วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 09:42:31 น. |
เคาะขึ้นไฟ 30 สตางค์/หน่วย "สองแถว-มินิบัส"ขึ้นพรวด 1.50บาททัวร์ ตจว.จ่ายเพิ่มกม.ละ 4 ส.ต. |
ปธ.เรกูเลเตอร์แจงช่วยลดภาระแล้ว จากที่เพิ่มจริง 57.45 ส.ต.
เผย 25 เม.ย.ใช้ไฟพีคทำสถิติอีกครั้ง
ก.แรงงานพร้อมให้′เอสเอ็มอี′กู้
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยภายหลังการประชุมการประมาณการไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าเอฟที สำหรับการเรียกเก็บในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555 เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมาว่า กกพ.มีมติให้ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือเอฟทีอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้นประมาณ 7-8% จากค่าไฟปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 3.23 บาทต่อหน่วย
นายดิเรกกล่าวว่า ทั้งนี้ เอฟทีที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มบางส่วน เพราะเอฟทีที่คำนวณจริงของงวดนี้เพิ่มขึ้นถึง 57.45 สตางค์หน่วย แบ่งเป็นต้นทุนค่าผลิตไฟฟ้า 38.40 สตางค์ต่อหน่วย ค่าเชื้อเพลิงรวมกับค่ารับซื้อไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระชั่วคราวอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่งวดที่ผ่านมา (มกราคม-เมษายน 2555) 19.05 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นวงเงิน 10,200 ล้านบาท
"แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน เรกูเลเตอร์จึงนำเงินจากการลงทุนที่ต่ำกว่าแผนของ 3 การไฟฟ้าระหว่างปี 2551-2553 จำนวน 3,100 ล้านบาท มาอุดหนุนค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้นสามารถลดลง 5.76 สตางค์ต่อหน่วย และนำส่วนลดจากการที่ประชาชนลดการใช้พลังงานระหว่างวันที่ 8-18 เมษายนที่ผ่านมา 2.64 สตางค์ต่อหน่วย มาหักลบ รวมทั้งขอให้ กฟผ.รับภาระค่าเชื้อเพลิงและค่ารับซื้อไฟฟ้า 19.05 สตางค์ต่อหน่วยอีกครั้ง เบ็ดเสร็จแล้วทำให้เอฟทีที่เพิ่มขึ้นเหลืออยู่ที่ 30 สตางค์ต่อหน่วย" นายดิเรกกล่าว
นายดิเรกกล่าวว่า สำหรับต้นทุนเอฟทีที่เพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนคิดเป็น 23% ของทั้งระบบช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2555 เพิ่มขึ้น 11.32% หรืออยู่ที่ 58,000 ล้านหน่วยจากเดือนกันยายน-ธันวาคม 2555 อยู่ที่ 51,955 ล้านหน่วย ขณะเดียวกันได้คำนวณประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งระบบเพิ่มขึ้นประมาณ 4% คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเท่ากับ 30.92 บาทต่อเหรียญสหรัฐ คำนวณจากราคาก๊าซธรรมชาติที่คิดเป็น 70% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าปรับขึ้น 8.63 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 301.28 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 2.95% คำนวณจากราคาน้ำมันเตาที่ปรับเพิ่มขึ้น 1.08 บาทต่อลิตร เป็น 25.87 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้น 4.36% และคำนวณจากราคาน้ำมันดีเซล ที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.92 บาทต่อลิตร เป็น 28.19 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้น 3.37%
นายดิเรกกล่าวว่า เรกูเลเตอร์จะนำรายละเอียดทั้งหมดเผยแพร่ผ่าน www.erc.or.th เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน-4 พฤษภาคม 2555 จากนั้นจะนำผลการรับฟังมาพิจารณาและประกาศเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อไป สำหรับเอฟทีรอบต่อไปคือกันยายน-ธันวาคม 2555 แม้จะยังเก็บแบบขั้นบันไดตามสูตรการคำนวณ แต่พบว่าแนวโน้มราคาพลังงานลดลง ดังนั้น คาดว่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้นจะลดลงตามไปด้วย
