วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"หนูน้อยเมเดไลน์ (Madeline)" เด็กหญิงตัวเล็กที่สุด

"หนูน้อยเมเดไลน์ (Madeline)" เด็กหญิงตัวเล็กที่สุด แต่กล้าหาญที่สุดในกลุ่มเด็กหญิง 12 คน เธอกล้าไปยืนหน้ากรงเสือแล้วร้อง "เมี้ยว เมี้ยว" หนูน้อยเมเดไลน์ ต้นแบบที่ดีของเด็กขี้กลัวทั่วโลก เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมตลอด 70 ปี ของ ลุดวิก เบเมลแมนส์ (ภาพรอยสัก ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้)

"การที่เรารับแปลเพราะเราเห็นถึงสิ่งสำคัญของการอ่าน การอ่านเป็นสิ่งที่เราต้องปลูกฝังตั้งแต่เ
ด็ก คืออาหารสมอง และอาหารใจที่เด็กไทยควรได้รับ เพื่อสร้างจินตนาการที่ล้ำเลิศ บูรณาการทางความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเด็กก็ต้องได้รับความช่วยเหลือจากพ่อแม่ที่เป็นตัวหลักในการอ่านนิทานให้ลูกฟัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นสื่อกลางสร้างความสุขในครอบครัว โดยเฉพาะนิทานภาพ ที่ไม่ใช่หนังสือที่เด็กอ่านเอง แต่เด็กจะฟังเสียงผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งสมองของเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่จะพัฒนาสูงสุดในทุก ๆ ด้าน หากได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม และหนังสือ ก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นได้ดี" 

ที่มา 'จิระนันท์ พิตรปรีชา ทำงานเท่ ๆ จะอยู่รอดก็ต้องใจรัก'
http://www.mrthaijob.com/column/viewbrows.php?aid=10969&catid=2

รูปจาก http://assets.flavorwire.com/wp-content/uploads/2012/11/madeline.jpg

Thai Book Swap & Book Review หนูน้อยเมเดไลน์ (Madeline) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2484 หรือ 70 ปีมาแล้วและยังคงตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา 'หนูน้อยเมเดไลน์' เป็นหนึ่งในบรรดาหนังสือภาพเด็กเพียงไม่กี่เล่มที่ไม่เคยตกอันดับความนิยมตลอดเจ็ดสิบปีที่ผ่านมา และเรื่องราวของเมเดไลน์ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย
หนังสือภาพเรื่องหนูน้อยเมเดไลน์ ฉบับภาษาไทย โดยมูลนิธิซิเมนต์ไทย
เรื่องและภาพโดย ลุดวิก เบเมลแมนส์

แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา

http://www.facebook.com/video/video.php?v=172698986081343
หนูน้อยเมเดไลน์ (Madeline) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2484 หรือ 70 ปีมาแล้วและยังค
งตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา 'หนูน้อยเมเดไลน์' เป็นหนึ่งในบรรดาหนังสือภาพเด็กเพียงไม่กี่เล่มที่ไม่เคยตกอันดับความนิยมตลอดเจ็ดสิบปีที่ผ่านมา และเรื่องราวของเมเดไลน์ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย หนังสือภาพเรื่องหนูน้อยเมเดไลน์ ฉบับภาษาไทย โดยมูลนิธิซิเมนต์ไทย เรื่องและภาพโดย ลุดวิก เบเมลแมนส์ แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา
ความยาว:: ‎1:00

Thai Book Swap & Book Review อ่านหนูน้อยเมเดไลน์ (Madeline) ออนไลน์ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

http://www.childrenslibrary.org/icdl/BookPreview?bookid=abbmade_00360491&route=alsoby&lang=English&msg=&ilang=Thai

