วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ลดเหลื่อมล้ำกองทุนประกันสุขภาพ

 

ลดเหลื่อมล้ำกองทุนประกันสุขภาพ

หัวหน้าทีมประเมินผลระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทยในช่วงทศวรรษแรก ชงพัฒนาผสมผสานระหว่างระบบประกันสุขภาพต่างๆ ให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ลดเหลื่อมล้ำกองทุนประกันสุขภาพ

ดร.ทิมโมธี แกรนต์ อีวานส์ หัวหน้าทีมประเมินผลระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทยในช่วงทศวรรษแรก (พ.ศ.2545-2554) กล่าวว่า หนึ่งในข้อเสนอของทีมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเพื่อความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วงทศวรรษหน้า คือ ต้องมีการพัฒนาผสมผสานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพต่างๆ ซึ่งสำคัญกว่าการรวมการบริหารจัดการกองทุนในที่เดียว ทั้งนี้หลายประเทศทั่วโลกมีการใช้กองทุนประกันสุขภาพหลายกองทุนเช่นกัน โดยแยกเป็นกองทุนข้าราชการ  ประกันสังคม  และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น ประเทศญี่ปุ่น เน้นที่กองทุนประกันสังคม แต่เมื่อถึงวัยเกษียณจะย้ายเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยพยายามทำให้แต่ละกองทุนมีมาตรฐานเดียวกัน

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า สวรส.ไม่ได้เสนอให้รวมกองทุนประกันสุขภาพของไทยเพียงแต่ต้องการให้ทั้ง 3 กองทุนบริหารจัดการสิทธิรักษาพยาบาลด้วยมาตรฐานเดียวกัน

ดร.นพ.สัมฤทธิ์  ศรีธำรงสวัสดิ์  ผอ.สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำของแต่ละกองทุนรักษาพยาบาลโดยไม่รวม 3 กองทุนเข้าด้วยกัน  ควรมีกลไกเข้ามากำกับ โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิประโยชน์และการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาล.

โดย: ทีมข่าวการศึกษา

30 มกราคม 2555, 05:15 น.

แต่งภาพออนไลน์ www.phixr.com

 

แต่งภาพออนไลน์

เว็บไซต์บริการแต่งภาพถ่ายออนไลน์ จะช่วยผู้ใช้งานไม่ต้องเข้าโปรแกรมมืออาชีพที่ต้องเสียเงินจ่ายค่าโปรแกรม และวิธีการใช้งานค่อนข้างซับซ้อนวุ่นวาย เว็บไซต์แห่งนี้ ออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างง่ายๆ Filter มากมายให้เล่นกันเพลิน โดยสามารถเพิ่มข้อความ เปลี่ยนสี แต่งกรอบ ฯลฯ ได้ตามใจชอบ สำหรับการแต่งภาพเพื่อใช้ในการแสดงบน เว็บไซต์สวยๆ หรือการทำงานกับรูปภาพง่ายๆ

เมื่อเสร็จแล้วก็เลือกได้ เรียกว่าโปรแกรมก็สวยแถมใช้ง่ายๆ และเลือกว่าจะเซฟเก็บไว้พร้อมกับสามารถแชร์ไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมทั้ง Facebook, Twitter, flickr และเว็บอื่นๆ ที่สำคัญคือบริการฟรี ซึ่งสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหลายสามารถใช้เป็นช่องทางแต่งภาพถ่ายของตนให้สวยดุจมืออาชีพและแชร์ได้ทันที แค่อัพโหลดภาพถ่ายที่ต้องการแต่งเท่านั้น คลิกเข้าไปใช้บริการสมัครสมาชิกและใช้บริการที่เว็บไซต์ www.phixr.com

โดย: ไทยรัฐฉบับพิมพ์

29 มกราคม 2555, 05:00 น.


วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เปิดถุง (ถลุง) เงิน "ก(ส)ทช." อู้ฟู่ ฝุ่นตลบจับตาตั้ง "ซูเปอร์บอร์ด" !!

 
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 17:44:10 น.

เปิดถุง (ถลุง) เงิน "ก(ส)ทช." อู้ฟู่ ฝุ่นตลบจับตาตั้ง "ซูเปอร์บอร์ด" !!

Share 



 

 


จาก 7 "กทช." สู่ "11-กสทช." จากองค์กรอิสระกำกับดูแลธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม เพิ่มเนื้องานอีกพะเรอเกวียนคุมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 

ทั้งคนทั้งเนื้องานเพิ่มขึ้นมาก แต่รายได้ส่วนใหญ่ยังคงมาจากค่าใบอนุญาตฟากกิจการสื่อสารเหมือนเดิม เฉลี่ยปีละ 3-4 พันล้านบาทไม่น้อยเลย

รายได้ไม่น้อย ค่าใช้จ่ายย่อมไม่น้อยตามไปด้วย จึงเป็นธรรมดาที่การใช้จ่ายจะได้รับความสนใจจากสาธารณะ ยิ่งอยู่ในฐานะองค์กรอิสระด้วยแล้ว ความโปร่งใสจึงสำคัญมาก ทั้งรายรับและการใช้จ่ายเงิน 

โดย "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่สำนักงาน กทช.ตั้งขึ้นในปี 2547 กระทั่งเป็น กสทช.ในปี 2554 รวมรายรับทั้งหมด 24,068 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่าย 12,572 ล้านบาท และได้ส่งรายได้เข้าคลังเป็นเงิน 11,493 ล้านบาท 

รายได้ของ กสทช.มาจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม (4% ของรายได้), ค่าธรรมเนียบเลขหมาย (2 บาทต่อเดือน) และค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ 

"การใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของบอร์ด กสทช.จะเทียบสิทธิ์ตามระเบียบราชการทั้งหมด การใช้เงินงบประมาณได้ผ่านการรับรองของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรียบร้อย โดย กสทช.จะประกาศการใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ผ่านเว็บไซต์ทั้งหมด" 

กรณีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ ตั๋วเครื่องบินที่ใช้เดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงรถประจำตำแหน่งของ "กสทช." จะดำเนินการตามระเบียบราชการของสำนักงบประมาณทั้งหมด โดยตำแหน่งประธาน กสทช.เทียบเท่าตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีรถประจำตำแหน่งในวงเงิน 4.5 ล้านบาท กรรมการ กสทช.ได้สิทธิประโยชน์เทียบเท่า "รัฐมนตรี" มีสิทธิ์ใช้รถประจำตำแหน่งในราคาไม่เกิน 4 ล้านบาท 

ส่วนเลขาธิการ กสทช.ได้สิทธิ์เท่าปลัดกระทรวง ใช้รถประจำตำแหน่งได้ในราคาประมาณ 2 ล้านบาท ซึ่ง กสทช.ใช้วิธีเช่าแทนการซื้อ

สำหรับเงินเดือน กสทช.ยังใช้อัตราเดิมของ กทช. เนื่องจากต้องรอรัฐบาลยังไม่ตอบกลับว่าจะให้อัตราเงินเดือนเท่าใด จึงยังไม่สามารถตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือน กสทช.ได้ โดย กสทช.จะได้รับเงินเดือน 100,000 บาท เงินตอบแทนพิเศษอีก 250,000-300,000 บาท รวมเป็นเงิน 400,000 บาท 

การตั้งคณะที่ปรึกษา กสทช. แต่งตั้งได้คนละ 3 คน ยกเว้นประธาน กสทช.มีที่ปรึกษาได้ 5 คน เงินเดือนที่ปรึกษาไม่เกิน 120,000 บาท รวมแล้วทั้ง 11 กสทช.มีที่ปรึกษาได้ 35 คน เฉพาะเงินค่าจ้างที่ปรึกษารวม ๆ กันถึงเดือนละ 4.2 ล้านบาท หรือ 50.4 ล้านบาทต่อปี 

โดยในเดือน ก.พ.นี้จะมีการประกาศใช้อัตราค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และค่าตอบแทนพิเศษของ กสทช. 

ที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ "กสทช." ชุดปัจจุบันรับตำแหน่ง (7 ต.ค. 2554) จนถึงขณะนี้ (ม.ค. 2555) มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ไปแล้วถึง 30 ชุด 

ตามข้อกำหนดกรรมการแต่ละคนจะมีสิทธิ์เป็นอนุกรรมการได้ไม่เกิน 3 ชุด และรับเบี้ยประชุมได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อเดือน อัตราค่าเบี้ยประชุม 5,000 บาทต่อครั้ง หรือเดือนละไม่เกิน 20,000 บาท (ปีละไม่เกิน 240,000 บาท) ยกเว้นประธานคณะอนุกรรมการได้เบี้ยประชุมครั้งละ 8,000 บาท หรือ 32,000 บาทต่อเดือน (ปีละ 384,000 บาท) รวมค่าใช้จ่ายเบี้ยประชุมในขณะนี้เป็นเงิน 2.96 ล้านบาทต่อเดือน

สำหรับปี 2555 มีการประมาณการรายรับไว้ที่ 4,000 ล้านบาท จากกิจการโทรคมนาคมเป็นหลัก เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 2% ค่าธรรมเนียมเลขหมาย และค่าใบอนุญาตวิทยุโทรคมนาคม เนื่องจากฝั่งกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์จะยังไม่มีรายได้จนกว่าจะเริ่มออกใบอนุญาต 

"ฐากร" อธิบายเพิ่มเติมว่า งบประมาณรายจ่ายในปี 2555 ยังไม่ได้กำหนดกรอบ แต่ทุกปีตั้งแบบเกินดุลคือ รับมากกว่าจ่าย โดยในปีที่ผ่านมา (2554) มีรายรับ 3,900 ล้านบาท รายจ่ายประมาณ 2,600 ล้านบาท และส่งเข้ารัฐ 1,700 ล้านบาท 

"เลขาธิการ กสทช." กล่าวด้วยว่า บอร์ด กสทช.มีมติตั้งอนุกรรมการพิจารณางบประมาณรายได้ปี 2555 เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองงบประมาณก่อนเข้าบอร์ด กสทช.ปลายเดือน ก.พ.นี้ประกอบด้วย ศาสตราจารย์พิเศษประสพสุข บุญเดช ประธานอนุกรรมการ นายพหล จินดากุล, พล.ต.อ.ชาญชิต เพียรเลิศ, พล.อ.อ.สัณฑพงศ์ รื่นรมย์, นายอนุโพธ บุนนาค, นายประสิทธิ์ จันทร์ประทีปฉาย, นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ 

งบประมาณมี 4 ส่วน งบฯสำหรับกรรมการ กสทช. งบฯด้านโทรคมนาคม ด้านกระจายเสียง และงบฯสำนักงาน กสทช. ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดจะต้องรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้ง โดยวุฒิสภา มี 5 คน ได้ค่าตอบแทน 100,000 บาทต่อคนต่อเดือน ประธานคณะกรรมการ 120,000 บาทต่อเดือน 

