ชิมแปนซีอัจฉริยะหนึ่งตัว สามารถที่จะทำแบบทดสอบทักษะการจดจำ ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยใช้เวลาน้อยที่สุดหรือเร็วเท่ากับการกระพริบตาหนึ่งครั้งในมนุษย์ ซึ่งมันทำได้เร็วกว่ามนุษย์ด้วยซ้ำ แต่จริงๆแล้วเจ้าสัตว์ที่ฉลาดที่สุดในโลกเหล่านี้ พวกมันมีความสุขกับกิจกรรมทดสอบระบบการคิดที่พวกมันทำอยู่หรือไม่
อะยูมุ ชิมแปนซีที่เกิดและโตในมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีความสามารถในการจดจำตำแหน่งและตัวเลขชุดคำสั่ง ซึ่งเวลาที่มันสามารถทำได้คือ 60มิลลิวินาที (หน่วยเล็กว่าวินาที) แน่นอนว่า มันไม่ใช่พฤติกรรมปกติสำหรับลิงชิมแปนซี ที่จะมีต่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า กิจกรรมในลักษณะ นี้อาจจะดีสำหรับพวกลิงในห้องทดลองเหล่านี้
เฟย์ คลาร์ก จากวิทยาลัยสัตวแพทย์แห่งศูนย์สวัสดิภาพสัตว์ กล่าวว่า "แย่หน่อยตรงที่ลิงในห้องทดลองเหล่านี้มักแสดงพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณบอกถึงความเบื่อหน่าย อารมณ์ที่แปรปรวนและความเครียด ให้เราเห็นบ่อยๆ"
คลาร์กได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยที่ค้นหาสิ่งท้าทายแปลกใหม่และการใช้เครื่องมือในการทำให้ลิงในห้องทดลองเหล่านี้ ต้องใช้ความคิดเพื่อทำให้พวกมันมีความสุขมากขึ้น เขาบอกกับนักข่าวบีบีซี.ว่า "ถ้าลิงพวกนี้ไม่ได้รับสิ่งที่จะมากระตุ้นและท้าทายความคิดของพวกมันอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้พวกมันมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไป หรือไม่ก็จะเลิกสนใจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวไปเลย " คลาร์กบอกอีกว่า "หากต้องการจะเพิ่มศักยภาพลิงพวกนี้ สิ่งสำคัญสำหรับนักวิทยาศาสตร์ก็คือ การพัฒนาเครื่องมือที่ท้าทายต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และความสามารถในการแก้ปัญหาสูงสุดให้กับพวกมัน"
โครงการไออิ ในฐานะห้องทดลองที่ทำการทดลองกับชิมแปนซีมาเป็นเวลายาวนานที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ได้ทำการทดสอบความฉลาดของลิงชิมแปนซีมากว่า 30 ปี โดยศาสตราจารย์ เทสสึโร มัสสึซาวา เริ่มต้นงานวิจัยของเขากับลิงชิมแปนซีวัยหนึ่งขวบชื่อ ไออิ ในปี 1977 และชื่อลิงตัวนี้ก็ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อโครงการวิจัยนี้ เป็นเวลาหลายปีทีเดียวที่ทีมวิจัยได้วิจัยพลังสมองของลิงไออิ โดยสังเกตจากการที่เธอสามารถเรียนรู้ที่จะทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ รวมถึงการรู้จักและจดจำตัวเลขและวัตถุได้ด้วย
ในปี 2000 ไออิได้ให้กำเนิดลูกลิงชิมแปนซีน้อยตัวผู้ชื่อ อะยูมุ ซึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้าอะยูมุก็ได้กลายมาเป็นดาวเด่นของงานวิจัย กิจวัตรประจำวันที่ซ้ำไปซ้ำมาตลอดอายุ 11 ปีของมันก็คือ การ กิน นอน เล่น และเรียน ในแต่ละช่วงการเรียนของอะยูมุ มันจะได้รับอาหารที่มันชอบทุกครั้งที่มันจำตำแหน่งของตัวเลขบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเลือกได้ถูกต้องตามคำสั่ง
"รางวัลอาหารไม่ใช่สิ่งจูงใจให้มันทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย หากแต่วิธีการแสดงความชื่นชมต่างหากที่จูงใจให้อะยูมุ และลิงตัวอื่นทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ " ศาตราจารย์ มัสสึซาวา กล่าวอีกว่า " ลิงชิมแปนซีทุกตัวจะไปที่ห้องทดสอบเองด้วยความเต็มใจ และพวกมันชอบที่จะทำแบบนี้ด้วย
