วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์

ความมุ่งหมายของพุทธศาสนานั้น มักจะถูกคนส่วนมากเข้าใจไปเสียว่า มุ่งหมายจะนำคนไปเมืองสวรรค์ จึงได้มีการสอนกันเป็นอย่างมาก ว่า สวรรค์เป็นแดนที่คนควรไปให้ถึง สวรรค์เป็นแดนแห่งความสุขที่สุด เลยมีการชักชวนกัน ให้ปรารถนาสวรรค์ ปรารถนากามารมณ์ อันวิเศษในชาติหน้า  คนทั้งหลายที่ไม่รู้ความจริง ก็หลงใหลสวรรค์ มุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์ ซึ่งเป็นแดนที่ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ ตามปรารถนา เป็นเมืองที่ตนจะหาความสำราญ ได้อย่างสุดเหวี่ยง แบบสวรรค์นิรันดร ของศาสนาอื่นๆ ที่เขาใช้สวรรค์ เป็นเครื่องล่อ ให้คนทำความดี   คนจึงไม่สนใจ ที่จะดับทุกข์ กันที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ตามความมุ่งหมาย อันแท้จริง ของพุทธศาสนา   นี่คือ อุปสรรค อันสำคัญ และเป็นข้อแรกที่สุด ที่ทำให้ คนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะไปมุ่งเอา ตัณหาอุปาทาน กันเสียหมด  ฉะนั้น เราควรจะต้องสั่งสอนกันเสียใหม่ และพุทธบริษัท ควรจะเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า สวรรค์ดังที่กล่าวว่า เป็นเมืองที่จะต้องไปให้ถึงนั้น เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน คือ การกล่าว สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็น รูปธรรม หรือเป็นวัตถุขึ้นมา   การกล่าวเช่นนั้น เป็นการกล่าวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อในเบื้องต้น ที่เหมาะสำหรับ บุคคลไม่ฉลาดทั่วไป ที่ยังไม่มีสติปัญญามากพอ ที่จะเข้าใจถึงความหมาย อันแท้จริงของพุทธศาสนาได้  แม้คำว่า "นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์ ก็ยังกลายเป็นเมืองแก้ว หรือ นครแห่งความไม่ตาย มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ เทียนไท้ หรือ สุขาวดี ของพวกอาซิ้มตามโรงเจทั่วไป   สุขาวดี นั้น ตามความหมายอันแท้จริง ก็มิได้หมายความดังที่พวกอาซิ้มเข้าใจ เช่นเดียวกัน แต่มีความหมายถึง นิพพาน คือ ความว่างจากกิเลส สว่างจากทุกข์ มิได้หมายถึง บ้านเมืองอันสวยงาม ทางทิศตะวันตก ซึ่งมีพระพุทธเจ้า ชื่อ อมิตาภะ ประทับอยู่เป็นประธาน ที่ใครๆ ไปอยู่ที่นั่น แล้วก็ได้รับความพอใจทุกอย่าง ตามที่ตนหวัง เพราะว่าแวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงาม และรื่นรมย์ที่สุด ที่มนุษย์ หรือ เทวดา จะมีได้ นี่เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน ทั้งสิ้น...  ฉะนั้น เมื่อถามว่า พุทธศาสนา มีความมุ่งหมายอย่างไร ก็ควรจะตอบว่า มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน ของคนทุกคนในโลกนี้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยไม่มีความทุกข์เลย   ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ หรือพูดโดยอุปมาก็ว่า อยู่ในโลกโดยไม่ถูกก้างของโลก หรือ อยู่ในโลก ท่ามกลางเตาหลอมเหล็กอันใหญ่ ที่กำลังลุกโชนอยู่ แต่กลับมีความรู้สึกเยือกเย็นที่สุดดังนี้   พุทธทาสภิกขุ  ภาพโดย วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร
ความมุ่งหมายของพุทธศาสนานั้น มักจะถูกคนส่วนมากเข้าใจไปเสียว่า มุ่งหมายจะนำคนไปเมืองสวรรค์ จึงได้มีการสอนกันเป็นอย่างมาก ว่า สวรรค์เป็นแดนที่คนควรไปให้ถึง สวรรค์
เป็นแดนแห่งความสุขที่สุด เลยมีการชักชวนกัน ให้ปรารถนาสวรรค์ ปรารถนากามารมณ์ อันวิเศษในชาติหน้า

คนทั้งหลายที่ไม่รู้ความจริง ก็หลงใหลสวรรค์ มุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์ ซึ่งเป็นแดนที่ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ ตามปรารถนา เป็นเมืองที่ตนจะหาความสำราญ ได้อย่างสุดเหวี่ยง แบบสวรรค์นิรันดร ของศาสนาอื่นๆ ที่เขาใช้สวรรค์ เป็นเครื่องล่อ ให้คนทำความดี 

คนจึงไม่สนใจ ที่จะดับทุกข์ กันที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ตามความมุ่งหมาย อันแท้จริง ของพุทธศาสนา 

นี่คือ อุปสรรค อันสำคัญ และเป็นข้อแรกที่สุด ที่ทำให้ คนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะไปมุ่งเอา ตัณหาอุปาทาน กันเสียหมด

ฉะนั้น เราควรจะต้องสั่งสอนกันเสียใหม่ และพุทธบริษัท ควรจะเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า สวรรค์ดังที่กล่าวว่า เป็นเมืองที่จะต้องไปให้ถึงนั้น เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน คือ การกล่าว สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็น รูปธรรม หรือเป็นวัตถุขึ้นมา 

การกล่าวเช่นนั้น เป็นการกล่าวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อในเบื้องต้น ที่เหมาะสำหรับ บุคคลไม่ฉลาดทั่วไป ที่ยังไม่มีสติปัญญามากพอ ที่จะเข้าใจถึงความหมาย อันแท้จริงของพุทธศาสนาได้

แม้คำว่า "นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์ ก็ยังกลายเป็นเมืองแก้ว หรือ นครแห่งความไม่ตาย มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ เทียนไท้ หรือ สุขาวดี ของพวกอาซิ้มตามโรงเจทั่วไป 

สุขาวดี นั้น ตามความหมายอันแท้จริง ก็มิได้หมายความดังที่พวกอาซิ้มเข้าใจ เช่นเดียวกัน แต่มีความหมายถึง นิพพาน คือ ความว่างจากกิเลส สว่างจากทุกข์ มิได้หมายถึง บ้านเมืองอันสวยงาม ทางทิศตะวันตก ซึ่งมีพระพุทธเจ้า ชื่อ อมิตาภะ ประทับอยู่เป็นประธาน ที่ใครๆ ไปอยู่ที่นั่น แล้วก็ได้รับความพอใจทุกอย่าง ตามที่ตนหวัง เพราะว่าแวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงาม และรื่นรมย์ที่สุด ที่มนุษย์ หรือ เทวดา จะมีได้ นี่เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน ทั้งสิ้น...

ฉะนั้น เมื่อถามว่า พุทธศาสนา มีความมุ่งหมายอย่างไร ก็ควรจะตอบว่า มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน ของคนทุกคนในโลกนี้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยไม่มีความทุกข์เลย 

ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ หรือพูดโดยอุปมาก็ว่า อยู่ในโลกโดยไม่ถูกก้างของโลก หรือ อยู่ในโลก ท่ามกลางเตาหลอมเหล็กอันใหญ่ ที่กำลังลุกโชนอยู่ แต่กลับมีความรู้สึกเยือกเย็นที่สุดดังนี้ 

พุทธทาสภิกขุ

ภาพโดย วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น