บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๕
ตามรอยท่านติชนัทฮันห์ – ปรมาจารย์แห่งการเจริญสติแห่งยุค
ร.ศ. น.พ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที
ตามรอยท่านติชนัทฮันห์ – ปรมาจารย์แห่งการเจริญสติแห่งยุค
ร.ศ. น.พ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที
่ผ่านมาผมได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง "กลไกทางสมองกับการปฏิบัติธรรม" ที่
"ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ" อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เจ้าภาพ คือ สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งได้จัดประชุมฝึกอบรมพัฒนาวุฒิภาวะสำหรับบุคลากรของสปสช. และผู้ปฏิบัติงานขององค์การเครือข่ายด้านสาธารณสุข ประมาณ๑๕๐ คนในครั้งนี้ โดยใช้ชื่อว่า "ภาวนาวิถีหมู่บ้านพลัม : สร้างสุขภาวะด้วยลมหายใจและรอยยิ้ม"
ผมมีโอกาสพักแรมและร่วมกิจกรรมบางส่วนกับผู้ที่มาฝึกปฏิบัติ ครั้งนี้ มีนักบวช
"ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ" อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เจ้าภาพ คือ สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งได้จัดประชุมฝึกอบรมพัฒนาวุฒิภาวะสำหรับบุคลากรของสปสช. และผู้ปฏิบัติงานขององค์การเครือข่ายด้านสาธารณสุข ประมาณ๑๕๐ คนในครั้งนี้ โดยใช้ชื่อว่า "ภาวนาวิถีหมู่บ้านพลัม : สร้างสุขภาวะด้วยลมหายใจและรอยยิ้ม"
ผมมีโอกาสพักแรมและร่วมกิจกรรมบางส่วนกับผู้ที่มาฝึกปฏิบัติ ครั้งนี้ มีนักบวช
(ภิกษุ ภิกษุณี มีทั้งชาวไทย เวียดนาม และฝรั่ง)แห่งหมู่บ้านพลัมในเมืองไทย ๓๐ – ๔๐ ท่าน
และธรรมาจารย์จากหมู่บ้านพลัมที่ต่างแดนมาร่วมปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย
ท่านหลวงปู่นัทฮันห์ ( คนทั่วไป เรียกว่า "ติช นัท ฮันห์" ) ปรมาจารย์นิกายเซนชาวเวียดนาม
ท่านหลวงปู่นัทฮันห์ ( คนทั่วไป เรียกว่า "ติช นัท ฮันห์" ) ปรมาจารย์นิกายเซนชาวเวียดนาม
ซึ่งอพยพไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ในช่วงสงครามเวียดนาม และตั้งสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นที่นั่น เรียกว่า"หมู่บ้านพลัม"
ท่านได้นำการปฏิบัติ บรรยาย และเขียนหนังสือ เผยแพร่แนวทางพัฒนาจิตหรือสร้างสุขภายในโดยการเจริญสติ (ดำรงความรู้สึกตัว)อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน คือ มีสติรู้ตัวอยู่กับการทำกิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน กินอาหาร ดื่มน้ำ ล้างจาน ซักผ้า รีดผ้า กวาดบ้าน ขับรถ เป็นต้น มาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
วิธีนี้ตรงกับวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบัน จึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันตก
ท่านได้นำการปฏิบัติ บรรยาย และเขียนหนังสือ เผยแพร่แนวทางพัฒนาจิตหรือสร้างสุขภายในโดยการเจริญสติ (ดำรงความรู้สึกตัว)อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน คือ มีสติรู้ตัวอยู่กับการทำกิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน กินอาหาร ดื่มน้ำ ล้างจาน ซักผ้า รีดผ้า กวาดบ้าน ขับรถ เป็นต้น มาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
