บทบาทของผู้หญิงในปัจจุบันมีความสำคัญและเป็นอีกแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 พบว่ามีแรงงานสตรีที่อายุ 15 ปีขึ้นไป 17.43 ล้านคน จากทั้งหมด 38.25 ล้านคน กฎหมายไทยให้ความสำคัญกับแรงงานหญิง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้วางกำหนดกฎเกณฑ์คุ้มครองแรงงานหญิงไว้หลายประการ ประการแรก ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานอันตราย เช่น งานเหมืองแร่ หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา งานที่ต้องทำบนนั่งร้านสูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่ลูกจ้างหญิงที่ทำงานด้านวิชาชีพ หรือวิชาการที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงจะอนุญาตให้ทำงานด้านการผลิตวัตถุไวไฟได้ ประการที่สอง ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ประเภทคือ 1. ทำงานช่วง 22.00 – 06.00 น. 2. ทำงานล่วงเวลาเว้นแต่ลูกจ้างหญิงที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ งานบัญชีหรือการเงิน ทำงานล่วงเวลาได้ โดยลูกจ้างหญิงนั้นยินยอมทำ 3. ทำงานในวันหยุด 4. ทำงานอันตรายต่อหญิงมีครรภ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง (1) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน (2) งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ (3) งานยก แบก หาบ หาม ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม (4) งานที่ทำในเรือ (5) งานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง หากนายจ้างฝ่าฝืนมีโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายก็ยกเว้นให้สำหรับงานล่วงเวลาที่นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานได้เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี สามารถทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ (ไม่ใช่ล่วงเวลาในช่วงวันหยุด) โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งตั้งครรภ์ไปหาหมอแล้วมีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้อีกต่อไป (เพราะอาจส่งผลต่อทารกและสุขภาพของเธอ) ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมชั่วคราวในช่วงก่อนหรือหลังคลอด แล้วให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสม ถ้าหากลูกจ้างหญิงขอเปลี่ยนงานแล้วนายจ้างไม่ให้ (ทั้ง ๆ ที่เธอมีใบรับรองแพทย์) หากนายจ้างฝ่าฝืนมีโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ นายจ้างปลดลูกจ้างเพราะเหตุตั้งครรภ์ไม่ได้ ฝ่าฝืนมีโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ นอกจากได้รับการคุ้มครองระหว่างการทำงานแล้ว กฎหมายยังคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ให้มีสิทธิลาคลอด (ในแต่ละครรภ์) ได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน นอกจากนี้ ในบางหน่วยงานก็จะให้สิทธิพิเศษ เพิ่มเติมในเรื่องการลาคลอดอีก (แล้วแต่ข้อกำหนดในการให้สิทธิลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ๆ ประการที่สาม นายจ้างต้องเปลี่ยนเวลาหรือลดเวลาทำงานเมื่อลูกจ้างหญิงทำงานในช่วงเวลา 24.00 – 06.00 น. แล้วพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างหญิง เช่น ทำงานเลิกตอนตีสอง แล้วไม่มีหอพัก ไม่มีรถรับส่ง ลูกจ้างหญิงต้องเดินทางกลับคนเดียวเข้าอยู่เปลี่ยว จะเจอเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นไม่อาจเดาได้ พนักงานตรวจแรงงานอาจสั่งให้ลดเวลาทำงานเหลือ 22.00 น. เป็นต้น
ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : วันวิศาข์ ภาคสุวรรณ์ / สนข. Rewriter : วันวิศาข์ ภาคสุวรรณ์ / สนข. สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th วันที่ข่าว : 17 เมษายน 2555 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น