"ส่วนนโยบายไฟฟ้าฟรีสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วย จะได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บค่าไฟ แต่จะมีผลถึงเดือนพฤษภาคมนี้เท่านั้น เพราะตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป การยกเว้นค่าไฟจะคำนวณที่ปริมาณใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยเท่านั้น" นายดิเรกกล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน เวลาประมาณ 14.30 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ได้พุ่งสูงสุดเป็นครั้งที่ 6 อยู่ที่ 25,682 เมกะวัตต์ ทำลายสถิติวันที่ 24 เมษายน ซึ่งอยู่ที่ 25,551 เมกะวัตต์ สาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว มีอุณหภูมิสูงถึง 38.4 องศาเซลเซียส ทำให้ปริมาณการใช้ไฟเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีขยายตัวประมาณ 8% จากปกติการขยายตัวจะอยู่ที่ 4-5%
"เดิมปริมาณไฟฟ้าพีคปีนี้ กฟผ.คาดว่าจะอยู่ประมาณ 25,000 เมกะวัตต์ แต่เมื่อมีการทำลายสถิติบ่อยครั้งและพีคขึ้นไปกว่า 25,000 เมกะวัตต์ กฟผ.คงต้องนำตัวเลขมาวางแผนเพื่อปรับให้เป็นไปตามสถานการณ์มากขึ้น แต่ยืนยันว่าปริมาณสำรองที่มีอยู่เพียงพอแน่นอน" นายสุทัศน์กล่าว และว่า ปริมาณสำรองที่ กฟผ.วางแผนไว้ คำนวณจากปริมาณไฟฟ้าที่ กฟผ.ผลิตเอง รับซื้อจากเอกชนในไทยและต่างประเทศ รวม 31,000 เมกะวัตต์ สำรองอยู่ที่ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ แต่สถานการณ์จริงการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ได้เกิดขึ้น 100% ขณะที่โรงไฟฟ้าต้องหยุดซ่อมบำรุงตามปกติ ปริมาณสำรองจริงที่สามารถเรียกเข้าระบบจึงอยู่ที่ 1,000-2,000 เมกะวัตต์ แต่ถือว่าเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน
วันเดียวกัน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) เพื่อลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงานมี 2 โครงการได้แก่
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยภายหลังการประชุมการประมาณการไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าเอฟที สำหรับการเรียกเก็บในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555 เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมาว่า กกพ.มีมติให้ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือเอฟทีอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้นประมาณ 7-8% จากค่าไฟปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 3.23 บาทต่อหน่วย
นายดิเรกกล่าวว่า ทั้งนี้ เอฟทีที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มบางส่วน เพราะเอฟทีที่คำนวณจริงของงวดนี้เพิ่มขึ้นถึง 57.45 สตางค์หน่วย แบ่งเป็นต้นทุนค่าผลิตไฟฟ้า 38.40 สตางค์ต่อหน่วย ค่าเชื้อเพลิงรวมกับค่ารับซื้อไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระชั่วคราวอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่งวดที่ผ่านมา (มกราคม-เมษายน 2555) 19.05 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นวงเงิน 10,200 ล้านบาท
"แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน เรกูเลเตอร์จึงนำเงินจากการลงทุนที่ต่ำกว่าแผนของ 3 การไฟฟ้าระหว่างปี 2551-2553 จำนวน 3,100 ล้านบาท มาอุดหนุนค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้นสามารถลดลง 5.76 สตางค์ต่อหน่วย และนำส่วนลดจากการที่ประชาชนลดการใช้พลังงานระหว่างวันที่ 8-18 เมษายนที่ผ่านมา 2.64 สตางค์ต่อหน่วย มาหักลบ รวมทั้งขอให้ กฟผ.รับภาระค่าเชื้อเพลิงและค่ารับซื้อไฟฟ้า 19.05 สตางค์ต่อหน่วยอีกครั้ง เบ็ดเสร็จแล้วทำให้เอฟทีที่เพิ่มขึ้นเหลืออยู่ที่ 30 สตางค์ต่อหน่วย" นายดิเรกกล่าว
