเลือกมากขึ้น มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปที่ดิน ชาวคิวบา 11 ล้านคนเข้าถึงที่ดินทำกิน
แต่หลังปี 1989 เป็นต้นมา รัฐบาลสังคม นิยมเริ่มล้มเหลวทางนโยบายด้านการเกษตร เทคโนโลยีการผลิตต้องนำเข้าจากยุโรป เมื่อถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา เราจึงเริ่มมองหาทรัพยากรที่เรามี ตรงไหนมีที่ดินว่าง ไม่ว่าจะชนบทหรือในเมือง ก็จะเข้าไปเพาะปลูก ทั้งมันฝรั่ง ถั่ว และธัญพืช
"เกษตรนิเวศสำหรับเราไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็น เวลานี้เราเริ่มผลักดันให้คนหนุ่มสาวระดับอุดมศึกษากลับไปเรียนรู้กับลูกหลานของเกษตรกร มีคำพูดหนึ่งของชาวคิวบาบอกว่า เมื่อเดินหน้าแล้ว จะถอยหลังไม่ได้ แม้จะรู้ว่าหนทางจะยาวไกลก็ตาม" เดโบลากล่าว
ในคำประกาศตอนหนึ่งของลา เวีย คัมเป ซินา หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่ จ.สุรินทร์ ระบุว่า "จากประสบการณ์การปฏิบัติการ และการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่า เกษตรนิเวศคือส่วนประกอบในเชิงยุทธศาสตร์ของการสร้างอธิปไตยทางอาหารและอธิปไตยของประชาชน
เรารู้ว่าเกษตรนิเวศคือแก่นของคำตอบระดับโลกต่อปัญหาที่ท้าทาย และวิกฤตหลักๆ ที่พวกเราในฐานะมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ เราจะเปลี่ยนแปลงตัวแบบการผลิตอาหารที่ทรงอำนาจ ฟื้นฟูการทำงานให้เกิดความสัมพันธ์ที่ประสานสอดคล้องกับธรรมชาติและสังคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อเลี้ยงดูประชาชน"
เมื่อหันกลับมามองทางฝั่งชาวนาไทย "อุทัย สะอาดชอบ" ชาวนาจากบ้านโคก อีโด่ย จ.สระแก้ว ตัว แทนสมัชชาคนจน ที่กล่าวต่อที่ประชุม ลา เวีย คัมเปซินาว่า "ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไม่ใช่อาชญากรที่จะถูกลงโทษจากสังคม"
อุทัยบอกว่าสมัชชาคนจนเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ด้วยการเอาปัญหาที่ชาวนาและเกษตรกรเผชิญร่วมกันเป็นหลัก ทั้งเรื่องที่ดิน ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล และสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน เราไม่ได้เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ไม่อย่างนั้นจะเป็นการต่อสู้แบบคนละทิศละทาง พวกเราถูกมองจากสายตาคนเมืองต่างๆ นานาว่าทำให้รถติดบ้าง เป็นม็อบรับจ้างบ้าง แต่ไม่เป็นไร การชุมนุมเป็นหนทางเดียวที่รัฐบาลจะได้ยินเสียงพวกเรา
ตลอดเวลา 20 ปี ลาเวียคัมเปซินาได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งเพื่อ การปฏิรูปที่ดิน ใคร่ครวญเรื่องการปฏิบัติให้สอดคล้องกับการต่อสู้ท่าม กลางสังคมสมัยใหม่ และประกาศว่า การทำไร่นาแบบเกษตรนิเวศจะเลี้ยงดูประ ชาชน ถึงเวลาแล้วที่จะทำการผลิต
พร้อมทั้งตั้งคำ ถามว่า ระบบอาหารที่ต้องการจริงๆ มี หน้าตาเป็นอย่างไร ถึงเวลาแล้วหรือยังที่พวกเราจะเป็นผู้กำหนดคุณภาพอาหารและกลไกตลาด อันจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตทั้งคนรุ่นปัจจุบันและถัดจากนี้ไป
เพราะอธิปไตยทางอาหาร เป็นอนาคตสำหรับผู้บริโภคด้วยเช่นกัน
หน้า 21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น