"พระเมธีธรรมาจารย์" เผยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา มีการแจง 4 ข้อห่วงใยจัดตั้ง 'ธนาคารพุทธ' ยังย้ำวัตถุประสงค์อุปถัมภ์พระศาสนา ยึดรูปแบบ ธ.ก.ส. กลไกปล่อยเงินกู้...
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดี
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะเลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมาธิการการศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการชี้แจง 4 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาที่ทางที่ประชุมแสดงความกังวล
ประเด็นที่ 1 คือ ธนาคารพระพุทธศาสนาแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ ตรงที่ธนาคารพุทธศาสนาเป็นธนาคารเฉพาะที่มีบทบาทและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง คือ ส่งเสริม อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของพุทธศาสนิกชน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์คือธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน จำกัด
พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 โครงสร้างการบริหารของธนาคารพุทธศาสนา ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 ท่าน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา การเงิน การธนาคาร และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการธนาคารอีก 8 ท่าน กรรมการชุดที่ 2 เลือกจากผู้ถือหุ้นอีก 4 ท่าน รวมกับกรรมการชุดแรกเป็น 19 ท่าน
ประเด็นที่ 3 กลไกการให้สินเชื่อ จะให้สินเชื่อแก่พุทธศาสนิกชน องค์กรทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ กลไกการให้สินเชื่อของธนาคารพุทธศาสนา คือการให้กู้แบบกลุ่มลักษณะเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประเด็นที่ 4 กรณีที่วัดต้องการขอสินเชื่อ ต้องทำในนามคณะกรรมการวัดหรือมูลนิธิ โดยมีไวยาวัจกรที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายจากวัดเป็นลายลักษณ์อักษรทำนิติกรรม โดยเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมจะสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข่าว : ไทยรัฐ
11 ธันวาคม 2555
http://www.thairath.co.th/content/edu/312541
"พระเมธีธรรมาจารย์" เผยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา มีการแจง 4 ข้อห่วงใยจัดตั้ง 'ธนาคารพุทธ' ยังย้ำวัตถุประสงค์อุปถัมภ์พระศาสนา ยึดรูปแบบ ธ.ก.ส. กลไกปล่อยเงินกู้...
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะเลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมาธิการการศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการชี้แจง 4 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาที่ทางที่ประชุมแสดงความกังวล
ประเด็นที่ 1 คือ ธนาคารพระพุทธศาสนาแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ ตรงที่ธนาคารพุทธศาสนาเป็นธนาคารเฉพาะที่มีบทบาทและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง คือ ส่งเสริม อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของพุทธศาสนิกชน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์คือธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน จำกัด
พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 โครงสร้างการบริหารของธนาคารพุทธศาสนา ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 ท่าน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา การเงิน การธนาคาร และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการธนาคารอีก 8 ท่าน กรรมการชุดที่ 2 เลือกจากผู้ถือหุ้นอีก 4 ท่าน รวมกับกรรมการชุดแรกเป็น 19 ท่าน
ประเด็นที่ 3 กลไกการให้สินเชื่อ จะให้สินเชื่อแก่พุทธศาสนิกชน องค์กรทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ กลไกการให้สินเชื่อของธนาคารพุทธศาสนา คือการให้กู้แบบกลุ่มลักษณะเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประเด็นที่ 4 กรณีที่วัดต้องการขอสินเชื่อ ต้องทำในนามคณะกรรมการวัดหรือมูลนิธิ โดยมีไวยาวัจกรที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายจากวัดเป็นลายลักษณ์อักษรทำนิติกรรม โดยเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมจะสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข่าว : ไทยรัฐ
11 ธันวาคม 2555
http://www.thairath.co.th/content/edu/312541
ประเด็นที่ 1 คือ ธนาคารพระพุทธศาสนาแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ ตรงที่ธนาคารพุทธศาสนาเป็นธนาคารเฉพาะที่มีบทบาทและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง คือ ส่งเสริม อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของพุทธศาสนิกชน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์คือธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน จำกัด
พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 โครงสร้างการบริหารของธนาคารพุทธศาสนา ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 ท่าน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา การเงิน การธนาคาร และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการธนาคารอีก 8 ท่าน กรรมการชุดที่ 2 เลือกจากผู้ถือหุ้นอีก 4 ท่าน รวมกับกรรมการชุดแรกเป็น 19 ท่าน
ประเด็นที่ 3 กลไกการให้สินเชื่อ จะให้สินเชื่อแก่พุทธศาสนิกชน องค์กรทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ กลไกการให้สินเชื่อของธนาคารพุทธศาสนา คือการให้กู้แบบกลุ่มลักษณะเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประเด็นที่ 4 กรณีที่วัดต้องการขอสินเชื่อ ต้องทำในนามคณะกรรมการวัดหรือมูลนิธิ โดยมีไวยาวัจกรที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายจากวัดเป็นลายลักษณ์อักษรทำนิติกรรม โดยเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมจะสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข่าว : ไทยรัฐ
11 ธันวาคม 2555
http://www.thairath.co.th/content/edu/312541
"พระเมธีธรรมาจารย์" เผยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา มีการแจง 4 ข้อห่วงใยจัดตั้ง 'ธนาคารพุทธ' ยังย้ำวัตถุประสงค์อุปถัมภ์พระศาสนา ยึดรูปแบบ ธ.ก.ส. กลไกปล่อยเงินกู้...
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะเลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมาธิการการศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการชี้แจง 4 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาที่ทางที่ประชุมแสดงความกังวล
ประเด็นที่ 1 คือ ธนาคารพระพุทธศาสนาแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ ตรงที่ธนาคารพุทธศาสนาเป็นธนาคารเฉพาะที่มีบทบาทและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง คือ ส่งเสริม อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของพุทธศาสนิกชน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์คือธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน จำกัด
พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 โครงสร้างการบริหารของธนาคารพุทธศาสนา ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 ท่าน ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา การเงิน การธนาคาร และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการธนาคารอีก 8 ท่าน กรรมการชุดที่ 2 เลือกจากผู้ถือหุ้นอีก 4 ท่าน รวมกับกรรมการชุดแรกเป็น 19 ท่าน
ประเด็นที่ 3 กลไกการให้สินเชื่อ จะให้สินเชื่อแก่พุทธศาสนิกชน องค์กรทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ กลไกการให้สินเชื่อของธนาคารพุทธศาสนา คือการให้กู้แบบกลุ่มลักษณะเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประเด็นที่ 4 กรณีที่วัดต้องการขอสินเชื่อ ต้องทำในนามคณะกรรมการวัดหรือมูลนิธิ โดยมีไวยาวัจกรที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายจากวัดเป็นลายลักษณ์อักษรทำนิติกรรม โดยเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมจะสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข่าว : ไทยรัฐ
11 ธันวาคม 2555
http://www.thairath.co.th/content/edu/312541
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น