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์

ความมุ่งหมายของพุทธศาสนานั้น มักจะถูกคนส่วนมากเข้าใจไปเสียว่า มุ่งหมายจะนำคนไปเมืองสวรรค์ จึงได้มีการสอนกันเป็นอย่างมาก ว่า สวรรค์เป็นแดนที่คนควรไปให้ถึง สวรรค์เป็นแดนแห่งความสุขที่สุด เลยมีการชักชวนกัน ให้ปรารถนาสวรรค์ ปรารถนากามารมณ์ อันวิเศษในชาติหน้า  คนทั้งหลายที่ไม่รู้ความจริง ก็หลงใหลสวรรค์ มุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์ ซึ่งเป็นแดนที่ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ ตามปรารถนา เป็นเมืองที่ตนจะหาความสำราญ ได้อย่างสุดเหวี่ยง แบบสวรรค์นิรันดร ของศาสนาอื่นๆ ที่เขาใช้สวรรค์ เป็นเครื่องล่อ ให้คนทำความดี   คนจึงไม่สนใจ ที่จะดับทุกข์ กันที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ตามความมุ่งหมาย อันแท้จริง ของพุทธศาสนา   นี่คือ อุปสรรค อันสำคัญ และเป็นข้อแรกที่สุด ที่ทำให้ คนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะไปมุ่งเอา ตัณหาอุปาทาน กันเสียหมด  ฉะนั้น เราควรจะต้องสั่งสอนกันเสียใหม่ และพุทธบริษัท ควรจะเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า สวรรค์ดังที่กล่าวว่า เป็นเมืองที่จะต้องไปให้ถึงนั้น เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน คือ การกล่าว สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็น รูปธรรม หรือเป็นวัตถุขึ้นมา   การกล่าวเช่นนั้น เป็นการกล่าวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อในเบื้องต้น ที่เหมาะสำหรับ บุคคลไม่ฉลาดทั่วไป ที่ยังไม่มีสติปัญญามากพอ ที่จะเข้าใจถึงความหมาย อันแท้จริงของพุทธศาสนาได้  แม้คำว่า "นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์ ก็ยังกลายเป็นเมืองแก้ว หรือ นครแห่งความไม่ตาย มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ เทียนไท้ หรือ สุขาวดี ของพวกอาซิ้มตามโรงเจทั่วไป   สุขาวดี นั้น ตามความหมายอันแท้จริง ก็มิได้หมายความดังที่พวกอาซิ้มเข้าใจ เช่นเดียวกัน แต่มีความหมายถึง นิพพาน คือ ความว่างจากกิเลส สว่างจากทุกข์ มิได้หมายถึง บ้านเมืองอันสวยงาม ทางทิศตะวันตก ซึ่งมีพระพุทธเจ้า ชื่อ อมิตาภะ ประทับอยู่เป็นประธาน ที่ใครๆ ไปอยู่ที่นั่น แล้วก็ได้รับความพอใจทุกอย่าง ตามที่ตนหวัง เพราะว่าแวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงาม และรื่นรมย์ที่สุด ที่มนุษย์ หรือ เทวดา จะมีได้ นี่เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน ทั้งสิ้น...  ฉะนั้น เมื่อถามว่า พุทธศาสนา มีความมุ่งหมายอย่างไร ก็ควรจะตอบว่า มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน ของคนทุกคนในโลกนี้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยไม่มีความทุกข์เลย   ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ หรือพูดโดยอุปมาก็ว่า อยู่ในโลกโดยไม่ถูกก้างของโลก หรือ อยู่ในโลก ท่ามกลางเตาหลอมเหล็กอันใหญ่ ที่กำลังลุกโชนอยู่ แต่กลับมีความรู้สึกเยือกเย็นที่สุดดังนี้   พุทธทาสภิกขุ  ภาพโดย วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร
ความมุ่งหมายของพุทธศาสนานั้น มักจะถูกคนส่วนมากเข้าใจไปเสียว่า มุ่งหมายจะนำคนไปเมืองสวรรค์ จึงได้มีการสอนกันเป็นอย่างมาก ว่า สวรรค์เป็นแดนที่คนควรไปให้ถึง สวรรค์
เป็นแดนแห่งความสุขที่สุด เลยมีการชักชวนกัน ให้ปรารถนาสวรรค์ ปรารถนากามารมณ์ อันวิเศษในชาติหน้า

คนทั้งหลายที่ไม่รู้ความจริง ก็หลงใหลสวรรค์ มุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์ ซึ่งเป็นแดนที่ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ ตามปรารถนา เป็นเมืองที่ตนจะหาความสำราญ ได้อย่างสุดเหวี่ยง แบบสวรรค์นิรันดร ของศาสนาอื่นๆ ที่เขาใช้สวรรค์ เป็นเครื่องล่อ ให้คนทำความดี 

คนจึงไม่สนใจ ที่จะดับทุกข์ กันที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ตามความมุ่งหมาย อันแท้จริง ของพุทธศาสนา 

นี่คือ อุปสรรค อันสำคัญ และเป็นข้อแรกที่สุด ที่ทำให้ คนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะไปมุ่งเอา ตัณหาอุปาทาน กันเสียหมด

ฉะนั้น เราควรจะต้องสั่งสอนกันเสียใหม่ และพุทธบริษัท ควรจะเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า สวรรค์ดังที่กล่าวว่า เป็นเมืองที่จะต้องไปให้ถึงนั้น เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน คือ การกล่าว สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็น รูปธรรม หรือเป็นวัตถุขึ้นมา 

การกล่าวเช่นนั้น เป็นการกล่าวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อในเบื้องต้น ที่เหมาะสำหรับ บุคคลไม่ฉลาดทั่วไป ที่ยังไม่มีสติปัญญามากพอ ที่จะเข้าใจถึงความหมาย อันแท้จริงของพุทธศาสนาได้