นายดิเรกกล่าวว่า สำหรับต้นทุนเอฟทีที่เพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนคิดเป็น 23% ของทั้งระบบช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2555 เพิ่มขึ้น 11.32% หรืออยู่ที่ 58,000 ล้านหน่วยจากเดือนกันยายน-ธันวาคม 2555 อยู่ที่ 51,955 ล้านหน่วย ขณะเดียวกันได้คำนวณประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งระบบเพิ่มขึ้นประมาณ 4% คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเท่ากับ 30.92 บาทต่อเหรียญสหรัฐ คำนวณจากราคาก๊าซธรรมชาติที่คิดเป็น 70% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าปรับขึ้น 8.63 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 301.28 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 2.95% คำนวณจากราคาน้ำมันเตาที่ปรับเพิ่มขึ้น 1.08 บาทต่อลิตร เป็น 25.87 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้น 4.36% และคำนวณจากราคาน้ำมันดีเซล ที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.92 บาทต่อลิตร เป็น 28.19 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้น 3.37%
นายดิเรกกล่าวว่า เรกูเลเตอร์จะนำรายละเอียดทั้งหมดเผยแพร่ผ่าน www.erc.or.th เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน-4 พฤษภาคม 2555 จากนั้นจะนำผลการรับฟังมาพิจารณาและประกาศเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อไป สำหรับเอฟทีรอบต่อไปคือกันยายน-ธันวาคม 2555 แม้จะยังเก็บแบบขั้นบันไดตามสูตรการคำนวณ แต่พบว่าแนวโน้มราคาพลังงานลดลง ดังนั้น คาดว่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้นจะลดลงตามไปด้วย
"ส่วนนโยบายไฟฟ้าฟรีสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วย จะได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บค่าไฟ แต่จะมีผลถึงเดือนพฤษภาคมนี้เท่านั้น เพราะตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป การยกเว้นค่าไฟจะคำนวณที่ปริมาณใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยเท่านั้น" นายดิเรกกล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน เวลาประมาณ 14.30 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ได้พุ่งสูงสุดเป็นครั้งที่ 6 อยู่ที่ 25,682 เมกะวัตต์ ทำลายสถิติวันที่ 24 เมษายน ซึ่งอยู่ที่ 25,551 เมกะวัตต์ สาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว มีอุณหภูมิสูงถึง 38.4 องศาเซลเซียส ทำให้ปริมาณการใช้ไฟเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีขยายตัวประมาณ 8% จากปกติการขยายตัวจะอยู่ที่ 4-5%
"เดิมปริมาณไฟฟ้าพีคปีนี้ กฟผ.คาดว่าจะอยู่ประมาณ 25,000 เมกะวัตต์ แต่เมื่อมีการทำลายสถิติบ่อยครั้งและพีคขึ้นไปกว่า 25,000 เมกะวัตต์ กฟผ.คงต้องนำตัวเลขมาวางแผนเพื่อปรับให้เป็นไปตามสถานการณ์มากขึ้น แต่ยืนยันว่าปริมาณสำรองที่มีอยู่เพียงพอแน่นอน" นายสุทัศน์กล่าว และว่า ปริมาณสำรองที่ กฟผ.วางแผนไว้ คำนวณจากปริมาณไฟฟ้าที่ กฟผ.ผลิตเอง รับซื้อจากเอกชนในไทยและต่างประเทศ รวม 31,000 เมกะวัตต์ สำรองอยู่ที่ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ แต่สถานการณ์จริงการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ได้เกิดขึ้น 100% ขณะที่โรงไฟฟ้าต้องหยุดซ่อมบำรุงตามปกติ ปริมาณสำรองจริงที่สามารถเรียกเข้าระบบจึงอยู่ที่ 1,000-2,000 เมกะวัตต์ แต่ถือว่าเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน
วันเดียวกัน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) เพื่อลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงานมี 2 โครงการได้แก่
1.โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผ่านกองทุนประกันสังคมวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ผู้กู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 คงที่ 3 ปี ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดอกเบี้ยร้อยละ 5 คงที่ 3 ปี โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปล่อยกู้ธนาคาร 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารแลนด์แอนเฮ้าส์ และธนาคารเกียรตินาคิน โดยสถานประกอบการที่จะกู้ต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.สถานประกอบการที่มีลูกจ้างไม่เกิน 50 คน กู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท
