วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพ 10-12 ตุลาคม 2555 RTG - WHO Collaboration: Disaster Management


สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 
ขอเชิญผู้สนใจ เข้ารับการอบรม
การจัดการภัยพิบัติด้านสาธารณสุข ส าหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
ภายใต้แผนงาน RTG - WHO Collaboration: Disaster Management
โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพ
10-12 ตุลาคม 2555
หลักการและเหตุผล
ปัญหาภัยพิบัติทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ถือเป็นภัยอุบัติใหม่ที่คุกคามทุก
ประเทศในโลก และอาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น ดังนั้น ความพยายามในการป้องกันและลดความสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินอันเกิดจากสาธารณภัยนับว่ามีความส าคัญมากขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ส าหรับประเทศไทยที่ผ่านมา เกิดสาธารณภัย
ขึ้นหลายด้าน เช่น มหาอุทกภัยในปี 2554 ที่ประเทศไทยเพิ่งเผชิญกันมา ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 
อย่างไรก็ตาม การรับมือกับอันตรายจากสาธารณภัยยังคงเป็นประเด็นท้าทายที่ส าคัญ จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน
หลายด้านสะท้อนให้เห็นว่าระบบการจัดการภัยพิบัติในภาพรวมยังจ าเป็นต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในระดับการ
ป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือในการเผชิญหน้าและจัดการปัญหา ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่มีแผนปฏิบัติการเพื่อ
รับมือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุข อย่างไรก็ตามยังขาดความเชื่อมโยงในการบริหารจัดการ
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก าหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง สถาบันการแพทย์
ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) ตระหนักถึงความส าคัญของการมีหลักสูตรการบริหารจัดการภัยพิบัติส าหรับผู้บริหารดังกล่าว จึงได้
ร่วมกับสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนพัฒนาหลักสูตร  Disaster 
Management ส าหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ของกระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์ทั่วไป
1. เพื่อสร้างให้เกิดเครือข่ายผู้น าในการจัดการภัยพิบัติด้านสาธารณสุข
2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ Disaster Management Concept
3. ผู้เรียนเข้าใจระบบบัญชาการเหตุการ (ICS) และ ระบบการจัดการอุบัติภัยหมู่ทางการแพทย์ (MIMMS) และได้ฝึก
ปฏิบัติบัญชาการเหตุการณ์และการจัดการอุบัติหมู่
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ กรอบแนวคิด หลักการส าคัญของ Disaster, Disaster management, 
Disaster medicine, Public Health Emergency Response
2. เพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนาแนวทางการจัดการภัยพิบัติส าหรับประเทศไทย Thai Disaster management 
system
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจแนวทาง และฝึกปฏิบัติDisaster management ในประเด็นของ
a. ICS and MIMMSD:\admin\Desktop\disaster\course outline\framework/disaster for PR 120816
b. Resource management
c. Health service system and health workforce 
d. Community resilience 
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม
1. รับผู้เข้าร่วมอบรมไม่เกิน 50 คน โดยแต่ละคนต้องมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่/จังหวัด โดย
ต้องสมัครเป็นทีมของจังหวัด จังหวัดละ 5-6 คน โดยในจ านวนนี้ต้องมีผู้บริหารที่มีหน้าที่สั่งการเมื่อเกิดภัยพิบัติในระดับ
จังหวัดร่วมด้วย
2. ผู้บริหารระดับสูง หมายถึง ผู้บัญชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข(Incident Commander) หรือผู้แทนที่
สามารถตัดสินใจได้ 
3. ผู้บริหารระดับกลาง หมายถึง ทีมจัดการภัยพิบัติในพื้นที่/จังหวัด (ผชช ว. หรือหัวหน้างานส านักงานระบบ
การแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด/แพทย์ผู้รับผิดชอบศูนย์สั่งการจังหวัด/ผู้รับผิดชอบงานการแพทย์ฉุกเฉินระดับ รพ.ชุมชน/ผู้แทน
หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน)   
4. ผู้เข้าร่วมอบรมต้องสามารถเข้าร่วม ได้ครบเต็มเวลาทั้ง 3 วัน
เอกสารที่ต้องเตรียมและส่งให้ผู้จัดก่อนการอบรม (ภายในวันที่ 30 กันยายน 2555)
1. แผนรับมือกับภัยพิบัติในจังหวัดของตนเอง
2. Presentation file (slides) น าเสนอแผนเตรียมการและจัดการภัยพิบัติของจังหวัด
3. น าตัวอย่างการเตรียมการและการจัดการภัยพิบัติที่ท าได้ดี และที่คิดว่าต้องปรับปรุงมาน าเสนอ อาจเป็น Slides VDO หรือ
สื่ออื่นๆ ตามความเหมาะสม
รูปแบบของการอบรม
 Self-learning
 Self-evaluation
 Case scenario ถอดบทเรียน
 Table top exercise
 Pre-test and post-test  
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ผู้ประสานงาน คุณฑิพรดา กองตาพันธุ์ โทรศัพท์ 02 441-9040-3 ต่อ 66 
หมายเหตุ
ฟรีค่าลงทะเบียน ผู้เข้าอบรมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น