แม้คำว่า "นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์ ก็ยังกลายเป็นเมืองแก้ว หรือ นครแห่งความไม่ตาย มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ เทียนไท้ หรือ สุขาวดี ของพวกอาซิ้มตามโรงเจทั่วไป 

สุขาวดี นั้น ตามความหมายอันแท้จริง ก็มิได้หมายความดังที่พวกอาซิ้มเข้าใจ เช่นเดียวกัน แต่มีความหมายถึง นิพพาน คือ ความว่างจากกิเลส สว่างจากทุกข์ มิได้หมายถึง บ้านเมืองอันสวยงาม ทางทิศตะวันตก ซึ่งมีพระพุทธเจ้า ชื่อ อมิตาภะ ประทับอยู่เป็นประธาน ที่ใครๆ ไปอยู่ที่นั่น แล้วก็ได้รับความพอใจทุกอย่าง ตามที่ตนหวัง เพราะว่าแวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงาม และรื่นรมย์ที่สุด ที่มนุษย์ หรือ เทวดา จะมีได้ นี่เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน ทั้งสิ้น...

ฉะนั้น เมื่อถามว่า พุทธศาสนา มีความมุ่งหมายอย่างไร ก็ควรจะตอบว่า มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน ของคนทุกคนในโลกนี้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยไม่มีความทุกข์เลย 

ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ หรือพูดโดยอุปมาก็ว่า อยู่ในโลกโดยไม่ถูกก้างของโลก หรือ อยู่ในโลก ท่ามกลางเตาหลอมเหล็กอันใหญ่ ที่กำลังลุกโชนอยู่ แต่กลับมีความรู้สึกเยือกเย็นที่สุดดังนี้ 

พุทธทาสภิกขุ

ภาพโดย วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร

พื้นที่ฝนตกภาคใต้ตอนบน 22.00 น. 29 พ.ย.2555 อ.เมือง อ.สวี ชุมพร เกาะหมุย พะงัน ขนอม สิชล ท่าศาลา

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฟังเพลง เนื้อเพลง ไปจนได้, หนุ่ม เมืองไพร




http://www.gotoknow.org/blogs/posts/448369

เพลง : ไปจนได้
ศิลปิน : หนุ่ม เมืองไพร

ภูเขาจะกั้นขวางหน้า แดดกล้าจะร้อนเพียงใด
พี่จะไปหาเธอจนได้ เป็นตายพี่จะใฝ่หานาง
ทะเลจะไกลสุดตา สุดฟ้าพี่ก็มีหวัง
เจอะหน้าน้องจ๋าอย่าชัง รักนางเพียงหวังกอดน้อง
ลองนับคะเนสินาง หนทางบ้านพี่บ้านหล่อน
นั่งรถนั่งเรือหลายตอน ไม่รักหล่อนแล้วจะมาทำไม..
ใครห้ามพี่ก็ไม่ฟัง รักนางเสียจนหมดใจ
ให้มีโซ่มาล่ามพี่ไว้ ไปจนได้เพราะใจรักนาง
ภูเขาจะกั้นขวางหน้า แดดกล้าจะร้อนเพียงใด
พี่จะไปหาเธอจนได้ เป็นตายพี่จะใฝ่หานาง
ทะเลจะไกลสุดตา สุดฟ้าพี่ก็มีหวัง
เจอะหน้าน้องจ๋าอย่าชัง รักนางเพียงหวังกอดน้อง
ลองนับคะเนสินาง หนทางบ้านพี่บ้านหล่อน
นั่งรถนั่งเรือหลายตอน ไม่รักหล่อนแล้วจะมาทำไม..
ใครห้ามพี่ก็ไม่ฟัง รักนางเสียจนหมดใจ
ให้มีโซ่มาล่ามพี่ไว้ ไปจนได้เพราะใจรักนาง
ไปจนได้เพราะใจรักนาง
ไปจนได้เพราะใจรักนาง







วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๓.๐๐ ณ หอประชุมชั้น ๒ สำนักงาน กสทช. กรุงเทพฯ

กสทช.เชิญชวนผู้บริโภคสื่อทุกท่านร่วมงาน
"มหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์"
ครั้งแรก

วันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๕ ณ สำนักงาน กสทช. 

