วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มาช่วยกันวิเคราะห์-ทำไมพนังกั้นน้ำและประตูน้ำถึงพัง ?????

 



โดย Pegasus

ก็คงต้องพูดอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญเนเธอร์แลนด์บอกว่า เรื่องการระบายน้ำอย่าเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะน้ำนี่อันตรายเหลือเกิน 

เพียงเพื่อต้องการล้มรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ปูพื้นความนิยมกลับไปสู่ระบบเผด็จการซ่อนรูป หรือไปถึงขนาดกลับไปสู่ระบอบเผด็จการแบบเปิดเผยที่โหมกระพือในสื่อ และโซเชียลเนทเวิร์คกันอย่างไม่ลืมหูลืมตาในขณะนี้ 

เพราะเข้าใจดีว่าคนกรุงเทพฯเป็นคนเปราะบาง ตกใจง่าย ตื่นกลัวและชักจูงได้ง่ายอย่างไร้เหตุผลเสียเป็นส่วนมาก

โดยไม่สนใจการเสียชีวิตของประชาชนร่วมชาติเกือบห้าร้อยชีวิต และสิ้นเนื้อประดาตัวอีกเป็นล้านๆคน และทั้งๆที่รัฐบาลยังปกป้องคนกลุ่มน้อย 4 ล้านคน โดยเสียสละคนส่วนใหญ่ 40 กว่าล้านคนไป

นักวิชาเกินและผู้เชี่ยวชาญน้ำจากฝั่งอำมาตย์จำนวนหนึ่งหลอกรัฐบา ลและประชาชนว่า กรุงเทพฯอยู่ใกล้ทะเล ปล่อยน้ำผ่านไปลงทะเลเลยไม่ต้องทำอะไร 

ซึ่งหากรัฐบาลเชื่อจะเกิดวิบัติขนาดหนักขึ้นยิ่งกว่าในต่างจังหวัด เพราะในต่างจังหวัดนั้น พื้นที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ ปล่อยน้ำระบายไปได้ตลอดทาง แต่กรุงเทพฯเป็นที่ทึบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย ระบายน้ำช้า 

แม้ขณะนี้แค่ประตูน้ำที่ถูกแอบพังไปเพียงประตูเดียวคือประตูน้ำคลองสามวา น้ำที่เข้ามาก็วิ่งเอื่อยๆไม่ไปไหนสักที และมีปริมาณมาก ทำเอาคนกรุงเทพฯแทบกินไม่ได้นอนไม่หลับ 

ถ้าปล่อยทั้ง 12 ประตู มีหรือจะอยู่รอด ทั้งจะขังเป็นเดือนๆ น้ำเน่าสนิทไปหมด พินาศวอดวายหมดสิ้น 

ถามว่าคนประดานี้รู้หรือไม่ ตอบว่าน่าจะรู้ดีทีเดียว แต่แผนก็คือแผน ยิ่งไปกว่านั้นปริมาณน้ำจำนวนมากเมื่อเข้ามาในที่แคบจะเกิดการยกระดับขึ้น สูง 

และนี่คือที่มาของการพังทลายของคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำในหลายที่ เมื่อข้าราชการบริหารจังหวะน้ำผิดพลาดทำให้ระดับน้ำขึ้นสูง (จงใจหรือเปล่านี่คือคำถาม สำหรับผู้จบวิศวกรรมชลประทาน) เพราะเมื่อน้ำขึ้นสู งแรงดันน้ำจะมากกว่าน้ำที่มีระดับต่ำอย่างเทียบกันไม่ติด ซึ่งจะเป็นประเด็นสำหรับบทความในครั้งนี้

ก่อนอื่นขอให้มาศึกษาระบบเขื่อนทั่วไป เขาสร้างกันอย่างไร 
 


สิ่ง ที่ควรสังเกตคือ เขื่อนจะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแข็งแรงในกรณีเขื่อนเก็บน้ำ ไม่ใช่ฝายน้ำล้น เพราะมีเจตนาต้องการเก็บน้ำไว้จริงๆ ดูที่ด้านหลังของเขื่อนจะมีความใหญ่กว้าด้านหน้าและแข็งแรงมาก ส่วนที่จะเจาะช่องเพื่อระบายน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าอะไรก็ว่าไป 