แว่วมาว่า วุฒิสมาชิกกำลังอลหม่านเป็นอย่างยิ่งในการตั้งซูเปอร์บอร์ดทั้ง 5 

สำหรับปี 2554 ข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ กสทช.ระบุว่า รายได้รวมของสำนักงาน กสทช.อยู่ที่ 4,577 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้หรือผลประโยชน์อันได้มาจากการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ 4,541 ล้านบาท รายได้จากทรัพย์สินสำนักงาน กสทช. 36 ล้านบาท 

ส่วนรายจ่ายแบ่งเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานของกรรมการ กสทช. และสำนักงาน กสทช. แยกเป็นรายจ่ายบุคลากร กรรมการ กสทช. 3.47 ล้านบาท รายจ่ายบุคลากรสำนักงาน 624 ล้านบาท รายจ่ายจากการดำเนินงานของกรรมการ กสทช. 12.4 ล้านบาท 

รายจ่ายจากการดำเนินงานของสำนักงาน 1,358.2 ล้านบาท รายจ่ายสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ 106.4 ล้านบาท และอื่น ๆ 513.88 ล้านบาท แบ่งเงินสมทบกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคม 125 ล้านบาท สมทบกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 25 ล้านบาท รวมรายจ่ายทั้งสิ้น 2,750.5 ล้านบาท 

อีกภารกิจคือการส่งรายได้เข้าคลัง โดยปี 2548 เป็นเงิน 158 ล้านบาท ปี 2549 จำนวน 839 ล้านบาท และ 795 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 2,445 ล้านบาทในปี 2551 เป็น 3,887 ล้านบาทในปี 2552 แต่ในปี 2553 ลดลงเหลือ 1,654 ล้านบาท และปี 2554 เป็นเงิน 1,700 ล้านบาท

เชื่อว่า การดำเนินงานของ กสทช.ทั้งในแง่การใช้จ่ายเงินและการจัดการภารกิจสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G และอื่น ๆ ไม่มีวันหายไปจากความสนใจ

โลกออนไลน์ร้องระงม มะกันเข็น กม.เซ็นเซอร์ออนไลน์


 

โลกออนไลน์ร้องระงม มะกันเข็น กม.เซ็นเซอร์ออนไลน์

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:02:52 น.

Share 

ต่างประเทศ

ตื่นตระหนกกันไปทั่วโลกธุรกิจออนไลน์ เมื่อรัฐบาลสหรัฐ เสนอกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์

โดยเสนอร่างกฎหมาย 2 ฉบับ

คือ กฎหมายคุ้มครองไอพี (โพรเท็กต์ ไอพี แอกต์ หรือ พีพา-PIPA) กับ กฎหมายหยุดการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (สต็อพ ออนไลน์ ไพรเวซี แอ็กต์ หรือ โซพา-SOPA) เพื่อจัดการกับบรรดาเว็บไซต์ที่นำไปสู่การละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง

ทำให้บรรดายักษ์ใหญ่แห่งโลกออนไลน์ทั้งหลาย ต่างพากันออกมาประท้วงในรูปแบบต่างๆ กันวุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็น กูเกิล วิกิพีเดีย มอซซิลลา ฟลิกเกอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ต่างไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ที่ว่ากันว่า เป็นกฎหมายเหมือนกับที่ใช้เซ็นเซอร์เว็บไซต์ต่างๆ ในจีน มาเลเซีย และอิหร่าน เลยทีเดียว

โดยเจ้าแรกที่ประกาศประท้วงร่างกฎหมายทั้งสอง และที่เป็นข่าวคราวใหญ่โตขึ้นมาคือ วิกิพีเดีย เว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปร่วมกันเขียนสารานุกรมออนไลน์ขึ้น และน่าจะเป็นเว็บที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกจัดการมากที่สุดในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์

โดยวิกิพีเดียประท้วงด้วยการปิดเว็บไซต์วิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเต็ม ในวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา พร้อมข้อความประท้วงต่อการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของร่างกฎหมายดังกล่าว

การปิดบริการชั่วคราวของวิกิพีเดีย ทำเอาหลายคนปวดหัวไปตามๆ กัน เพราะหาข้อมูลที่ต้องการไม่ได้จากเว็บไซต์ที่คุ้นเคย แต่ก็กลับมาใช้งานได้ตามปกติหลังจากนั้น

ขณะที่เว็บไซต์กูเกิล เสิร์ชเอ็นจิ้นยอดฮิตเอง ก็มีข้อความเรียกร้องให้ประชาชนร่วมรณรงค์ต่อต้านร่างกฎหมายเซ็นเซอร์ออนไลน์ดังกล่าว

เช่นเดียวกับทวิตเตอร์ ยาฮู และอีกหลายบริษัท ที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่นำเสนอครั้งนี้

แต่ใช่ว่าจะไม่มีคนเห็นด้วยกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ เพราะบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงทั้งหลาย ทั้งผู้ผลิตภาพยนตร์และเพลงต่างสนับสนุนให้เกิดกฎหมายดังกล่าว เพื่อปราบปรามบรรดาผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์

อย่างไรก็ตาม หลังจากมีแรงต่อต้านออกมาจำนวนมาก ปรากฏว่า สภาสหรัฐ ได้เลื่อนการออกกฎหมายทั้งสองฉบับออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมของกฎหมายทั้งสองฉบับอีกครั้ง ว่า เป็นการละเมิดเสรีภาพบนโลกออนไลน์จริงหรือไม่



มาทำความรู้จักกับกฎหมายทั้งสองฉบับกันดีกว่า โดยโซพา และพีพา เกิดขึ้นจากความพยายามของบรรดาองค์กรภาคอุตสาหกรรมด้านความบันเทิงทั้งหลาย ที่เรียกร้องให้ภาครัฐหาทางยุติการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีอยู่อย่างมากมายบนโลกออนไลน์