และวันที่ ๑ – ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องบอลรูม และ รีเซฟชั่น ฮอล์ล ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์

กำหนดการ
"กสท. พบผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์"
ในงานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๓.๐๐
ณ หอประชุมชั้น ๒ สำนักงาน กสทช. กรุงเทพฯ
-----------------------------

๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. - ลงทะเบียน / รับประทานอาหารว่าง
๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น. - พิธีเปิด โดย ประธาน กสท. (พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์)
- แกนนำผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ ยื่นข้อเสนอต่อ ประธาน กสท.
๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น. - สรุปงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 
โดย กสทช.สุภิญญา กลางณรงค์
๑๐.๑๕ – ๑๑.๑๕ น. - นำเสนอความเห็น / ข้อเสนอจากเวทีสัมมนาผู้บริโภค สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ระดับภูมิภาค (๙ ครั้ง)
๑๑.๑๕ – ๑๒.๐๐ น. - แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ กสท.
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. - รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน 

-----------------------------



















กำหนดการ
เสวนาความร่วมมือแบบไตรภาคี
เนื่องในงานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ อาคารหอประชุม สำนักงาน กสทช. กรุงเทพฯ
-----------------------------

๑๓.๐๐ น. - ลงทะเบียน

สถานที่ : หอประชุมชั้น ๒
๑๓.๓๐ น. - กล่าวต้อนรับและกล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน โดย กสทช.สุภิญญา กลางณรงค์
- การเสวนาโต๊ะกลมระดมความร่วมมือแบบไตรภาคี 
หัวข้อ"ละครกับโฆษณาแบบไหน...ปลอดภัยต่อผู้บริโภค"
วิทยากร - ดร.นิวัฒน์ วงศ์พรหมปรีดา สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
- คุณอรุโณชา ภาณุพันธ์ ผู้จัดละครเรื่องแรงเงา (ช่อง ๓)
- คุณแอน ทองประสม ผู้จัดละครรุ่นใหม่
- คุณฐิติญานันท์ หนักป้อ ผู้จัดการศูนย์ซิสเตอร์ (ศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการ ด้านสุขภาพสำหรับสาวประเภทสอง)
- ดร.ภัทรา บุรารักษ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- คุณณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส.
ดำเนินรายการโดย คุณภัทราพร สังข์พวงทอง พิธีกรรายการกบนอกกะลา
๑๖.๓๐ น. สรุปและปิดการเสวนา

สถานที่ : หอประชุมชั้น ๑
๑๓.๓๐ น. กล่าวต้อนรับและกล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน โดย กสทช.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์
เริ่มการเสวนาโต๊ะกลมระดมความร่วมมือแบบไตรภาคี 
หัวข้อ"มาตรฐาน สัญญา และการให้บริการทีวีอย่างไร...ไม่เอาเปรียบผู้บริโภคสื่อ"
วิทยากร - คุณวิชัย ทองแตง ประธานบริษัทไทยโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน) CTH
- คุณอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรู วิชั่นส์
- คุณนิรันดร์ ตั้งพิรุฬห์ธรรม กรรมการผู้จัดการบริษัทอินโฟแซท
- คุณชโลม เกตุจินดา เครือข่ายผู้บริโภค จ.สงขลา
- คุณอิฐบูรณ์ อ้นวงษา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
- คุณณัฐพล สิงห์เถื่อน มูลนิธิกระจกเงา 
- คุณทนงศักดิ์ สุขะนินทร์ ผอ.กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์เคลื่อนที่ฯ
ดำเนินรายการโดย คุณจอม เพชรประดับ สื่อมวลชน
๑๖.๓๐ น. สรุปและปิดการเสวนา

----------------------------

กำหนดการ
"งานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์"
วันที่ ๑ – ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.
ณ ห้องบอลรูม และ รีเซฟชั่น ฮอล์ล ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
-----------------------------

วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
เวทีใหญ่ (ห้องบอลรูม)
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. - แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนลงทะเบียนพร้อมรับของที่ระลึก
๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. - พิธีกร (บ็อบ) ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ กล่าวต้อนรับและนำเข้าสู่พิธีเปิดงาน
- พิธีเปิด โดย ประธาน กสทช. (พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี)
๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. - ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การคุ้มครองผู้บริโภค: จากกิจการโทรคมนาคม 
สู่กิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์" โดย กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา 
๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๐ น. - การแสดงเปิดงาน ชุด "เงาสะท้อน"
๑๐.๔๐ – ๑๑.๐๐ น. - การแสดงจากศิลปินแห่งชาติ ชินกร ไกรลาศ
๑๑.๐๐ – ๑๒.๑๕ น. - การเสวนาสาธารณะ เรื่อง "ทำอย่างไรผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบ"
วิทยากร - นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช.
- นางจำนรรค์ ศิริตัน ผู้บริหารเจ เอส แอล โกบอล // สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
- นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
- นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีไทยพีบีเอส
- นายอำนาจ เนตยสุภา สำนักงานอัยการสูงสุด
๑๒.๑๕ – ๑๓.๐๐ น. - การแสดงจากเวทีภูมิภาค "ลิเกฮูลู"
๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. - กิจกรรม "ร่วมหยุด ! ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา" โดยแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และชมรมเภสัชชนบท
๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. - การแสดงเครื่องดนตรีพิณแก้ว โดย อ.วีระพงษ์ ทวีศักดิ์ 
นักดนตรีพิณแก้วคนแรกของประเทศไทย
๑๕.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. - การเสวนา เรื่อง การเข้าถึงสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ของคนทุกกลุ่ม 
วิทยากร - นายต่อพงษ์ เสลานนท์ คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง
- อาจารย์ศิวนารถ หงส์ประยูร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ / ผู้ก่อตั้ง Thai Deaf TV
- ผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์
- ผู้แทนกลุ่มเด็กและเยาวชน
- ผู้แทนกลุ่มคนสูงอายุ
ดำเนินการโดย ผู้แทนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ
วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
เวทีใหญ่ (ห้องบอลรูม)
๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. - การแสดงจากเวทีภูมิภาค โปงลาง /หมอลำ
๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. - การแสดงคอนเสิร์ตของ แคทรียา มารศรี, จอมขวัญ กัลยา, ขวัญใจ มิตรภาพ









วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕
เวทีใหญ่ (ห้องบอลรูม)
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. - แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนลงทะเบียนพร้อมรับของที่ระลึก
๐๙.๑๕ – ๑๐.๐๐ น. - การแสดงจากเวทีภูมิภาค กับศิลปินเพื่อชีวิตอิสระ ไก่ แมลงสาป
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. - การเสวนาเรื่อง "TV Digital : กสทช.ควรคำนึงถึงผู้บริโภคสื่ออย่างไร"
วิทยากร - นางสาวสารี อ่องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
- นายวันชัย บุญประชา กรรมการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
- ดร.มานะ ตรียาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ผู้แทน กสทช.
๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. - การประกาศปฏิญญาสมัชชาผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์
๑๒.๓๐ – ๑๓.๑๕ น. - การแสดงจากเวทีภูมิภาค "มโนราห์"
๑๓.๑๕ – ๑๕.๑๕ น. - การระดมความคิดเห็นเรื่อง 
"จากปฏิญญาสู่แผนปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์"
โดย คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและ
กิจการโทรทัศน์
๑๕.๑๕ – ๑๗.๑๕ น. - ทอล์คโชว์พิเศษ "พูดพร่ำฮัมเพลง โดยศิลปิน (จุ้ย) ศุ บุญเลี้ยง"
๑๗.๑๕ – ๑๘.๑๕ น. - การแสดงจากเวทีภูมิภาค "หนังตะลุง"
๑๘.๑๕ – ๑๙.๑๕ น. - การแสดงจากเวทีภูมิภาค "คาบาเรต์"
๑๙.๑๕ – ๒๑.๐๐ น. - การแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินวัชราวลี

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2555 จ.นครปฐม / anticorruption@thaipbs.or.th (ระบุส่ง ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม)

http://org.thaipbs.or.th/org_news/activities/article89738.ece?id=1

แบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ  เครือข่ายจับตาคอร์รัปชั่นไทยพีบีเอส

 (กรุณากรอกให้ครบถ้วนสมบูรณ์)

*** อายุ ตั้งแต่ 18 – 65 ปี ***

ชื่อ-นามสกุล

สถานที่ติดต่อ

                                                                                            

โทรศัพท์ และอีเมลล์ :

 

 

เหตุผลที่สนใจเข้าร่วมการอบรม :

 

 

 

 

ความคาดหวังต่อการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม :

 

 

 

มุมมองต่อเรื่องการคอร์รัปชั่น :

 

 

 

วิธีการหรือช่องทางการนำแนวคิด/ความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อไป ?

 

 

ท่านสนใจที่จะร่วมจับตาการคอร์รัปชั่น ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในมิติใด ? : (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)

สิ่งแวดล้อม     สาธารณสุข     การจัดการและเยียวยาภัยพิบัติ     โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ

อื่นๆ (โปรดระบุ)................................................................................................

กรุณากรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มแล้วส่งกลับมายัง  

E-mail : anticorruption@thaipbs.or.th  หรือ โทรสาร. 02 790 2081 (ระบุส่ง ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม)

หรือส่งไปรษณีย์มาที่ คุณจันทร์จรัส  แสงศาลา ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม สำนักพัฒนาทุนทางสังคม

ชั้น 2 อาคาร A สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เลขที่ 145 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม.10210 โทร. 02 790 2416 7 พร้อมโทรแจ้งเมื่อส่งเอกสารแล้ว

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผู้ประสานงาน     ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม สำนักพัฒนาทุนทางสังคม  02 790 2416 – 7

คุณจันทร์จรัส  แสงศาลา (ปุ้ย)         082 449 8355

คุณธิติพงษ์  ก่อสกุล    (โอม)           089 498 7914




กิจกรรมต่อเนื่องดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนให้ความร่วมมือกันดี
วันที่ 19-20 พ.ย. เขามีงานสำคัญอีกงาน เห็นว่าบางส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วย

กิจกรรมต่อเนื่องดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนให้ความร่วมมือกันดี วันที่ 19-20 พ.ย. เขามีงานสำคัญอีกงาน เห็นว่าบางส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วย
ภาคเช้ามีตัวแทนจาก ปปช. ปปท. มาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น เป็นอันว่าจบการอบรมฯ
บรรยากาศเช้าวันที่สอง ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้า
วันนี้มีรอยยิ้มแก่กันและกัน เหมือนทุกคนรู้จักกันดี
ภาคเช้ามีตัวแทนจาก ปปช. ปปท. มาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย
ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น
เป็นอันว่าจบการอบรมฯ
บรรยากาศเช้าวันที่สอง ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้า วันนี้มีรอยยิ้มแก่กันและกัน เหมือนทุกคนรู้จักกันดี
พวกเราคือกลุ่มย่อย 3 ในภาพมีคุณสถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา ผู้คว้ารางวัลนักข่าวยอดเยี่ยมมาแล้วหลายรางวัล แนะนำเราว่าต้อง สังเกต-สงสัย-ตั้งสมมติฐาน-ตรวจสอบ
ผมได้คุยกับเขาส่วนตัวนิดนึงด้ว

พวกเราคือกลุ่มย่อย 3 ในภาพมีคุณสถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา ผู้คว้ารางวัลนักข่าวยอดเยี่ยมมาแล้วหลายรางวัล แนะนำเราว่าต้อง สังเกต-สงสัย-ตั้งสมมติฐาน-ตรวจสอบ ผมได้คุยกับเขาส่วนตัวนิดนึงด้วย
ในภาพเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย บรรยากาศดีมาก มีแต่พวกนักต่อต้านคอร์รัปชัน
นอกจากมีผมที่เป็นหมาเฝ้าบ้านแล้ว ยังเจอพวกของเราอีกคนด้วยแหละ แต่ขออุบชื่อไว้ รอให้เจ้าตัวพูดเองดีกว่า
See Translation
ในภาพเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย บรรยากาศดีมาก มีแต่พวกนักต่อต้านคอร์รัปชัน นอกจากมีผมที่เป็นหมาเฝ้าบ้านแล้ว ยังเจอพวกของเราอีกคนด้วยแหละ แต่ขออุบชื่อไว้ รอให้เจ้าตัวพูดเองดีกว่า

Animator Festival (Thailand) "Animator Festival #1 0nline by Sputnik tales"

 Animator Festival (Thailand) "Animator Festival #1 0nline by Sputnik tales"

1 ใน 30 ผลงานยอดเยี่ยม จาก Animator Festival#1 by SpUtNiK Tales
เทศกาลแอนิเมชั่นอิสระครั้งแรกของไทย

ชื่อผลงาน
Train

ชื่อเจ้าของผลงาน 
นายภัทรดนัย ภักดี
คณะ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

http://www.youtube.com/watch?v=GAWWP7sfJ2Q&feature=youtu.be



Animator Festival (Thailand) "Animator Festival #1 0nline by Sputnik tales"

1 ใน 30 ผลงานยอดเยี่ยม จาก Animator Festival#1 by SpUtNiK Tales
เทศกาลแอนิเมชั่นอิสระครั้งแรกของไทย

ชื่อผลงาน
"FREE UP"

ชื่อเจ้าของผลงาน 
น.ส. นัชชา ชัยวงศ์โรจน์
วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล

http://www.youtube.com/watch?v=NziCOsogNkU&feature=youtu.be

Animator Festival #1 0nline by Sputnik tales"


Animator Festival #1 0nline by Sputnik tales"

สำหรับผลงานที่เราจะนำมาให้ชมกันในวันพรุ่งนี้
เรื่องที่ 2 ^^

ชื่อผลงาน
อิสระ 

เจ้าของผลงาน
จักรพันธ์ กาญจนประยูร
http://www.youtube.com/watch?v=zlSDAUsit-A
‎1 ใน 30 ผลงานยอดเยี่ยม จาก Animator Festival#1 by SpUtNiK Tales เทศกาลแอนิเมชั่
นอิสระครั้งแรกของไทย รับชมผลงานทั้ง 30 เรื่อง ได้ที่ https://www.facebook.com/...