แต่จะสรุปตรงนี้ว่า น้ำนั้นมีแรงดันมหาศาล ยิ่งมีระดับสูงมากยิ่งขึ้น แรงดันจะมากยิ่งขึ้นการก่อสร้างเขื่อน ประตูน้ำหรือพนังกั้นน้ำจึงต้องแข็งแรงสัมพันธ์กับความสูงของระดับน้ำ 

นี่คือหัวใจสำคัญว่าทำไม ฝ่ายอำมาตย์จึงให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนเป็นจังหวะ เป็นมวลน้ำขนาดใหญ่มาเป็นระลอกๆ ไม่ระบายน้ำมาเรื่อยๆ ทำไมต้องเก็บน้ำไว้ให้มากที่สุดแล้วระบายทีเดียวทีละมากๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะมีแรงดันน้ำพอที่จะทำลายสิ่งที่กีดขวางได้นั่นเอง

ประเด็นต่อไปคือ การสู้กับน้ำ จริงอยู่เราสู้กับธรรมชาติไม่ไหวแน่ แต่เราสามารถเบี่ยงเบ นหรือควบคุมการไหลให้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเกินไป หรือทยอยให้เกิดการระบายน้ำได้ทัน เช่นที่รัฐบาลโดย ศปภ.วางบิ๊กแบ๊กไม่ให้ปริมาณน้ำเข้ามาใน กทม.มากจนควบคุมไม่ได้ และจัดส่งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มเติมให้อีก 71 เครื่องจากที่ขอมา 60 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กอีก 200 เครื่องเพื่อเร่งสูบน้ำในพื้นที่ กทม.เศรษฐีแกล้งจน 

ในขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองอีกฝ่ายก็กลัวว่า รัฐบาลจะแก้ปัญหาได้จึงปลุกระดมคนออกมากรีดบิ๊กแบ๊ก กับออกมาประท้วงไม่ให้วางในพื้นที่ฝั่งธนบุ เพื่อที่ว่าอย่างน้อยมีพื้นที่เสียหายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อแผน การประท้วงล้มรัฐบาลในขั้นต่อไป ตามประกาศิต 6 เดือนล้มรัฐบาลของอำมาตย์

แล้วมีอะไรผิดพลาดในการต่อสู้กับน้ำที่ผ่านมา ในกรณีที่มีการสร้างกระสอบทรายป้องกันน้ำนั้น เราจะสร้างเป็นคันกั้นน้ำในลักษณะความสูงมากกว่าความกว้างเนื่องจากเห็นว่า ปริมาณน้ำมามากมีระดับสูง 

และเข้าใจว่าเพียงมีความสูงเท่าระดับน้ำแล้วจะป้องกันได้ ซึ่งอาจไม่ถูกต้องกับวิธีการก่อกระสอบทรายอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันน้ำท่วม เพื่อให้พอมองเห็นภาพจะขอนำวิธีการก่อกระสอบทรายมาตรฐานมาให้ได้พิจารณากัน ว่า ที่ผ่านๆมานั้นเราได้มีการวางกระสอบทรายกันเช่นนี้หรือไม่

วิธีการวางกระสอบทรายนั้นมีหลักการเช่นเดียวกับการสร้างเขื่อน คือต้องมีฐานรากกว้างและแข็งแรง แต่เพราะคันกั้นน้ำชั่วคราวไม่ได้สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนมากเป็นกระสอบทรายจึงขอนำวิธีการวางกระสอบทรายมาให้ดูรูปกันก่อน
 


หลัก ง่ายๆของการก่อกระสอบทรายจะเห็นว่า วางกระสอบสลับกันเป็นฟันปลา ด้านล่างสุดต้องถางหญ้าออกจนหมดก่อนแล้วจึงค่อยๆก่อขึ้นไปตามลำดับ 

มาตรฐานความกว้างคือ 3 เท่าของความสูงเป็นอย่างน้อย ความสูงนั้นต้องพ้นจากระดับน้ำที่จะมาถึง โดยต้องไม่หันหน้ากระสอบทรายเข้าปะทะกับแนวน้ำแต่เป็นการก่อกระสอบทรายไปใน ทิศทางเดียวกับน้ำ เป็นการบังคับทิศทางน้ำไม่ใช่การสู้กับน้ำโดยตรง