วิธีนี้ตรงกับวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบัน จึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันตก
ที่ไม่คุ้นกับคำสอนทางพุทธศาสนามาก่อน จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปรมาจารย์แห่งการเจริญสติของโลก"
ท่านได้เดินทางไปสอนยังประเทศต่างๆ และเคยมาสอนที่เมืองไทยอยู่เรื่อยมา ปัจจุบันได้ขยาย "หมู่บ้านพลัม"
ท่านได้เดินทางไปสอนยังประเทศต่างๆ และเคยมาสอนที่เมืองไทยอยู่เรื่อยมา ปัจจุบันได้ขยาย "หมู่บ้านพลัม"
ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งในบ้านเรา
ผมอ่านหนังสือเล่มแรกของท่าน ชื่อ "ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ (The Miracle of Being Awake)" และได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติกับตัวเองมากว่า ๓๐ ปี นับแต่นั้นมาก็ได้ซื้อหนังสือเล่มนี้แจกกัลยาณมิตรผู้สนใจทั้งไทยและเทศอยู่เรื่อยมา และก็ได้ติดตามอ่านข้อเขียนข้อคิดของท่านมาโดยตลอด ที่ผ่านมามีกัลยาณมิตรหลายท่านชวนให้เข้าฝึกปฏิบัติ แต่ก็ไม่สะดวกเข้าร่วมสักครั้ง คราวนี้ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้สัมผัสและเรียนรู้
ผมได้ร่วมปฏิบัติการเจริญสติผ่านกิจกรรม เช่น ร่วมวงกินอาหารกับฆราวาสและนักบวชอย่างเงียบ (ไม่คุย) ก่อนเปิบข้าว ก็ตั้งสติระลึกถึงบุญคุณของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำอาหารให้เรากิน (เช่น เกษตรกรผู้ผลิตอาหาร แม่ครัวผู้เตรียมอาหาร) เมื่อเริ่มเปิบข้าวก็ตั้งสติตักอาหารอย่างสำรวม เคี้ยวอาหารแต่ละคำอย่างช้าๆ (คำละ ๓๐ - ๕๐ ครั้ง) เมื่อกินเสร็จก็นำจานไปล้างในที่ๆเตรียมไว้ โดยฝีกการมีสติรู้ตัวอยู่ที่การล้างจาน
เช้ามืดวันหนึ่งได้ร่วมนั่งสมาธิในห้องประชุมนานเป็นชั่วโมง ฝึกตามรู้ลมหายใจเข้า - หายใจออก หลังจากนั้นมีการภาวนาบทสวดภาษาไทยที่ตอกย้ำให้คิดดี – ทำดี โดยมีการตีระฆังพัก (ให้ตี่นตัว)เป็นระยะๆ
หลังจากนั้น ธรรมมาจารย์หญิงท่านหนึ่งก็นำเราเดินเป็นทิวแถวไปตามทางที่ขึ้นเนินเขาเตี้ยๆ เป็นการเดินเจริญสติ ก้าวไปทีละก้าวช้าๆ อย่างรู้ตัวกับจังหวะเท้าที่ก้าว โดยไม่ต้องบริกรรมใดๆ ทั้งสิ้น บางครั้งก็หยุดยืนชมวิวธรรมชาติที่อยู่เบื้องล่าง เมื่อขึ้นถึงยอดเนิน ก็พัก แล้วทำกายบริหารด้วยการเคลื่อนไหวท่าต่างๆ พร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้า – ออก ตามจังหวะ คล้ายการฝึกชี่กง เป็นท่ากายบริหารที่นักบวชแห่งหมู่บ้านพลัมใช้ปฏิบัติกัน (เน้นบริหารจิตควบคู่กับบริหารกาย)
ข้อน่าสังเกต คือ บรรยากาศของการอยู่ร่วมกันค่อนข้างผ่อนคลาย ในการประชุม แม้จะเงียบสงบ แต่ก็สามารถพูดคุยกันเบาๆ ยิ้มและหัวเราะได้ หรือลุกขึ้นถ่ายภาพได้ บางครั้งระหว่างพัก ก็มีการร้องเพลงธรรมของหมู่บ้านพลัม มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ นักบวช (ในชุดจีวรสีน้ำตาลไหม้) ก็ร่วมเล่นกีตาร์ประกอบบทเพลงด้วย
ในการทำกิจกรรมทุกอย่าง จะมีการตีระฆังในช่วงเริ่มต้นและปิดท้าย และระหว่างดำเนินกิจกรรมก็มีเสียงระฆังปลุกให้เกิดสติตื่นรู้เป็นระยะๆ ตอนที่ผมบรรยาย ทางผู้จัดก็กระซิบบอกว่าให้มีจังหวะพัก (นาน ๑ -๒ นาที) เป็นช่วงๆ โดยส่งสัญญาณให้คนคอยตีระฆังในแต่ละช่วงที่พัก