"ไม่ใช่แค่ อะยูมุ เพียงตัวเดียวที่มีความจำเป็นเลิศ แต่ลิงวัยรุ่นตัวอื่นก็มีความจำดีกว่ามนุษย์ผู้ใหญ่ซื่อๆหลายๆคน "ศาสตราจารย์มัสสึซาวาเล่า
"เพราะว่าเหล่าลิงใหญ่ มีความเป็นตัวเองสูง มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสร้างกิจกรรมที่ท้าทายให้เหมาะสมกับพวกมัน บางตัวก็ไม่ตอบสนองต่อจอคอมพิวเตอร์ แต่บางตัวก็จะมีการตอบสนองที่ดีอย่างมากหากได้รับอาหารเป็นรางวัล หรือบางตัวก็ตอบสนองต่อการสัมผัสกับมนุษย์" คลาร์กกล่าวกับ บีบีซี
ที่สวนสัตว์แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ปี 2007 ได้มีการเอาจอภาพคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งและฝังเอาไว้ภายในโพรงต้นไม้ โดยมีทีมวิจัยจับตาดูพฤติกรรมของลิงอุรังอุตังเหล่านี้อย่างใก้ชิด
"เราได้จัดโปรแกรมเฉพาะเพื่อดูวิธีการเรียนรู้ของพวกมัน โปรแกรมนี้ไม่ใช่เกมส์แต่มันเป็นการฝึกให้อุรังอุตังเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา" ดร.ทาร่า สตอยสกี้ หัวหน้าทีมศึกษากล่าว
เจ้าลิงเอปเหล่านี้มีโอกาสได้ฝึกการจับคู่สัญลักษณ์กับรูปถ่าย บนจอภาพโดยมีทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย เอมมอรี่ศึกษาพฤติกรรมของพวกมัน เมื่อพวกมันสามารถแยกแยะประเภทของรูปถ่ายได้อย่างถูกต้อง พวกมันก็จะได้รับผลไม้ชิ้นเล็กๆเป็นรางวัล นักวิจัยยังพบความน่าทึ่งอีก "ไม่ใช่ว่าลิงอุรังอุตังเหล่านี้กำลังเล่นเกมส์จับคู่เพื่อให้ได้รางวัลแจ็คพ็อตเป็นผลไม้หรอกนะ เพราะถึงแม้ว่าผลไม้ที่ใช้เป็นรางวัลจะหมดไปแล้ว พวกมันก็ยังคงใช้เวลากับการฝึกแก้ปัญหาบนจอภาพต่อไป"
ทีมวิจัยยังกล่าวอีกว่า พวกเขาได้เฝ้าสังเกตพวกมันเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าลิงเอปเหล่านี้จะไม่รู้สึกระแวงต้นไม้แห่งการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ของพวกมัน
"เราพยายามระวังไม่ให้กิจกรรมที่เราสร้างขึ้นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่างกันในกลุ่ม ที่อาจสร้างผลกระทบทางลบ หรือเป็นการสร้างความตึงเครียดให้เกิดขึ้นในหมู่ลิงใหญ่เหล่านี้ ดังนั้นเราจึงประเมินพวกมันตลอดเวลา แต่เราก็ยังไม่พบปัญหาเหล่านั้น ดูเหมือนพวกมันจะมีความสุขกับลำดับขั้นทางสังคมของพวกมัน"
ตรงกันข้ามกัน กับการพยายามเสริมสร้างทักษะโดยการซ่อนจอภาพไว้ในต้นไม้ในสวนสัตว์แอตแลนตา กลุ่มลิงอุรังอุตังที่สวนสัตว์ มิลวอคกี้ เคาน์ตี้ รัฐวิสคอนซิน กลับได้เล่นกับเทคโนโลยีล่าสุดของปัจจุบัน นั่นคือ ลิงเอปกับไอแพด
เมื่อคริสมาสต์ที่แล้ว องค์กรการกุศลเพื่อลิงอุรังอุตังชื่อ Orangutan Outreach ได้เริ่มทดลองใช้ไอแพดกับพวกมันเพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนอง "พวกมันถูกฝึกให้ใช้โปรแกรมระบายสี และ พวกมันก็ชอบดูวิดีโอบนไอแพด แต่พวกมันไม่ค่อยเล่นเกมส์ที่มีความซับซ้อนสักเท่าไหร่ " ริชาร์ด ซิมเมอร์แมน เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟัง
เขายังบอกกับบีบีซีอีกว่า มันเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของโปรเจค ทีมนักวิจัยที่สวนสัตว์โตรอนโตกำลังช่วยกันเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ต่อการตอบสนองต่อแท็ปเล็ตของเจ้าลิงเอปเหล่านี้
