วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน



จาก: Kittiya Sophonphokai <kittiya@ombudsman.go.th>
วันที่: 11 เมษายน 2555, 12:45
หัวเรื่อง: เกร็ดความเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ถึง: 

อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินไว้ในมาตรา ๒๔๔ ไว้ดังต่อไปนี้ คือ

                   (๑) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี

                        (ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

                        (ข) การปฏิบัติหรือละเลยการไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม

                        (ค) การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล

                        (ง) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                   (๒) ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม และมาตรา ๒๘๐

                   (๓) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น

                   (๔) รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี ทั้งนี้ ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย

                   การใช้อำนาจตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเมื่อมีการร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า การกระทำดังกล่าวมีความกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้

 

                   นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ ยังกำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น และมาตรา ๒๘๐ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำประมวลจริยธรรม และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม จึงเห็นได้ว่า อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของผู้ตรวจการแผ่นดินตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ล้วนยึดโยงอยู่กับการกระทำหรือไม่กระทำการของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐแทบทั้งสิ้น 

 

กิตติยา(เจี๊ยบ) โสภณโภไคย

นักวิชาการอาวุโสระดับสูง

สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

'  0 2141 9277  7 0 2143 8373

* kittiya@ombudsman.go.th or

     sophon_kit@hotmail.com

 

 

 

  

 

 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น