ผมรู้สึกติดใจในเสียงระฆัง นอกจากเสียงที่กังวานและไพเราะแล้ว ยังได้ยินคลื่นเสียงหลายวงที่ค่อยๆ แผ่วลงเป็นลำดับ คล้ายคลื่นน้ำ (อันเกิดจากหินที่โยนลงไป) แผ่ออกหลายวงที่ค่อยๆ หายไปเป็นลำดับ รู้สึกว่ามันสร้างความตื่นรู้ในความสงบได้เป็นอย่างดี
ในการฝึกตามวิถีหมู่บ้านพลัมนี้ เน้นการสร้างสติรู้ตัวในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยการหัดทำอะไรอย่างช้าๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้น ตอนหัดทำใหม่ๆ อาจรู้สึกอึดอัด เพราะฝืนกับความเคยชินที่ชอบทำอะไรอย่างรีบเร่ง (จนติดนิสัยที่ชอบด่วนตัดสินหรือตอบโต้ทันควัน) การฝึกกินช้าๆ เดินช้าๆ อย่างมีสติ เป็นกลอุบายฝึกจิตให้มีความตื่นรู้ เฝ้าดูสิ่งต่างๆอย่างเป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินหรือตอบโต้ทันควัน ซึ่งอาจผิดพลาด เสียหาย เกิดการเบียดเบียนผู้อื่นและตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังฝึกให้มีปัญญาพิจารณาถึงหลักที่ว่า "สรรพสิ่งล้วนแต่อิงอาศัยกัน" (โดยการระลึกถึงบุญคุณของคนที่ปลูกข้าว ปลูกผัก และทำอาหารให้เรากิน) และ "สรรพสิ่งไม่เที่ยง ล้วนแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยตลอดเวลา" ซึ่งจะช่วยให้เรารู้จักถ่อมตัว ชื่นชมและเคารพในคุณค่าของผู้คนและสิ่งต่างๆ และรู้จักปล่อยวาง ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์ ส่วนการภาวนาบทสวด และร้องเพลงธรรม ก็เป็นการใส่โปรแกรมในจิตใจ (สมอง) ให้เกิดความเคยชิน (นิสัย) ในการคิดดี ทำดี แทนการคิดไม่ดี ทำไม่ดี (ซึ่งเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามกลไกทางสมอง)
ก็ขอแบ่งปันบทเรียนอันมีค่าของผมจากการสัมผัสวิถีหมู่บ้านพลัมนอกเหนือจากตัวหนังสือที่เคยดื่มด่ำมาช้านาน !
ผมอ่านหนังสือเล่มแรกของท่าน ชื่อ "ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ (The Miracle of Being Awake)" และได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติกับตัวเองมากว่า ๓๐ ปี นับแต่นั้นมาก็ได้ซื้อหนังสือเล่มนี้แจกกัลยาณมิตรผู้สนใจทั้งไทยและเทศอยู่เรื่อยมา และก็ได้ติดตามอ่านข้อเขียนข้อคิดของท่านมาโดยตลอด ที่ผ่านมามีกัลยาณมิตรหลายท่านชวนให้เข้าฝึกปฏิบัติ แต่ก็ไม่สะดวกเข้าร่วมสักครั้ง คราวนี้ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้สัมผัสและเรียนรู้
ผมได้ร่วมปฏิบัติการเจริญสติผ่านกิจกรรม เช่น ร่วมวงกินอาหารกับฆราวาสและนักบวชอย่างเงียบ (ไม่คุย) ก่อนเปิบข้าว ก็ตั้งสติระลึกถึงบุญคุณของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำอาหารให้เรากิน (เช่น เกษตรกรผู้ผลิตอาหาร แม่ครัวผู้เตรียมอาหาร) เมื่อเริ่มเปิบข้าวก็ตั้งสติตักอาหารอย่างสำรวม เคี้ยวอาหารแต่ละคำอย่างช้าๆ (คำละ ๓๐ - ๕๐ ครั้ง) เมื่อกินเสร็จก็นำจานไปล้างในที่ๆเตรียมไว้ โดยฝีกการมีสติรู้ตัวอยู่ที่การล้างจาน
เช้ามืดวันหนึ่งได้ร่วมนั่งสมาธิในห้องประชุมนานเป็นชั่วโมง ฝึกตามรู้ลมหายใจเข้า - หายใจออก หลังจากนั้นมีการภาวนาบทสวดภาษาไทยที่ตอกย้ำให้คิดดี – ทำดี โดยมีการตีระฆังพัก (ให้ตี่นตัว)เป็นระยะๆ