และ "พีพา" ได้ผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐ เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา จนกระทั่งถูกนำขึ้นเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ในแวดวงไอทีได้เริ่มการต่อต้านอย่างหนัก ขณะที่โซพายังอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาอยู่

หากร่างกฎหมายทั้งสองผ่านเรียบร้อย ก็เท่ากับเป็นการให้อำนาจแก่กระทรวงยุติธรรมในการปิดบล็อกหรือเว็บไซต์ใดๆ ได้ตามใจชอบ ในขณะที่กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและรัฐบาลสหรัฐจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขออำนาจในการสั่งปิดเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

ร่างกฎหมายใหม่ทั้งสองฉบับจึงเหมือนกับการให้อำนาจแก่ผู้ปกครองในการสั่งปิดเว็บไซต์โดยไม่ต้องขอความเห็นจากใคร

แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจว่า ร่างกฎหมายเซ็นเซอร์ออนไลน์ทั้งสองจะเลื่อนออกไปแล้ว เพราะยังมีร่างกฎหมายอีกฉบับที่อยู่ระหว่างถูกเสนออยู่ในขณะนี้ในวุฒิสภาสหรัฐ เป็นร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองออนไลน์และการบังคับใช้การค้าดิจิตอล หรือโอเพน ที่เพิ่งจะเสนอไปเมื่อวันที่ 18 มกราคม วันเดียวกับที่วิกิพีเดียปิดบริการชั่วคราวไป

ความแตกต่างของโอเพนกับกฎหมายอีก 2 ฉบับที่เป็นปัญหาคือ โอเพน จะให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์กว้างออกไป เพราะจะอนุญาตให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถยื่นเรื่องฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์จากเว็บไซต์ต่างชาติได้ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักของโอเพน ที่จะจัดการกับเว็บไซต์ต่างชาติที่ขโมยผลงานของศิลปินหรือนักประดิษฐ์ของชาวอเมริกันไป

แต่ดูเหมือนร่างกฎหมายโอเพนจะไม่ค่อยถูกใจบรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาพยนตร์เสียเท่าไหร่ เพราะมีขอบเขตอำนาจที่แคบเกินไป แถมยังไม่ได้จัดการใดๆ กับบรรดาเสิร์ชเอ็นจิ้น และยังไม่เป็นได้เป็นเครื่องไม้เครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ หากแต่รัฐบาลสหรัฐก็ยังยืนยันว่า เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์จากเว็บไซต์ต่างชาตินั้นยังเป็นปัญหาร้ายแรงที่ต้องนำกฎหมายเข้ามาแก้ไข

ส่วนเรื่องของพีพา หรือโซพา นั้น รอให้หาข้อยุติให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาว่ากันต่อไป


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327739019&grpid=no&catid=50&subcatid=5000

ภาษาศีลธรรม/ภาษาอำนาจที่ตอบโต้นิติราษฎร์

 

ภาษาศีลธรรม/ภาษาอำนาจที่ตอบโต้นิติราษฎร์

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:00:00 น.

Share 




โดย สุรพศ ทวีศักดิ์ 

การกล่าวหาข้อเสนอนิติราษฎร์และ ครก.112 เรื่องแก้ ม.112 และข้อเสนอเรื่องแก้รัฐธรรมนูญลบล้างรัฐประหารว่า เป็นการล้มเจ้าบ้าง เป็นการเปลี่ยนระบบการปกครองบ้าง เป็นการสร้างความแตกแยกในสังคมบ้าง


หรือการหยิบยกเรื่องส่วนตัวขึ้นมาโจมตี กล่าวหาว่าเนรคุณ "ทุนอานันทมหิดล" เนรคุณสถาบันกษัตริย์ ไม่รู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่เข้าใจ "ลักษณะพิเศษ" ของสังคมไทย ไปจนถึง "พ่อแม่ไม่อบรมสั่งสอน" กระทั่งจะหาทางใช้กฎหมายเอาผิด หรือหาช่องทางดำเนินการทางกฎหมายเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว หรือ "ปิดปาก" นิติราษฎร์ ดังที่เป็นข่าวต่อเนื่องมากว่าสองสัปดาห์นั้น


หากพิจารณาจาก "ปฏิกิริยา" ต่อนิติราษฎร์แทบทั้งหมด จะเห็นว่าภาษาที่ตอบโต้นิติราษฎร์ยังไม่ปรากฏ "ภาษาเหตุผล" ที่หนักแน่นเพียงพอ


กล่าวคือ ขณะที่นิติราษฎร์เสนอ "อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" ตามเจตนารมณ์ 2475 และอธิบายหลักการ เหตุผล ข้อเท็จจริง องค์ความรู้ต่างๆ ประกอบการเสนอแก้ ม.112 และการลบล้างรัฐประหาร พร้อมกับ "กวักมือเรียก" ให้ฝ่ายที่เห็นต่างมาใช้เหตุผลโต้แย้งกัน


หมายความว่า ขณะที่นิติราษฎร์ใช้ "ภาษาเหตุผล" ในการสื่อสารกับสังคมและทุกฝ่ายเสมอมา แต่ฝ่ายเห็นต่างไม่ได้ใช้ "ภาษาเหตุผล" ในการโต้แย้งอย่างหนักแน่นเพียงพอ กลับไปใช้ "ภาษาศีลธรรม" และ "ภาษาอำนาจ" ตอบโต้นิติราษฎร์