Richard Clayderman - Love Story ( CHiquitita bebe )

Richard Clayderman - Love Story ( CHiquitita bebe )

 

Richard Clayderman 2012 The finest tunes

http://www.youtube.com/watch?v=J1_cNvFjQNM&feature=watch-vrec

 

Richard Clayderman 2012 The finest tunes

My first deployment oversea was Camp John Hay, Baguio PI in 1987. I heard and got fallen in love with his piano music. I can't stop listening his piano songs.... My kids are all grown up. I wonder if they ever got tired me playing his cds. Now my young grandkids are enjoying the piano music.

วิทยากรแกนธรรม นำป้องปรามทุจริต



โครงการอบรมวิทยากรแกนธรรม นำป้องปรามทุจริต โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม ระหว่างวันที่ ๓๐ กันยายน ถึง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ 
ณ อาคารเฉลิมฯ วัดสามพระยาวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มาตรา ๕ ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ

ความรุ้เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ....
โดยที่มาตรา ๕ ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔
 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. .... กระทรวงแรงงานจึงได้ยกร่างกฎกระทรวงฯดังกล่าวเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 
http://www.lawamendment.go.th/

มาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ความรู้เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย พ.ศ. ....
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานในสถานที่ที่มีอันต
รายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย กระทรวงแรงงานจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เหตุขัดแย้งภายใน คือความปราชัยของ'เสธ.อ้าย'

เหตุขัดแย้งภายใน'เสธ.อ้าย'พ่าย


              17.40 น. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ขึ้นกล่าวเพียงสั้นๆ บนเวทีว่า "อยากจะกล่าวว่า เสียใจ และพล.อ.บุญเลิศ มันได้ตายไปแล้ว"

              ท่ามกลางความสับสนของมวลชนจำนวนมากว่า เหตุใดการชุมนุมของ "องค์การพิทักษ์สยาม" (อพส.) และภาคีเครือข่าย จึงยุติลงอย่างฉับพลันทันที

              ว่ากันตรงไปตรงมา ความล้มเหลวในการชุมนุมครั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจาก "เหตุภายใน" มากกว่าเหตุปัจจัยภายนอก

              ก่อนอื่นต้องส่องกล้องเข้าไปดูภายในขบวนการ "วันพิพากษา ขับไล่รัฐบาลเผด็จการตระกูลชิน" ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ "ทหารแก่" กับ "นักเคลื่อนไหวภาคประชาชน"

              จุดเริ่มต้นขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) มีแกนนำหลัก 4 คนคือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการองค์การพิทักษ์สยาม

              สมพจน์ ปิยะอุย อดีตเจ้าของ นสพ.ชาวไทย และเป็นนายทุน "ขบวนการ 26 มีนาคม 2520" โดยการนำของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ

              เมื่อ 35 ปีที่แล้ว "เสธ.อ้าย" เป็นนายทหารยศพันตรี นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 เข้ามายึดอำนาจแต่ไม่สำเร็จ และทั้งคู่โคจรมาพบกันอีกครั้งในนามองค์การพิทักษ์สยาม

              นายทหารอีกสองคน คือ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรอง ผบ.ทหารสูงสุด เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 1 รุ่นเดียวกับ "เสธ.อ้าย" และ "เสธ.ต๋อย" พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์ อดีตหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นเตรียมทหารรุ่น 6 รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

              ผู้ที่จุดประกายให้ "เสธ.อ้าย" จัดตั้งองค์การพิทักษ์สยาม ได้แก่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี และ บวร ยสินทร แกนนำเครือข่ายพลเมืองปกป้องสถาบัน

              ต่อมา พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา และ "ติ๊งต่าง" กาญจนี วัลยะเสวี แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี ได้ประสานให้ "เสธ.อ้าย" เป็นผู้นำจัดการชุมนุมมวลชนในนามองค์การพิทักษ์สยาม

              จึงเกิดการชุมนุม "รวมพลคนทนไม่ไหว" ที่สนามม้านางเลิ้ง เมื่อ 28 ตุลาคม 2555

              แต่การชุมนุมครั้งแรกก็มีร่องรอยของความขัดแย้ง เมื่อแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ประกาศไม่เข้าร่วมด้วย เพราะมองว่า กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมคือพรรคประชาธิปัตย์

              บังเอิญว่า การรวมพลคนทนไม่ไหวมีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคน จึงทำให้แกนนำองค์การพิทักษ์และเครือข่ายที่เข้าร่วมเกิดความคึกคักอย่างมาก

              ถนนทุกสายมุ่งสู่สนามม้านางเลิ้ง ต้องพูดอย่างนี้ เพราะบรรดา "นักเคลื่อนไหว" ที่มีชื่อเสียงจากเวทีพันธมิตรโค่นล้มระบอบทักษิณ ปี 2549 ต่างตบเท้าเข้าไปรายงานตัวต่อ "เสธ.อ้าย" กันเป็นทิวแถว

