วันที่ 24 ก.ย. ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เปิดเผยผลการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ว่า จากการวิเคราะห์การกระจายตัวของค่าแรงของแรงงานที่เป็นเยาวชนของไทย พบว่า มีสัดส่วนประมาณ 73% ถึง 77% ของค่าแรงของแรงงานที่เป็นผู้ใหญ่ ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับเกณฑ์ที่ได้จากผลการศึกษาในต่างประเทศ
นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั้งประเทศ จะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็น 58.7% ของค่าแรงเฉลี่ยของประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก และจะกระทบกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่และภาพรวมของประเทศในช่วง 18 เดือน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีหน้า
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงในแง่ของภาพรวมของการจ้างงานก็คือ แม้ว่าอัตราการว่างงานของไทยในเดือนกรกฏาคม 2555 จะต่ำเพียง 0.6% แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนภาวะที่แท้จริงของตลาดแรงงาน ซึ่งโดยปกติแล้ว การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายที่มีต่อการจ้างงาน จะใช้อัตราการว่างงานตามนิยามปกติเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการวิเคราะห์อัตราการว่างงานโดยใช้นิยามการว่างงานอย่างกว้าง หรือผู้ว่างงานบวกผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะตกงานและผู้ที่มีชั่วโมงทำงานต่ำ จะพบว่า อัตราการว่างงานของไทยจะสูงถึง 5.9% คิดเป็น 10 เท่าของอัตราการว่างงานตามนิยามปกติ
จาก 70 จังหวัดที่ทำการศึกษา จังหวัดมีสัดส่วนค่าแรงขั้นต่ำต่อค่าแรงเฉลี่ยสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ นราธิวาส (83.9%) ตาก (79.8%) ลำพูน (78.9%) สระแก้ว (75.9%) ราชบุรี (75.4%) ประจวบคีรีขันธ์ (75.3%) ปัตตานี (74.3%) ลพบุรี (72.7%) หนองบัวลำพู (72.0%) และอ่างทอง (71.9%)
เมื่อนำลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของพื้นที่และเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มาพิจาณาด้วยแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส และปัตตานี อาจจะไม่รุนแรงมากไปกว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากนัก
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ นครพนม (42.5%) ยโสธร (42.6%) ร้อยเอ็ด (45.9%) สกลนคร (47.2%) น่าน (47.6%) กาฬสินธุ์ (48.4%) พัทลุง (49.4%) มุกดาหาร (50.0%) ศรีสะเกษ (50.9%) และพังงา (51.1%)
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
| วันที่ 24 ก.ย. ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เปิดเผยผลการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ว่าจะส่งผลต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจของจังหวัดในระดับใด โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติในการวิเคราะห์ พบว่า 5 จังหวัดที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมากที่สุดใน 70 จังหวัด ได้แก่ จ.ตาก ลำพูน สระแก้ว ราชบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำในต่างประเทศพบว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้เกิดการเลิกจ้างในระดับที่แตกต่างกัน ยิ่งค่าแรงขั้นต่ำใหม่มีค่าใกล้เคียงกับค่าแรงเฉลี่ยของพื้นที่ ผลการเลิกจ้างก็จะยิ่งสูงขึ้น โดยจากการศึกษาพบว่า หากค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจนเกินกว่า 40 % ของค่าแรงเฉลี่ย เช่น ถ้าค่าแรงเฉลี่ยเท่ากับ 500 บาทต่อวัน 40% ของค่าแรงเฉลี่ยจะเท่ากับ 200 บาทต่อวัน จะเกิดปัญหาเลิกจ้างอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการเลิกจ้างแรงงานที่เป็นเยาวชน และแรงงานของธุรกิจเอสเอ็มอี ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย กล่าวว่า ประสบการณ์จากละตินอเมริกา อเมริกา อังกฤษ และยุโรป ชี้ให้เห็นว่านอกจากปัญหาการเลิกจ้างและการเพิ่มขึ้นค่าครองชีพแล้ว การชะลอการจ้างงานเพิ่ม และโอกาสได้งานทำของเยาวชนก็เป็นเรื่องไม่ควรมองข้าม เพราะปัญหาทั้งสองเรื่องนี้ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของแรงงานที่ต้องการทำงานแต่หางานทำไม่ได้ ที่สำคัญ การปล่อยให้มีแรงงานกลุ่มนี้มากขึ้นยังหมายถึงการเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลังของรัฐบาล และการลดลงของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของธนาคารโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่า สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและความพร้อมของพื้นที่ รวมถึงระดับค่าแรงเฉลี่ยในพื้นที่ |
คลิกอ่าน ผลวิจัยเผย 5 จังหวัดต่อไปนี้ ได้รับผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทำธุรกิจ SME พัง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348481555&grpid=03&catid=05&subcatid=0501
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น