แต่ "ภาษาศีลธรรม" ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการเปิดใจกว้างรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย หรือไม่มี "ขันติธรรม" (tolerance) ต่อเหตุผลของฝ่ายที่มีจุดยืนต่าง คิดต่างจากตัวเอง มันก็เป็นแค่ภาษาของการประณามหยามหมิ่น หรือพิพากษาตัดสินว่า อีกฝ่ายเลวทรามต่ำช้าเท่านั้นเอง เช่นที่ตัดสินว่า เนรคุณ ล้มเจ้า สร้างความแตกแยกในสังคม กระทั่ง "พ่อแม่ไม่อบรมสั่งสอน" และที่หยาบคายอีกนับไม่ถ้วน


กลายเป็นว่า "ภาษาศีลธรรม" ที่นิยมใช้กันโดยนักวิชาการ ปัญญาชนแถวหน้า สื่อบางฝ่าย ในบ้านเราคือ "ภาษาศีลธรรมเชิงตัดสิน-สาปแช่ง" เหมือนภาษาตัดสิน สาปแช่งในนวนินายเรื่อง "คำพิพากษา" ของชาติ กอบจิตติ จึงเสมือนว่าอีกฝ่ายกำลังพยายามทำให้นิติราษฎร์กลายเป็น "ไอ้ฟัก" ในสังคมไทย


ภาษาศีลธรรมเชิงตัดสิน-สาปแช่ง ไม่ได้มี "ความยุติธรรม" (fairness) ในตัวมันเองอยู่แล้ว คือมันมีความบิดเบี้ยว ไม่ซื่อสัตย์ต่อการใช้ "มาตรฐานเดียวกัน" ในการตั้งคำถาม หรือพิพากษาตัดสิน


เช่น ไม่เคยสนใจตั้งคำถาม-ตัดสินว่า การใช้สถาบันเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง เป็นการสำนึกในบุญคุณของสถาบันอย่างไร? การอ้างสถาบันทำรัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตย เป็นการสำนึกในบุญคุณสถาบัน และบุญคุณของประชาชนอย่างไร? หรือการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการปกป้อง "ลักษณะพิเศษ" ของสังคมไทยที่มีความหมายต่อ "ความเป็นธรรม" ทางสังคม อย่างไร? เป็นต้น


ส่วน "ภาษาอำนาจ" ก็เป็น "อาวุธ" ที่ฝ่ายคัดค้านนิติราษฎร์ใช้กันอย่าง "ไร้ขีดจำกัด" มาตลอดอยู่แล้ว ตั้งแต่ไล่ให้ออกจากสัญชาติไทย ไล่ให้ไปอยู่ต่างประเทศ ขู่จะเอาผิดทางกฎหมาย ให้ยุติบทบาท หรือปิดปากไปเลย กระทั่งเรียกร้องให้ทหารออกมาทำรัฐประหารอีกรอบ


มันกลายเป็นว่า ในแง่ "ภาษาศีลธรรม" ฝ่ายคัดค้านนิติราษฎร์จะประณาม หรือกระทั่งเหยียดหยาม "ความเป็นมนุษย์" ด้วยคำพูด ด้วยรูปภาพ และอื่นๆ อย่างไรก็ได้


ในแง่ "ภาษาอำนาจ" ฝ่ายคัดค้านนิติราษฎร์ ขู่จะใช้อำนาจทางกฎหมายปิดปากก็ได้ หรือกระทั่งใช้ "อำนาจนอกระบบ" ทำรัฐประหารก็ได้ ไม่ผิด


นี่คือ ภาษาศีลธรรม ภาษาอำนาจที่อิง "อุดมการณ์ประชาธิปไตยภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์" หมายถึง อุดมการณ์ที่ยืนยันสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้อยู่เหนือ หรือกำหนดว่าสังคมไทยควรจะเป็นประชาธิปไตยได้แค่ไหน ซึ่งก็ให้เป็นได้ในความหมายว่า ต้องให้ประชาชนมีเสรีภาพ เสมอภาคภายใต้ขอบเขตที่ไม่กระทบต่อสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันเท่านั้น


ฉะนั้น ด้วยการอิงอุดมการณ์ดังกล่าว พวกเขาจึงโต้ตอบฝ่ายนิติราษฎร์ราวกับว่าพวกตนมีอภิสิทธิ์ทางศีลธรรมและทางกฎหมายเสียเอง!


นี่หมายความว่าอะไร? หมายความว่านิติราษฎร์กำลังสร้างความแตกแยกในสังคม หรือฝ่ายไหนกันแน่?


ความแตกแยกในสังคมมัน "ถูกสร้างขึ้นแล้ว" ตั้งแต่มีการประกาศแยกประชาชนออกเป็นสองฝ่ายคือ "ฝ่ายเอา-ไม่เอาสถาบัน" มิใช่หรือ? มันถูกสร้างขึ้นแล้วตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา 49 มิใช่หรือ?


และมันถูกซ้ำเติมจนยากจะเยียวยาจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองที่มีคนตาย 92 ศพ และบาดเจ็บร่วม 2,000 คน ในช่วง เมษา-พฤษภา 53 มิใช่หรือ? แล้วก็ซ้ำเติมมาเรื่อยๆ ด้วยการใช้ข้อกล่าวหาล้มเจ้า และ ม.112 ล่าแม่มดมิใช่หรือ?