จำนวนกระสอบทรายที่ใช้คือเท่าไร สูตรเป็นดังนี้

ในระยะยาวแบบตรงๆ 3000 เซนติเมตร หรือ 30 เมตร
ความสูง 30 เซนติเมตร ใช้กระสอบทราย 600 ถุง (ต้องไม่ใส่เต็มถุง)
ความสูง 60 เซนติเมตร ใช้กระสอบทราย 1700 ถุง
ความสูง 90 เซนติเมตร ใช้กระสอบทราย 3000 ถุง
ความสูง 120 เซนติเมตร ใช้กระสอบทราย 5500 ถุง
ความสูง 150 เซนติเมตร ใช้กระสอบทราย 9000 ถุง

และเพื่อไม่ให้เกิดจุดรั่วซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นของการพังของคันกั้นน้ำปกติ จะต้องหาแผ่นพลาสติกมารองด้านที่ติดน้ำแล้วนำกระสอบทรายมาวางให้เกิดน้ำหนัก อีกที 
 



ทีนี้เราทำกันอย่างไรมาเริ่มต้นที่พนังกั้นน้ำแบบชาวบ้าน ในที่นี้ขอยกวิธีการที่วัดพระธรรมกายใช้ในการวางกระสอบทรายมาให้ดูก่อน ตามข่าวจากมูลนิธิพระธรรมกาย (ก่อนอื่นขอขอบคุณที่ได้ช่วยทำกระสอบ บี๊กแบ๊กจำนวนมากโดยไม่โฆษณาชวนเชื่อแบบฝ่ายอำมาตย์ ดังนั้นตอนนี้เชื่อว่าคันกั้นน้ำแข็งแรงดีแล้ว) 
"พนังกั้นน้ำที่สร้างครั้งนี้ มีความยาว 200 เมตร สูง 1.50 เมตร ใช้กระสอบทราย 6,000 ถุง เรียงซ้อนกันโดยลดหลั่นลงมาถึง 5 ชั้น"
เมื่อ ดูจากการเปรียบเทียบกับการก่อสร้างคันกั้นน้ำมาตรฐานแล้วจะพบว่า คันกั้นน้ำของวัดพระธรรมกาย(แบบเดิม) น่าจะอันตรายมาก เพราะในระยะทางแค่ 30 เมตร ความสูง 1.50 เมตร ต้องใช้กระสอบทรายอย่างน้อย 9000 ถุง เป็นต้น 

ดังนั้นถ้าจะให้ถูกต้องจริง วัดพระธรรมกายต้องใช้กระสอบทรายเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 60000 ถุง หรืออีก 10 เท่าจึงจะพอ 

ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่า แผนในการปล่อยน้ำมวลจำนวนมากเพื่อสร้างระดับความสูง คือการตั้งใจทำลายคันกั้นน้ำชั่วคราวทั้งสิ้น รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลดูเหมือนบริหารงานผิดพลาด ตามแผน 6 เดือนเผด็จศึกดังกล่าวแล้ว 

นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมไม่ยอมระบายน้ำ ด้วยการทยอยและประตูระบายน้ำที่เก่า ไม่มีการซ่อมแซม (ตั้งใจหรือเปล่า) ไม่รวมที่มีการเข้าไปพังด้วยคนอีกต่างหาก จึงพังพินาศตลอดแนวน้ำผ่าน 

แต่เอ ทำไมอำมาตย์จึงวางแผนเรื่องน้ำเก่งจริงๆ น่าสงสัย

ลองมาดูคันกั้นน้ำชั่วคราวในนิคมอุตสาหกรรม นวนคร ที่ใกล้กรุงเทพฯที่สุด พังทีหลังสุด (แปลกใจหรือไม่ ทำไมเหล่าวิศวกรชลประทานไม่ไปแนะนำการสร้างคันระบายน้ำที่ถูกต้อง รัฐบาลช่วยสอบสวนทีเหอะ) 