              ในที่สุด องค์การพิทักษ์สยาม จึงขยาย "ภาคีเครือข่าย" ออกไปจนทำให้เกิด "วอร์รูม 30 อรหันต์" ที่มีตัวแทนมาจากหลายองค์กร อาทิ สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย นำโดย สมบูรณ์ ทองบุราณ และไทกร พลสุวรรณ

              เครือข่ายช่องทีนิวส์ สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม เจ้าของสำนักนำทีมนักกิจกรรมมวลชน อาสาประสานงานมวลชนต่างจังหวัด และกลุ่มรากหญ้าในเมือง

              อีกส่วนหนึ่งมาจากปีกแนวร่วมพันธมิตรเก่า ที่เปิดหน้าให้เห็นคือ พิเชฏฐ พัฒนโชติ อดีต ส.ว.นครราชสีมา กิมอัง พงษ์นารายณ์ แกนนำชาวนาภาคกลาง และสุนทร รักษ์รงค์ อดีตแกนนำพันธมิตร 16 จังหวัดภาคใต้

              อันที่จริงมี "แนวร่วมเสื้อเหลือง" คนดังอีกนับสิบที่แอบเข้าไปนั่งอยู่ใน "วอร์รูม 30 อรหันต์" แต่พวกเขาไม่ยอมเปิดเผยตัว ยกเว้น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และธัญญา ชุนชฎาธาร อดีตกบฏ 14 ตุลา

              การออกแบบการชุมนุม 24 พฤศจิกายนนั้น มีผู้เสนอความเห็นมากมาย แต่สุดท้ายก็ขึ้นกับการตัดสินใจของ "เสธ.อ้าย" คนเดียว เพราะเป็น "ผู้กุมยุทธปัจจัย" ในการขับเคลื่อนครั้งนี้

              ด้วยเหตุนี้ บรรดา "จอมยุทธ์งานมวลชน" ทั้งหลาย จึงพุ่งตรงเข้าหา "เสธ.อ้าย" เพื่ออาสาทำงานใหญ่ แต่บ่อยครั้งที่ไม่ประสานกัน และแย่งชิงการนำ จึงทำให้ "คำขวัญ" และ "ยุทธวิธี" ในการต่อสู้ไม่เป็นเอกภาพ

              ในที่สุด การชุมนุมวันพิพากษาก็มาถึง อำนาจการนำทุกอย่างก็รวมศูนย์อยู่ฝ่ายทหาร ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์, พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์, พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ, พล.ท.บุญยัง บูชา และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

              ปัญหาการปะทะกันที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ในตอนเช้า สะท้อนปัญหาการจัดหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือ "การ์ด" ที่ได้แบ่งความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายทหารแก่ กับฝ่ายนักเคลื่อนไหวมวลชน โดยระบุไว้ต้องใช้การ์ด 2,000 คน แบ่งเป็นฝ่ายทหาร 1,500 คน และฝ่ายนักเคลื่อนไหว 500 คน

              ไม่ทราบว่าอะไรเกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุเผชิญหน้ากลับไม่มีการ์ด โดยเฉพาะ "การ์ดบุก" และมีแต่ "การ์ดรับ" จึงทำให้การขยายพื้นที่การชุมนุมกระทำการไม่สำเร็จ

              "การ์ดบุก" หายไปไหน? ทั้งที่มีการพูดคุยกันแล้วเรื่องจะมีการจัดหาคน เพื่อจัดวางกำลังไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาจริง กลับไม่มีการ์ดมาดูแลมวลชนมากเท่าที่วางแผนกันไว้

              จุดเปลี่ยนของม็อบ เสธ.อ้าย อยู่ในช่วงบ่าย เมื่อ "สมณะโพธิรักษ์" เข้าไปดูแลและคอยเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมด้วย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และ "เสธ.จ๊อด" กิตติชัย ใสสะอาด อดีตการ์ดพันธมิตร แต่มีการปะทะ และตำรวจโยนแก๊สน้ำตาใส่ จนทำให้ สมณะโพธิรักษ์ ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตาเช่นกัน

              ในที่สุด "พ่อท่าน" สมณะโพธิรักษ์ เป็นศูนย์กลาง ที่ให้ความคิดชี้นำทุกอย่าง และสมาชิกกองทัพธรรม จึงเปิดใจคุยกับ "เสธ.อ้าย" อันเป็นที่มาของการยุติการชุมนุมครั้งนี้


.....................

(หมายเหตุ : เหตุขัดแย้งภายใน คือความปราชัยของ'เสธ.อ้าย')

http://goo.gl/nukMU