"มันไม่ได้เป็นของเล่น เพราะเราใช้ไอแพดเหล่านี้เป็นเครื่องมือ ซึ่งแน่นอนว่าใช้ไปในทิศทางที่จะเสริมสร้างกระบวนการคิดให้กับพวกลิงเหล่านี้" ในฐานะองค์กรอนุรักษ์ เป้าหมายของ Orangutan Outreach ก็คือการเพิ่มคุณค่าและสร้างการตระหนักรู้ถึงชะตากรรมของสัตว์ป่าให้กับประชาชนได้รับรู้ การนำไอแพดมาใช้กับศูนย์วิจัยและสวนสัตว์แอตแลนตา พวกเขาหวังว่าจะทำให้เกิดผลวิจัยเชิงลึกที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นด้วย
เห็นได้ชัดว่าอุรังอุตังถูกดึงดูดความสนใจโดยวัตถุที่ไม่คุ้นเคย แต่ที่สำคัญคือกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้กำลังสะท้อนการท้าทายธรรมชาติ เพราะมันไม่ได้เป็นอะไรที่เลียนแบบธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ก็ต้องเป็นต้นไม้ หรือผลไม้ก็ต้องเป็นผลไม้ แต่มันควรเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลจริงๆต่างหาก
จากการวิจัยพบว่าในส่วนของการให้สวัสดิการที่ดีกับสัตว์นั้น ต้องทำให้เกิดแรงกระตุ้นและได้ผลจริงกับตัวสัตว์มากกว่าแค่ทำให้เหมือนธรรมชาติ คลาร์กกล่าว
อีกการทดลองหนึ่ง คือการให้ลิงใช้จอยสติ๊กเล่นเกมส์
ดีเอ็นเอของเรา 97% มีความคล้ายคลึงกับดีเอ็นเอของอุรังอุตัง แต่กับชิมแปนซี ดีเอ็นเอของเราคล้ายคลึงกัน ถึง 99% เพราะฉะนั้นมันจึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะมีความสนใจพื้นฐานที่เหมือนกัน แต่ไม่ใช่แค่ลิงใหญ่ที่มีปฏิกิริยาตอบสนอง สิ่งเหล่านี้สะท้อนในงานวิจัยของศาสตราจารย์ จอห์น เดวิด สมิธ แห่งมหาวิทยาลัย นิวยอร์ค บัฟฟาโล และ ไมเคิล บีแรน แห่งมหาวิทยาลัยรัฐจอร์เจีย ที่ได้ฝึกให้ลิงมาคาค์ใช้จอยสติ๊กในการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
เพื่อวัดว่าลิงมองเห็นความต่างในความหนาแน่นของเม็ดสีที่ปรากฏอยู่ด้านบนของจอภาพ ซึ่งจะมีทั้งส่วนที่เม็ดสีเลือนลางกับส่วนที่มีเม็ดสีหนาแน่น ลิงจะถูกฝึกให้ใช้จอยสติ๊กในการเคลื่อนย้ายเคอร์เซิลไปหาตัวอักษร s หรือ d
"ลิงรีซัสสามารถฝึกให้ใช้จอยสติ๊กเพื่อเล่มเกมส์คอมพิวเตอร์หรือกิจกรรมอื่นที่หลากหลาย พวกมันไม่ลังเลและรู้สึกอิสระที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่นักวิจัยกำหนดให้ มันทำได้หลายชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว " ดร.บีแรน อธิบาย
ข้อมูลจากการวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า ลิงเหล่านั้นเลือกที่จะมีคอมพิวเตอร์ไว้เล่นมากกว่าไม่มีอะไรเลย แม้ว่าจะมีทางเลือกอื่นที่เป็นอาหารก็ตาม
สำหรับ ดร.บีแรน เกมส์คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแค่การสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้กับลิงเหล่านี้ แต่เกมส์ต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เห็นความซับซ้อนอย่างอื่นอีกด้วย เช่น "ในทางแล็บแล้ว ตัวชี้วัดที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในการเจ็บป่วยที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือการเจ็บป่วยทางจิตในลิง คือ การที่พวกมันมีการแสดงออกที่ช้าลงในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์" ดร.บีแกนกล่าว
ศาสตรจารย์ สมิท กล่าวเสริมอีกว่า "ในส่วนลึก ผมคิดว่าภารกิจที่เราให้พวกมันทำ เปรียบเหมือนการเล่น 'Sudoku' " ผมรู้สึกดีนะที่ภารกิจที่เราสร้างขึ้นนั้น เหมาะสมและเป็นมุมบวกต่อชีวิตลิงของเราด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ยังเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้และรู้จักลิงที่เป็นญาติของเราได้มากขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพวกมันอีกด้วย "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น