หลังจากนั้น ธรรมมาจารย์หญิงท่านหนึ่งก็นำเราเดินเป็นทิวแถวไปตามทางที่ขึ้นเนินเขาเตี้ยๆ เป็นการเดินเจริญสติ ก้าวไปทีละก้าวช้าๆ อย่างรู้ตัวกับจังหวะเท้าที่ก้าว โดยไม่ต้องบริกรรมใดๆ ทั้งสิ้น บางครั้งก็หยุดยืนชมวิวธรรมชาติที่อยู่เบื้องล่าง เมื่อขึ้นถึงยอดเนิน ก็พัก แล้วทำกายบริหารด้วยการเคลื่อนไหวท่าต่างๆ พร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้า – ออก ตามจังหวะ คล้ายการฝึกชี่กง เป็นท่ากายบริหารที่นักบวชแห่งหมู่บ้านพลัมใช้ปฏิบัติกัน (เน้นบริหารจิตควบคู่กับบริหารกาย)
ข้อน่าสังเกต คือ บรรยากาศของการอยู่ร่วมกันค่อนข้างผ่อนคลาย ในการประชุม แม้จะเงียบสงบ แต่ก็สามารถพูดคุยกันเบาๆ ยิ้มและหัวเราะได้ หรือลุกขึ้นถ่ายภาพได้ บางครั้งระหว่างพัก ก็มีการร้องเพลงธรรมของหมู่บ้านพลัม มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ นักบวช (ในชุดจีวรสีน้ำตาลไหม้) ก็ร่วมเล่นกีตาร์ประกอบบทเพลงด้วย
ในการทำกิจกรรมทุกอย่าง จะมีการตีระฆังในช่วงเริ่มต้นและปิดท้าย และระหว่างดำเนินกิจกรรมก็มีเสียงระฆังปลุกให้เกิดสติตื่นรู้เป็นระยะๆ ตอนที่ผมบรรยาย ทางผู้จัดก็กระซิบบอกว่าให้มีจังหวะพัก (นาน ๑ -๒ นาที) เป็นช่วงๆ โดยส่งสัญญาณให้คนคอยตีระฆังในแต่ละช่วงที่พัก
ผมรู้สึกติดใจในเสียงระฆัง นอกจากเสียงที่กังวานและไพเราะแล้ว ยังได้ยินคลื่นเสียงหลายวงที่ค่อยๆ แผ่วลงเป็นลำดับ คล้ายคลื่นน้ำ (อันเกิดจากหินที่โยนลงไป) แผ่ออกหลายวงที่ค่อยๆ หายไปเป็นลำดับ รู้สึกว่ามันสร้างความตื่นรู้ในความสงบได้เป็นอย่างดี
ในการฝึกตามวิถีหมู่บ้านพลัมนี้ เน้นการสร้างสติรู้ตัวในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยการหัดทำอะไรอย่างช้าๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้น ตอนหัดทำใหม่ๆ อาจรู้สึกอึดอัด เพราะฝืนกับความเคยชินที่ชอบทำอะไรอย่างรีบเร่ง (จนติดนิสัยที่ชอบด่วนตัดสินหรือตอบโต้ทันควัน) การฝึกกินช้าๆ เดินช้าๆ อย่างมีสติ เป็นกลอุบายฝึกจิตให้มีความตื่นรู้ เฝ้าดูสิ่งต่างๆอย่างเป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินหรือตอบโต้ทันควัน ซึ่งอาจผิดพลาด เสียหาย เกิดการเบียดเบียนผู้อื่นและตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังฝึกให้มีปัญญาพิจารณาถึงหลักที่ว่า "สรรพสิ่งล้วนแต่อิงอาศัยกัน" (โดยการระลึกถึงบุญคุณของคนที่ปลูกข้าว ปลูกผัก และทำอาหารให้เรากิน) และ "สรรพสิ่งไม่เที่ยง ล้วนแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยตลอดเวลา" ซึ่งจะช่วยให้เรารู้จักถ่อมตัว ชื่นชมและเคารพในคุณค่าของผู้คนและสิ่งต่างๆ และรู้จักปล่อยวาง ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์ ส่วนการภาวนาบทสวด และร้องเพลงธรรม ก็เป็นการใส่โปรแกรมในจิตใจ (สมอง) ให้เกิดความเคยชิน (นิสัย) ในการคิดดี ทำดี แทนการคิดไม่ดี ทำไม่ดี (ซึ่งเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามกลไกทางสมอง)
ก็ขอแบ่งปันบทเรียนอันมีค่าของผมจากการสัมผัสวิถีหมู่บ้านพลัมนอกเหนือจากตัวหนังสือที่เคยดื่มด่ำมาช้านาน !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น