สิ่งที่นิติราษฎร์กำลังทำ คือความพยายามหา "ทางออกที่สมเหตุสมผล" ให้กับความแตกแยกต่างหากเล่า นั่นคือการเสนอหรือยืนยัน "อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" ตามเจตนารมณ์ 2475 ที่ประชาชนเป็น "เจ้าของอำนาจอธิปไตย" อย่างแท้จริง


โดยมีกระบวนการแก้ ม.112 และการเสนอหลักการร่างรัฐธรรมนูญลบล้างรัฐประหารเป็นแนวทางทำให้อุดมการณ์นั้นเป็นจริง ซึ่งใช้เวทีสาธารณะของภาคนักวิชาการและภาคประชาชนในการแสดงออกอย่างอารยะและสันติ ที่เป็นไปตามหลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ


คำถามคือ ทำไมฝ่ายคัดค้านนิติราษฎร์ ถึงกล้าเสนอให้ทหารทำรัฐประหาร และ/หรือทำไมถึงสนับสนุนหรือยอมรับการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยอย่าง "ไม่กระดากอาย" แต่กลับคัดค้านอย่างเอาเป็นเอาตายกับการเสนอหลักการร่างรัฐธรรมนูญลบล้างรัฐประหาร?


ทั้งที่จริงเมื่อพิจารณาเหตุผล และบทบาทของนิติราษฎร์อย่างเที่ยงตรง เราจะเห็นว่า นิติราษฎร์เพียงแค่ต้องการยืนยันเจตนารมณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น "ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" เท่านั้น ซึ่งพวกเขาและ/หรือประชาชนทุกคนย่อมมี "ความชอบธรรมอย่างเต็มที่" ในการยืนยันและสานต่อเจตนารมณ์ดังกล่าวเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็น "เจ้าของอำนาจอธิปไตย" อย่างแท้จริงให้สำเร็จ


ปรากฏการณ์ตอบโต้นิติราษฎร์จึงสะท้อนยุคสมัยแห่งการเผชิญหน้า ระหว่าง "ภาษาเหตุผลบนอุดมการณ์ประชาธิปไตย" กับ "ภาษาศีลธรรมเชิงประณามสาปแช่ง + ภาษาอำนาจ" ที่อิงอุดมการณ์ประชาธิปไตยภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการเผชิญหน้าที่ท้าทายวุฒิภาวะ และขันติธรรมทางสังคม-การเมือง อย่างยิ่ง!


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327748659&grpid=no&catid=02&subcatid=0207

เที่ยวบิน "112" ของ "นิติราษฎร์แอร์ไลน์" และ "เหล่าพลร่ม" ในมุมมองอรุณ วัชระสวัสดิ์

เที่ยวบิน "112" ของ "นิติราษฎร์แอร์ไลน์" และ "เหล่าพลร่ม" ในมุมมองอรุณ วัชระสวัสดิ์





ที่มา การ์ตูนคิวคน หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 28 มกราคม 2555

 

 

สุดยอดพรสวรรค์ 8 ขวบหญิงผู้ดีตั้งวงร๊อค โชว์โซโล่กีตาร์ชนิด"เซียนยังทึ่ง คนแห่ชมเป็นล้าน" (ชมคลิป)

สุดยอดพรสวรรค์ 8 ขวบหญิงผู้ดีตั้งวงร๊อค โชว์โซโล่กีตาร์ชนิด"เซียนยังทึ่ง คนแห่ชมเป็นล้าน"(ชมคลิป)

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 15:00:07 น.

Share3







สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ว่า เด็กหญิงซู ทอมสัน เด็กหญิงอังกฤษวัย 7 ปี กลายเป็นคนดังไปทั่วโลกทางยูทิวบ์ หลังจากมีผู้ชมคลิปโชว์ทักษะการโซโล่กีตาร์ของเธอ เป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน ด้วยความทึ่งในความสามารถเกินวัย และเล่นกีตาร์ได้ประดุจมืออาชีพชั้นเซียน โดยเจ้าตัวได้เซ็นสัญญาออกอัลบั้มเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

 

ในการให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ  นี้ นางคอลเล็ตต์ มารดาของเซียนกีตาร์เด็กหญิงตัวน้อยเล่าว่า ลูกสาวเธอตื่นเต้นกับการเล่นกีตาร์ และมีความรู้สึกปลื้มอย่างล้นเหลือ และเธอคิดว่าพรสวรรค์ของเด็กที่มีอายุน้อยอย่างลูกของเธอเป็นสิ่งที่สมควรได้รับการสนับสนุน ขณะที่ผู้ชมคลิปดังกล่าวต่างแสดงทัศนะชื่นชมต่าง ๆ นานา บางรายบอกว่า แม้แต่เซียนกีตาร์อย่าง "เอ๊ดดี้ แวน ฮาเลน" ก็ยังต้องทึ่ง และบางคนสุดทึ่งบอกว่า นิ้วของเธอเล็กมาก แต่สามารถเล่นกีตาร์ได้อย่างเปี่ยมด้วยทักษะ แสดงว่าเธอจะต้องฝึกมาอย่างหนัก

 

รายงานระบุว่า ซู ทอมสัน ปัจจุบันเป็นสมาชิกของวง "มินิ แบนด์" ซึ่งเป็นที่ฮือฮาทางยูทิวบ์ หลังจากโชว์เพลง "Enter Sandman" เพลงเก่งของยอดเฮฟวี่ เมทัล วง "เมทัลลิก้า" รวมทั้งเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลงในหลายสถานที่ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายว่า วงไม่สามารถเข้าแข่งขันการประกวดดนตรีได้ เนื่องจากพวกเขายังอายุน้อยเกินไป

 


 

Happy Valentine's day


E110111_06C.gif E110111_06C.gif





วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

http://cpd.bangkok.go.th/default.asp/ http://3d-cpd.bangkok.go.th/bmaall/

http://cpd.bangkok.go.th/default.asp 

 

 เรื่องแผนที่ 3 มิติ กับการพัฒนากรุงเทพมหานครของสำนักผังเมือง ซึ่งได้มีการจัดทำ แผนที่ 3 มิติให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ได้เข้าไปศึกษาข้อมูลและใช้ประโยชน์ หากใครสนใจสามารถเข้าเว็บไซต์ 

BMA unveils 3D map ahead of city plan

A 3D Bangkok Metropolitan Authority map of traffic routes and infrastructure systems is available to the public at http://3d-cpdbangkok.go.th/, BMA deputy governor Wallop Suwandee said Tuesday.

