วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปคม.เตรียมจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว หลังพบไม่ได้ตรวจสัญชาติ หวั่นถูกตัดสิทธิ์พิเศษทางการค้า

ปคม.เตรียมจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว หลังพบไม่ได้ตรวจสัญชาติ หวั่นถูกตัดสิทธิ์พิเศษทางการค้า

ปคม.เตรียมจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว หลังพบไม่ได้ตรวจสัญชาติ หวั่นถูกตัดสิทธิ์พิเศษทางการค้า

รัฐบาลเตรียมจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในวันที่ 14 ธันวาคม หลังพบว่า มีแรงงานที่ขึ้นทะเบียนหลายคน ยังไม่ได้รับการตรวจสัญชาติ และมีแนวโน้มที่จะถูกส่งกลับประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการที่สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นบัญชีไทยว่า ยังเป็นประเทศที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งทำให้ไทยอาจถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้า

การสนธิกำลังของตำรวจน้ำ และตำรวจปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. เพื่้อปฏิบัติการตรวจค้นเรือประมง ในแม่น้ำท่าจีนถึงปากอ่าวไทย สำหรับค้นหาแรงงานต่างด้าว ที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการค้าแรงงานประมง เป็น 1 ภารกิจที่ถูกจัดขึ้น หลังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม 2 ของบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง เรื่องการค้ามนุษย์ มาเป็นปีที่ 3 แล้ว

โดยระบุว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำ ในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา รวมถึงการส่งตัวเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์กลับภูมิลำเนาซึ่งแนวโน้มมากว่า หากการแก้ไขปัญหาไม่ดีขึ้น สหรัฐฯอาจงดให้การช่วยเหลือด้านการค้า

ขณะที่รัฐาลไทย พยายามแก้ไขปัญหา ด้วยการลงนามทำสัญญาระหว่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้านเช่น บังคลาเทศ, เวียดนาม เพื่อนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมาย และทำการตรวจสอบสัญชาติ แรงงานที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องอีก ครั้ง ภายในวันที่ 14 ธันวาคม

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ มีแรงงานที่ขึ้นทะเบียนหลายคนยังไม่ได้รับการตรวจสัญชาติ และมีแนวโน้มว่า จะถูกส่งกลับสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานประมง

นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมประมง มักไม่นิยมขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เพราะเกรงว่า เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว แรงงานต่างด้าวจะหนีขึ้นไปทำงานบนฝั่ง สำหรับสถิติการจับกุมแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายนที่ผ่านมา สามารถจับแรงงานต่างด้าวถึง 2,200 คน แยกเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ 77 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น