ทั้งๆที่นิคมอุตสาหกรรมที่อื่นพังมาแล้ว ทำไมการป้องกันที่ นวนคร ยังผิดพลาดอีกนี่คือสิ่งต้องสงสัย มาดูการสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราวนิคมฯนวนครกัน (ขอขอบคุณพนักงานและชาวบ้านที่ลงแรงด้วยน้ำใจสร้างคันกั้นน้ำแห่งนี้ ด้วยน้ำตา)
 



พนังกั้นน้ำของนิคมนวนคร เทียบกับขนาดของคนแล้วน่าจะสูงประมาณ 4 เมตร ตามการคาดการว่า น้ำจะมีระดับสูงเช่นนั้น และมีความกว้างน้อยมากคือประมาณไม่เกิน 6 เมตรเท่านั้นหรือน้อยกว่า

ต่อมามีแนวพนังกั้นน้ำแตกยาว 6 เมตรชั้นนอก และ 30 เมตรชั้นใน ฝ่ายทหารก็เข้าทำการซ่อมแซมตามคำให้สัมภาษณ์ดังนี้
"พ.อ.ทรง วิทย์ หนุนภักดี ผบ.ร.11.รอ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากพล.อ.ประยุทธ จันทร์ โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ( ผบ.ทบ.) ให้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า ขณะนี้เกิดรอยรั่วซึม 2 จุด บริเวณทางตอนเหนือของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี โดยเจ้าหน้าที่ได้เร่งซ่อมแซมไปแล้ว 1 จุด ยังเหลืออีก 1 จุด ซึ่งเป็นการเข้าไปเสริมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เพื่อเป็นแนวป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าตัวนิคมอุตสาหกรรมด้วยการสร้างแรง ป้องกันสูงถึง 4.5 เมตร กว้าง 4.5 เมตร ขณะที่ระดับน้ำอยู่ที่ระดับ 4.2 เมตร" 
แค่อ่านการให้สัมภาษณ์ท่านผู้อ่านก็คงรู้แล้วว่า ไม่รอด

อาจมีคนสงสัยว่า น้ำ 4 เมตรที่ปทุมฯนี่มันมากน้อยแค่ไหน (ด้านบนที่เป็นแนวน้ำเช่น อ่างทอง อยุธยา ท่วมบ้านสองชั้นหรือคือประมาณ 6-8 เมตร) ลองมาดูอุปกรณ์ป้องกันน้ำในต่างประเทศสองชนิด ปกติจะกำหนดระดับน้ำไว้ที่ไม่เกิน 2.4 เมตรเท่านั้น 4 เมตรจึงถือว่าเป็นหายนะ ตามแผนของอำมาตย์ใหญ่

แบบแรกนี้เป็นการใช้อุปกรณ์ค้ำยันธรรมดา แบบที่สองด้านขวาเป็นการใช้น้ำต้านน้ำเป็นอุปกรณ์ไวนิลกันน้ำแต่บรรจุน้ำ สร้างเป็นเหมือนทำนบกั้นน้ำได้ แต่ทั้งสองชนิดกำหนดความสูงของน้ำไว้ไม่เกิน 2.4 เมตร 
 


หลาย ท่านอาจสงสัยว่า บิ๊กแบ๊กคืออะไร ถ้าเป็นแบบมาตรฐานของต่างประเทศถุงจะติดกันเป็นแนวยาว บรรจุหินคลุกที่มีน้ำหนักมากเพื่อเป็นฐานที่แข็งแรง 

ในช่วงสุดท้ายนี้ก็ขอเข้าสู่การคำนวณอะไรเล็กๆน้อยให้พอมองเห็นภาพว่า ความสูงของน้ำที่มากนั้นทำลายล้างคันกั้นน้ำได้อย่างไร ในรูปแรกเป็นรูป พื้นที่ 4 เหลี่ยมธรรมดา กับ ปริมาตรในขนาดกว้าง ยาวเท่ากับพื้นที่ สมมติว่าการคำนวณนี้เริ่มต้นที่ พื้นที่ 1 ตารางเมตรคือ กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ส่วนปริมาตรก็สมมติว่าเป็นน้ำ ซึ่งคิดเป็นลูกบาศก์เมตร หรือพูดภาษาชาวบ้านว่า คิว ซึ่งมาจาก คิวบิกเมตร ในพื้นที่เท่ากันก็จะมีน้ำ 1 คิว คำนวณจาก กว้าง ยาว ลึก เป็น 1x1x1=1 ในกรณีน้ำ 1 คิวเทียบแล้วจะมีน้ำหนักเท่ากับ 1 ตันกรณีน้ำแท้ๆ ถ้าน้ำท่วมมีสารอินทรีย์และอนินทรีย์มากขึ้นความหนาแน่นน่าจะมากขึ้น ก็คงจะหนักกว่า 1 ตันเล็กน้อย แต่ตีขลุมไว้ก่อนว่า 1 ตัน