2.มีลูกจ้าง 51-200 คน กู้ได้ไม่เกิน 2 ล้านบาท และ
3.มีลูกจ้างตั้งแต่ 201 คนขึ้นไปกู้ได้ไม่เกิน 4 ล้านบาท
2.โครงการกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ให้เอสเอ็มอีกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อปี ระยะเวลาชำระคืน 4 ปี ปัจจุบันกองทุนมีเงิน 570 ล้านบาท ทั้ง 2 โครงการนี้ผู้ประกอบการสามารถติดต่อ สปส.และ กพร.ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้
"ในอนาคตจะต้องจัดทำโครงสร้างค่าจ้างรายปีแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อขยับค่าจ้างให้แก่แรงงานที่ทำงาน 2-3 ปีขึ้นไป ส่วนแรงงานที่เข้าใหม่ ซึ่งได้รับค่าจ้างขั้นต่ำก็ต้องเปลี่ยนจากการรับค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นค่าจ้างแรกเข้า เพราะเมื่อขยับค่าจ้างขั้นต่ำให้แก่แรงงานเข้าใหม่ แรงงานเดิมก็ควรได้รับการขยับขึ้นค่าจ้างที่เหมาะสมเพื่อความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องระยะยาว ต้องหารือกับหลายฝ่าย เมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจน กระทรวงแรงงานจะเสนอคณะกรรมการค่าจ้างกลางพิจารณาต่อไป" นพ.สมเกียรติกล่าว
วันเดียวกัน นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกฯ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทย" ในงาน 60 ปีไทยโทรทัศน์ 35 ปี อสมท ว่าในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาไทยเสียโอกาสทางด้านการลงทุนไปมาก เนื่องจากยังฝังใจกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าศักยภาพที่เรามี รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หากต้องลงทุนทั้งหมดจะใช้เงินกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่เบื้องต้นจะเน้นด้านระบบรางและระบบชลประทานก่อน โดยเฉพาะระบบรางนั้นน่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาท
นายวีรพงษ์กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเบื้องต้นจะผลักดันให้ก่อสร้างโดยเร็ว โดยเส้นทางเหนือน่าจะเริ่มได้จากกรุงเทพฯถึงพิษณุโลก เพราะหากรอถึงเชียงใหม่อาจไม่ได้เริ่ม สายตะวันออกเริ่มที่กรุงเทพฯถึงพัทยาก่อนจะขยายต่อไปถึงระยอง สายอีสานกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา ก่อนขยายไปถึงหนองคาย และสายใต้เริ่มที่กรุงเทพฯถึงหัวหินก่อนจะขยายไปถึงสุไหงโก-ลกและมาเลเซีย
"โครงการลงทุนในเมืองไทยยากตรงจุดเริ่มต้น หากเริ่มต้นได้การก่อสร้างส่วนต่อขยายไม่ใช่เรื่องยาก ในระยะ 5-6 ปีนี้ผมอยากเห็นโครงการลงทุนระบบรางทันสมัย หากสิ่งที่ตั้งเป้าไว้สำเร็จได้ 50-60% ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว" นายวีรพงษ์กล่าว
วันเดียวกัน นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง กล่าวภายหลังประชุมพิจารณาปรับอัตราค่ารถโดยสารสาธารณะ ว่า ที่ประชุมมีมติดังนี้
"ในอนาคตจะต้องจัดทำโครงสร้างค่าจ้างรายปีแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อขยับค่าจ้างให้แก่แรงงานที่ทำงาน 2-3 ปีขึ้นไป ส่วนแรงงานที่เข้าใหม่ ซึ่งได้รับค่าจ้างขั้นต่ำก็ต้องเปลี่ยนจากการรับค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นค่าจ้างแรกเข้า เพราะเมื่อขยับค่าจ้างขั้นต่ำให้แก่แรงงานเข้าใหม่ แรงงานเดิมก็ควรได้รับการขยับขึ้นค่าจ้างที่เหมาะสมเพื่อความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องระยะยาว ต้องหารือกับหลายฝ่าย เมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจน กระทรวงแรงงานจะเสนอคณะกรรมการค่าจ้างกลางพิจารณาต่อไป" นพ.สมเกียรติกล่าว