Wallop said the map, with a ratio of 1:500, was also available for city officials' use, at http://3d-cpd.bma.go.th/.

Meanwhile, City Planning Department chief MR Premsiri Kasemsan said the third revision of the Greater Bangkok city plan would be finalised after being submitted to the City Planning Committee early next month. If approved, the new plan is set for a 90-day period of public consultation before being amended by the Committee, submitted for legal scrutiny, and finally signed by the Interior Ministry. If this process cannot be completed by May, the Department would ask the Interior Ministry for the 2006 city plan to remain in effect for another year, said Premsiri, with officials given a new deadline of January 2013 to implement the plan.

The Nation


 

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

เด็ก 3 ขวบเต้นสุดเจ๋ง

เอ็นอักเสบที่ข้อมือ

 

เอ็นอักเสบที่ข้อมือ

อาการปวดที่บริเวณข้อมือ เป็นปัญหาที่มักเกิดกับคนในหลายๆ อาชีพ ที่สำคัญไม่สามารถระบุอาการที่แน่ชัดได้ หนำซ้ำไม่รู้ว่าสาเหตุมาจากอะไร อีกทั้งอาการปวดบริเวณมือและข้อมือยังเป็นอาการเริ่มต้นของหลายๆ โรคอีกด้วย

นพ.ทวีพงษ์ จันทรเสโน ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เชี่ยวชาญด้านมือและจุลศัลยกรรม โรงพยาบาลเวชธานี ระบุถึงอาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือว่า เกิดจากเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ 2 เส้น ซึ่งอยู่คู่กันบริเวณข้อมือ เส้นหนึ่งเรียกว่า Abductor Pollicis Longus (APL) ทำหน้าที่ในการกางนิ้วหัวแม่มือออกจากฝ่ามือ และอีกเส้นเรียกว่า Extensor Pollicis Brevis (EPB) ทำหน้าที่เหยียดกระดูกนิ้วมือท่อนต้นของนิ้วหัวแม่มือ โดยภายในปลอกหุ้มเอ็นจะมีเยื่อหุ้มเอ็นที่เรียกว่า Tenosynovium อาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณ Tenosynovium นี้ จะทำให้เกิดการตีบ หรือหดตัวในการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายใน

เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของมือ และนิ้วโป้งบ่อยครั้ง เช่น การจับ บีบ หรือคั้น จะทำให้เกิดอาการอักเสบ และบวมได้ ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายในปลอกหุ้มเอ็นไม่ลื่นไหลตามปกติ โดยส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งาน นอกจากนั้นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์ก็เป็นสาเหตุการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็น ส่วนพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของเอ็นภายในปลอกหุ้มเอ็นเป็นไปอย่างลำบาก

อาการเป็นอย่างไร?

นพ.ทวีพงษ์ กล่าวถึงอาการเบื้องต้นว่า จะมีอาการช้ำระบมบริเวณนิ้วโป้งด้านปลายแขนใกล้กับข้อมือ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้น และขยายไปยังบริเวณปลายแขนช่วงข้อมือ และนิ้วโป้ง เส้นเอ็นทั้ง 2 เส้นจะเกิดการเสียดสีขณะที่เคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเอ็น หากมีอาการรุนแรงมากจะเกิดการบวมบริเวณปลอกหุ้มเอ็นใกล้ๆ กับข้อมือ และทำให้การหยิบจับด้วยนิ้วโป้ง และมือมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น

หากมีอาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือจะได้รับการรักษาอย่างไร?

หากมีอาการเจ็บปวดตามตามอาการข้างต้น คุณควรจะหยุด!…หรือเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการดังกล่าว และควรหยุดพักการใช้งานเมื่อใช้งานบริเวณมือ และนิ้วโป้งซ้ำๆ บ่อยๆ นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของมือ เช่น การหยิบของหนัก การเขียน หรือการบิดหมุนข้อมือ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใส่เฝือกอ่อนบริเวณแขน และนิ้วโป้ง เพื่อให้ข้อมือ และกระดูกข้อต่อบริเวณใต้นิ้วโป้งอยู่กับที่ ลดการใช้งานของเส้นเอ็น และให้แต่ละส่วนได้รับการรักษา นอกจากนั้น การรับประทานยาแก้อักเสบจะช่วยลดอาการบวมของเยื่อหุ้มเอ็น และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

หากใช้วิธีการรักษาข้างต้นแล้วไม่เห็นผล แพทย์จะแนะนำให้ฉีดยาคอทิโซนที่ปลอกหุ้มเอ็นที่มีอาการบวม ซึ่งจะช่วยลดอาการบวมของเยื่อหุ้มเอ็น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ชั่วคราว และควบคุมการอักเสบในขั้นต้นของอาการได้ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำเพิ่มเติมให้ทำกายภาพ เพื่อช่วยลด หรือขจัดสาเหตุอาการเส้นเอ็นบริเวณนิ้วโป้งอักเสบ และแนะนำวิธีการใช้ร่างกาย และข้อมือในการทำงาน การออกกำลังกาย และวิธีป้องกันการเกิดอาการในอนาคต

การผ่าตัดเอ็นอักเสบเป็นอย่างไร?