ต่อมาสมมติน้ำสูงขึ้นอีก 1-2 เมตรเป็นความสูง 2 หรือ 3 เมตร การคำนวณก็จะเปลี่ยนไป พื้นที่การรับน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 4 และ 9 ตารางเมตร ตามลำดับ แต่ปริมาตรสิ กลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นการคำนวณคือ 2x2x2=8 และ 3x3x3=27 และถ้าเป็น 4 เมตรอย่างนวนคร 

ก็สรุปได้ว่าพื้นที่รับน้ำคือ 16 ตารางเมตรเพื่อรับปริมาตรน้ำ 64 คิว หรือ 64 ตัน ในความลึกแค่ 4 เมตร แต่ความจริงจะมีน้ำดันมาในระดับความสูงเท่ากันในความลึกมากกว่านี้เหมือนกับ ว่ามีก้อนน้ำช่วยดันอีก 8-10 เท่า ขึ้นอยู่กับความลึกและทิศที่น้ำไหลมา 

แต่ถ้าไม่ปะทะตรงๆก็เหลือเพียงแรงเฉือนก็ลดลงไปได้ ดังรูปในชุดที่สองที่มีความสูงเพิ่มอีกเล็กน้อยทำให้เพิ่มพื้นที่อีกไม่มาก นักแต่ปริมาตรนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากนั่นหมายถึงน้ำหนักเป็นตันๆทีเดียว 

การบริหารจัดการที่ดีจึงต้องพยายามไม่ให้ปริมาณน้ำสูงมาก ถ้าไม่เกิน 2 เมตร หรือครึ่งหนึ่งของบ้านชั้นล่างได้ก็จะเป็นการดี ยังดีที่รัฐบาลจัดการให้น้ำกระจายไปในทิศทางต่างๆได้มากพอให้ความสูงของน้ำ ที่เข้ามาใน กทม.จริงๆ ไม่มากนักและไม่เกิน 2 เมตร ตามมาตรฐานทั่วไป 

บวกกับพระสยามเทวาธิราชมีจริงทำให้ไม่มีฝนในช่วงน้ำเหนือมาถึงพอดี แผนการจึงล้มเหลวไป

แต่ก็อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่านี่เป็นแผนการล้มรัฐบาล การปล่อยน้ำเป็นจังหวะทีละจำนวนมาก แถม กทม.ทำเป็นซื้อเวลาเพื่อให้น้ำมาประดังให้มากที่สุดและไม่ยอมกำจัดวัชพืช ของเสีย สิ่งกีดขวางทางน้ำไว้ล่วงหน้า เครื่องสูบน้ำเสีย ฯลฯ ทำอย่างกับรู้ว่างานจะจบที่การท่วมกทม.นั่นเอง 

ยังดีที่รัฐบาลไม่บ้าจี้ เอาน้ำไหลผ่าน กทม.ลงทะเลอย่างที่ยุกัน มิฉะนั้นจะเสียหายมากกว่านี้ แค่มีคนแอบไปพังประตูคลองสามเพื่อยึด ศปภ.เหมือนยึดทำเนียบรัฐบาล คนกทม.ก็ขวัญผวาแล้ว ทุกวันนี้ต้องเอาตำรวจไปคุมคันกั้นน้ำ กับประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ กันคนมารื้อ กับเจ้าหน้าที่ที่ไม่ยอมทำงานกันแปลกจริงๆแทนจะช่วยกันแบบญี่ปุ่น กลับมุ่งทำลายล้างกันโดยไม่สนใจประชาชนกันเลย 

ไหนว่าเป็นคนดีมีคุณธรรมและรักประชาชนไง 

http://thaienews.blogspot.com/2011/11/blog-post_8727.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น