วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธนาคารพระพุทธศาสนา

"พระเมธีธรรมาจารย์" เผยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา มีการแจง 4 ข้อห่วงใยจัดตั้ง 'ธนาคารพุทธ' ยังย้ำวัตถุประสงค์อุปถัมภ์พระศาสนา ยึดรูปแบบ ธ.ก.ส. กลไกปล่อยเงินกู้... 

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะเลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมาธิการการศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการชี้แจง 4 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาที่ทางที่ประชุมแสดงความกังวล 

ประเด็นที่ 1 คือ ธนาคารพระพุทธศาสนาแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ ตรงที่ธนาคารพุทธศาสนาเป็นธนาคารเฉพาะที่มีบทบาทและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง คือ ส่งเสริม อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของพุทธศาสนิกชน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์คือธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน จำกัด

พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 โครงสร้างการบริหารของธนาคารพุทธศาสนา ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 ท่าน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา การเงิน การธนาคาร และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการธนาคารอีก 8 ท่าน กรรมการชุดที่ 2 เลือกจากผู้ถือหุ้นอีก 4 ท่าน รวมกับกรรมการชุดแรกเป็น 19 ท่าน

ประเด็นที่ 3 กลไกการให้สินเชื่อ จะให้สินเชื่อแก่พุทธศาสนิกชน องค์กรทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ กลไกการให้สินเชื่อของธนาคารพุทธศาสนา คือการให้กู้แบบกลุ่มลักษณะเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประเด็นที่ 4 กรณีที่วัดต้องการขอสินเชื่อ ต้องทำในนามคณะกรรมการวัดหรือมูลนิธิ โดยมีไวยาวัจกรที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายจากวัดเป็นลายลักษณ์อักษรทำนิติกรรม โดยเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมจะสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ข่าว : ไทยรัฐ
11 ธันวาคม 2555
http://www.thairath.co.th/content/edu/312541
"พระเมธีธรรมาจารย์" เผยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา มีการแจง 4 ข้อห่วงใยจัดตั้ง 'ธนาคารพุทธ' ยังย้ำวัตถุประสงค์อุปถัมภ์พระศาสนา ยึดรูปแบบ ธ.ก.ส. กลไกปล่อยเงินกู้... 

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะเลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมาธิการการศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการชี้แจง 4 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาที่ทางที่ประชุมแสดงความกังวล 

ประเด็นที่ 1 คือ ธนาคารพระพุทธศาสนาแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ ตรงที่ธนาคารพุทธศาสนาเป็นธนาคารเฉพาะที่มีบทบาทและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง คือ ส่งเสริม อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของพุทธศาสนิกชน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์คือธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน จำกัด

พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 โครงสร้างการบริหารของธนาคารพุทธศาสนา ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 ท่าน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา การเงิน การธนาคาร และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการธนาคารอีก 8 ท่าน กรรมการชุดที่ 2 เลือกจากผู้ถือหุ้นอีก 4 ท่าน รวมกับกรรมการชุดแรกเป็น 19 ท่าน

ประเด็นที่ 3 กลไกการให้สินเชื่อ จะให้สินเชื่อแก่พุทธศาสนิกชน องค์กรทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ กลไกการให้สินเชื่อของธนาคารพุทธศาสนา คือการให้กู้แบบกลุ่มลักษณะเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประเด็นที่ 4 กรณีที่วัดต้องการขอสินเชื่อ ต้องทำในนามคณะกรรมการวัดหรือมูลนิธิ โดยมีไวยาวัจกรที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายจากวัดเป็นลายลักษณ์อักษรทำนิติกรรม โดยเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมจะสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ข่าว : ไทยรัฐ
11 ธันวาคม 2555
http://www.thairath.co.th/content/edu/312541
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น