วันเดียวกัน นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกฯ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทย" ในงาน 60 ปีไทยโทรทัศน์ 35 ปี อสมท ว่าในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาไทยเสียโอกาสทางด้านการลงทุนไปมาก เนื่องจากยังฝังใจกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าศักยภาพที่เรามี รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หากต้องลงทุนทั้งหมดจะใช้เงินกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่เบื้องต้นจะเน้นด้านระบบรางและระบบชลประทานก่อน โดยเฉพาะระบบรางนั้นน่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาท
นายวีรพงษ์กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเบื้องต้นจะผลักดันให้ก่อสร้างโดยเร็ว โดยเส้นทางเหนือน่าจะเริ่มได้จากกรุงเทพฯถึงพิษณุโลก เพราะหากรอถึงเชียงใหม่อาจไม่ได้เริ่ม สายตะวันออกเริ่มที่กรุงเทพฯถึงพัทยาก่อนจะขยายต่อไปถึงระยอง สายอีสานกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา ก่อนขยายไปถึงหนองคาย และสายใต้เริ่มที่กรุงเทพฯถึงหัวหินก่อนจะขยายไปถึงสุไหงโก-ลกและมาเลเซีย
"โครงการลงทุนในเมืองไทยยากตรงจุดเริ่มต้น หากเริ่มต้นได้การก่อสร้างส่วนต่อขยายไม่ใช่เรื่องยาก ในระยะ 5-6 ปีนี้ผมอยากเห็นโครงการลงทุนระบบรางทันสมัย หากสิ่งที่ตั้งเป้าไว้สำเร็จได้ 50-60% ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว" นายวีรพงษ์กล่าว
วันเดียวกัน นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง กล่าวภายหลังประชุมพิจารณาปรับอัตราค่ารถโดยสารสาธารณะ ว่า ที่ประชุมมีมติดังนี้
รถหมวด 1 คือ รถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการ ขสมก. ยังไม่ให้ปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารในขณะนี้ แต่จะให้ปรับขึ้นได้ 1 บาท เมื่อราคาก๊าซเอ็นจีวีขึ้นไปอยู่ในอัตรา 9.50 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 8.50 บาทต่อกิโลกรัม
"เมื่อต้นทุนจากก๊าซเอ็นจีวีที่ 9.50 บาท สามารถปรับขึ้นราคาได้ทันที โดยรถธรรมดา (รถร้อน) ปัจจุบันเก็บค่าโดยสาร 8 บาท ก็ขึ้นไปเป็น 9 บาท ได้ทันที ส่วนรถปรับอากาศ ก็ขึ้นระยะละ 1 บาท จากที่เก็บอยู่ในตอนนี้"
ส่วนรถหมวด 2 คือ รถโดยสารที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯกับต่างจังหวัด และรถหมวด 3 คือ รถโดยสารที่วิ่งระหว่างจังหวัด ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 0.04 บาทต่อกิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป โดยอัตราค่าโดยสารใหม่ คือ ในช่วง 40 กิโลเมตรแรก จะคิดค่าโดยสารรวม 0.55 บาท ระยะ 40-100 กิโลเมตร คิดค่าโดยสารรวม 0.50 บาท ระยะ 100-200 กิโลเมตร คิดค่าโดยสารรวม 0.46 บาท และระยะตั้งแต่ 200 กิโลเมตรขึ้นไป คิดค่าโดยสาร 42 กิโลเมตร เช่น ในเส้นทางชลบุรี-คลองด่าน ปัจจุบันเก็บค่าโดยสาร 19 บาท ก็เพิ่มเป็น 20 บาท เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ปัจจุบัน 280 บาท ก็เพิ่มเป็น 313 บาท เป็นต้น
นายศรศักดิ์กล่าวว่า สำหรับรถหมวด 4 คือ รถสองแถวที่วิ่งในซอย ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารจาก 5.50 บาท เป็น 7 บาท และให้เก็บเพิ่มเป็น 9 บาท ในช่วงเวลา 22.00-05.00 น. จากปัจจุบันที่เก็บค่าโดยสารเพิ่มในช่วงเวลาดังกล่าว 1.50 บาท ส่วนรถมินิบัสเดิมเป็นรถสองแถว และได้มีการปรับเป็นรถยนต์ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาเป็น 8 บาท จากปัจจุบันคิดค่าโดยสาร 6.50 บาท โดยให้มีผลในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้เช่นเดียวกัน
นางสุจินดา เชิดชัย หรือเจ๊เกียว นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสาร กล่าวว่า เบื้องต้นจะขอยอมรับอัตราที่คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางปรับให้ก่อน แต่ยังไม่พอใจเพราะทางสมาคมได้ขอปรับขึ้นในอัตรา 0.06 บาทต่อกิโลเมตร ดังนั้นจะทำหนังสือไปยังคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อขอปรับขึ้นราคาตามที่สมาคมได้ยื่นขอไปก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง
นายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน (รถร่วม ขสมก.) กล่าวว่า ขณะนี้ราคาเอ็นจีวีอยู่ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทางผู้ประกอบการได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ 2 บาท ราคาจึงอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ ภาครัฐจะยุติการช่วยเหลือแล้ว ดังนั้นราคาเอ็นจีวีจะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 11-11.50 บาทต่อกิโลกรัม จึงต้องการเรียกร้องให้คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางอนุมัติให้ปรับขึ้นราคารถโดยสาร
"เมื่อต้นทุนจากก๊าซเอ็นจีวีที่ 9.50 บาท สามารถปรับขึ้นราคาได้ทันที โดยรถธรรมดา (รถร้อน) ปัจจุบันเก็บค่าโดยสาร 8 บาท ก็ขึ้นไปเป็น 9 บาท ได้ทันที ส่วนรถปรับอากาศ ก็ขึ้นระยะละ 1 บาท จากที่เก็บอยู่ในตอนนี้"
ส่วนรถหมวด 2 คือ รถโดยสารที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯกับต่างจังหวัด และรถหมวด 3 คือ รถโดยสารที่วิ่งระหว่างจังหวัด ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 0.04 บาทต่อกิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป โดยอัตราค่าโดยสารใหม่ คือ ในช่วง 40 กิโลเมตรแรก จะคิดค่าโดยสารรวม 0.55 บาท ระยะ 40-100 กิโลเมตร คิดค่าโดยสารรวม 0.50 บาท ระยะ 100-200 กิโลเมตร คิดค่าโดยสารรวม 0.46 บาท และระยะตั้งแต่ 200 กิโลเมตรขึ้นไป คิดค่าโดยสาร 42 กิโลเมตร เช่น ในเส้นทางชลบุรี-คลองด่าน ปัจจุบันเก็บค่าโดยสาร 19 บาท ก็เพิ่มเป็น 20 บาท เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ปัจจุบัน 280 บาท ก็เพิ่มเป็น 313 บาท เป็นต้น
นายศรศักดิ์กล่าวว่า สำหรับรถหมวด 4 คือ รถสองแถวที่วิ่งในซอย ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารจาก 5.50 บาท เป็น 7 บาท และให้เก็บเพิ่มเป็น 9 บาท ในช่วงเวลา 22.00-05.00 น. จากปัจจุบันที่เก็บค่าโดยสารเพิ่มในช่วงเวลาดังกล่าว 1.50 บาท ส่วนรถมินิบัสเดิมเป็นรถสองแถว และได้มีการปรับเป็นรถยนต์ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาเป็น 8 บาท จากปัจจุบันคิดค่าโดยสาร 6.50 บาท โดยให้มีผลในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้เช่นเดียวกัน
นางสุจินดา เชิดชัย หรือเจ๊เกียว นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสาร กล่าวว่า เบื้องต้นจะขอยอมรับอัตราที่คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางปรับให้ก่อน แต่ยังไม่พอใจเพราะทางสมาคมได้ขอปรับขึ้นในอัตรา 0.06 บาทต่อกิโลเมตร ดังนั้นจะทำหนังสือไปยังคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อขอปรับขึ้นราคาตามที่สมาคมได้ยื่นขอไปก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง
นายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน (รถร่วม ขสมก.) กล่าวว่า ขณะนี้ราคาเอ็นจีวีอยู่ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทางผู้ประกอบการได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ 2 บาท ราคาจึงอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ ภาครัฐจะยุติการช่วยเหลือแล้ว ดังนั้นราคาเอ็นจีวีจะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 11-11.50 บาทต่อกิโลกรัม จึงต้องการเรียกร้องให้คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางอนุมัติให้ปรับขึ้นราคารถโดยสาร
ขสมก.ในช่วงนี้ เพราะตามระเบียบ เมื่อพิจารณาให้ปรับขึ้นจะต้องใช้ระยะเวลา 15 วัน จึงจะสามารถปรับราคาขึ้นได้ หากในวันที่ 16 พฤษภาคม ยังไม่มีมติให้รถร่วม ขสมก.ปรับขึ้นค่าโดยสาร ผู้ประกอบการจะหยุดให้บริการทันที
(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 เมษายน 2555)
(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 เมษายน 2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น