หากวิธีการรักษาที่ผ่านมาไม่ได้ผลอีก แพทย์จะวินิจฉัยให้เข้ารับการผ่าตัด เพื่อเพิ่มพื้นที่ไม่ให้เอ็นเสียดสีกันภายในปลอกหุ้มเอ็น คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดจะไม่ได้พักฟื้นที่โรงพยาบาล เนื่องจากแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณผิวหนัง ศัลยแพทย์จะทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรคผิวหนังบริเวณปลายแขน และข้อมือ ในขั้นแรกของการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการเปิดขยายปลอกหุ้มเอ็นใต้นิ้วโป้งบริเวณข้อมือ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับเส้นเอ็นมากขึ้น เมื่อแผลบริเวณปลอกหุ้มเอ็นสมานกัน เนื้อเยื่อจะปิดหุ้มปลอกหุ้มเอ็นบริเวณที่เปิดไว้

นพ.ทวีพงษ์ เน้นย้ำเรื่องการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดว่า คนไข้จะต้องดูแลแผลผ่าตัดอย่างระมัดระวัง สามารถขยับนิ้วมือได้ทันที แต่ไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ แพทย์จะนัดมาตัดไหมหลังการผ่าตัด 10-14 วัน นอกจากนั้น นักกายภาพจะแนะนำวิธีการบริหารข้อบริเวณมือ และนิ้วโป้งให้แข็งแรง วิธีการทำงานป้องกันการเกิดปัญหาของข้อมือและนิ้วโป้ง และวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต

นพ.ทวีพงษ์ แนะนำทิ้งท้ายว่า หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นเอ็นอักเสบที่ข้อมือ ทางที่ดีควรมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องทนทรมานกับอาการเจ็บปวดข้อมือ…ที่คุณยังต้องพึ่งพาใช้งานไปอีกนาน


ศูนย์ศัลยกรรมทางมือ โรงพยาบาลเวชธานี
www.vejthani.com

โดย: ศูนย์ศัลยกรรมทางมือ โรงพยาบาลเวชธานี

25 มกราคม 2555, 15:30 น.


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช. กสท. กทค. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. พ.ศ.2554

19 ม.ค. 55 - โฆษกวิปวุฒิสภา เผย วิปวุฒิสภารับทราบระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการเลือกเป็นกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช. แล้ว พร้อมเตรียมเสนอที่ประชุมวุฒิสภาอภิปรายแนวทาง วิธีการคัดเลือก เพื่อความรอบคอบอีกครั้ง 6 ก.พ. นี้

รศ.กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เปิดเผยว่า วิปวุฒิสภา ได้รับทราบระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการเลือกเป็นกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช. กสท. กทค.  สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. พ.ศ.2554  แล้ว โดยที่ประชุมได้พิจารณาตามแนวทางที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้เสนอ คือ จะมีการคัดเลือกกรรมการทั้งหมด 11 คน จากนั้นส่งต่อให้วุฒิสภาเลือกเหลือ 5 คน ส่วนที่เหลือจะมาจากกรรมการที่มาโดยตำแหน่ง  ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ติดตามประเมินการทำงานของ กสทช. กสท. กทค. ให้อยู่ในกรอบของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2553    ซึ่งคาดว่าที่ประชุมวุฒิสภาจะมีการอภิปรายแนวทาง หลักเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการดังกล่าวเพื่อความรอบคอบ ภายในวันที่ 6 ก.พ. นี้






เรณู เขมาปัญญา / ข่าว / เรียบเรียง

 

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

คดีประวิติศาสตร์คนจนถูกฟ้อง 300 ล้านวันนี้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทกฺพี่ปุ้มชนะคดีวันนี้




จาก: Paranee S. <plan4thai@gmail.com>
วันที่: 22 มกราคม 2555, 23:01
หัวเรื่อง:  คดีประวิติศาสตร์คนจนถูกฟ้อง300ล้านวันนี้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทกฺพี่ปุ้มชนะคดีวันนี้
ถึง: 

ไปนังฟัง  ดีใจกับปุ้มค่ะ
ยังมีงานที่รอพวกเราช่วยกันอีกเยอะ  ให้กำลังใจทุกคนนะคะ
ภารนี
2012/1/22 somboon srikomdokcare <wept_somboon@hotmail.com>

 

Date: Fri, 20 Jan 2012 00:00:10 -0800
From: watchareepao@yahoo.com
Subject: Re: คดีประวิติศาสตร์คนจนถูกฟ้อง300ล้านวันนี้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทกฺพี่ปุ้มชนะคดีวันนี้
To: wept_somboon@hotmail.com

ขอบคุณมาก สำหรับดอกไม้ และรูปที่ส่งมาให้ เร็วมาก
พี่เองยังไม่ได้คิดเรื่องถ่ายรูปด้วยซ้ำ
ขอบคุณสมบุญมาก ๆ นะขอบคุณทุก ๆ คนที่สภาเครือข่ายด้วย

พี่ปุ้ม

--- On Thu, 1/19/12, somboon srikomdokcare <wept_somboon@hotmail.com> wrote:


คดีประวิติศาสตร์คนจนถูกฟ้อง 300 ล้าน



--
ภารนี สวัสดิรักษ์
เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม
Civil Society Planning Network