วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

Healthstation Digest แนะนำเนื้อหาข่าวสาร ครั้งที่ 8/2556 (8 มีนาคม 56)




Healthstation Digest  แนะนำเนื้อหาข่าวสาร ครั้งที่ 8/2556

8 มีนาคม 2556

 

สวัสดีค่ะ
          สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้ Healthstation มีเนื้อหาข่าวสาร สาระน่ารู้ มาแนะนำให้ท่านได้เลือกรับฟังรับชมกัน โดยจะแบ่งไว้เป็นหมวดๆ ดังนี้ค่ะ

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

1.       การประชุม คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 /2556 (คจสช)   ในวันที่  11 มีนาคม พ.ศ.2556 , เวลา 10.00-14.30 น. ซึ่งทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์จะนำเทปบันทึกภาพภายในงาน มาให้รับชม ในรายการ "เกาะติดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6"  ดูระเบียบวาระการประชุมได้ที่ https://docs.google.com/file/d/0Bzxm36jsLYGBNEFINFRXeXItems/edit

 

ข่าวสาร

1.      แผ่นดินทอง สองทะเล สมัชชาสุขภาพภาคใต้ ครั้งที่ 3

        คุณหมออำพลจินดาวัฒนะ บอกว่า "ภาคใต้เหมือนคนที่มีลูกสาวสวย จึงเป็นที่หมายปองของคนทั่วไป เรื่องนโยบายสาธารณะต้องพูดกันต่อไป ว่าอีก 10 ปีภาคใต้จะพัฒนาอะไร อีก 10 ปีประเทศไทยจะไปทางไหนหลังจากไปร่วมงาน สมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 ที่ไบแทค บางนาเมื่อวันที่ 18-20 ธันวาคม 2555 ก็มีงานสมัชชาภาค สมัชชา จังหวัด สมัชชา พื้นที่ สมัชชาประเด็นให้เข้าร่วมหลายเวที ครั้งนี้สมัชชาสุขภาพภาคใต้ครั้งที่ 3 ที่ทางกลุ่มจังหวัด ระนอง พังงา สุราษฎร์และชุมพรร่วมกันเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นที่ โรงแรมแกรนด์พาเลซด์ ในวันที่22 -24 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมี วาระที่นำเสนอจำนวน 4 เรื่อง คือ

 1. การจัดการภัยพิบัติ

 2. นโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุภาคีวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้

 3. แผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน บนฐานพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

 4. นโยบายสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ.....คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติม

 

2.      ต่อยอดสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปางในทศวรรษที่ 2 โดย รายงานโดย เตชิต ชาวบางพรหม และ เกศริน ยศภัทรไพศาล

        "คนที่มาทำงานเพื่อสังคม บอกว่าจะทำหน้าที่ กลไกกลาง ต้องมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ คือ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ยึดติด  ไม่หน้าด้าน ไม่เจาะยาง ไม่ขวางลำ และไม่ตีรวน"  โดย อาจารย์อรรณพ วงศ์วิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครลำปาง

        ประโยคเตือนใจนักขับเคลื่อนทางสังคมในเวที ปรึกษาหารือต่อยอดการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในทศวรรษที่ 2 ของจังหวัดลำปาง หลังจากที่ผมเขียนเรื่อง ลำปาง...ลุก ในฉบับก่อน ก็เห็นโอกาส ความเป็นไปได้ของการต่อยอดสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง ในทศวรรษที่ 2 นี้ บทเรียน ผู้คน ขบวนการ เครื่องมือที่หลากหลาย กับสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่ ทำให้เห็นภาพชัดว่า พื้นที่กลางเป็นความต้องการของคนลำปาง เฉกเช่นเดียวกับการทำงานทุกพื้นที่

        ช่วงเช้าในวันนั้น นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำทีม สช....คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติม

 

3.      ต่อยอดสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุรินทร์ในทศวรรษที่ 2 โดย สุวิมล มีแสง

        จากการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นเครื่องมือต่อการพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ว่าด้วยคนสุรินทร์สร้างสุข (ปลอดสุรา) โดยมีพื้นที่นำร่องต่อการปฏิบัติการ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลเมืองแก และตำบลกุดหวาย จนนำมาสู่การผลักดันเป็นนโยบายจังหวัด ในปี 2553 เกิดนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น ธรรมนูญสุขภาพตำบล 1 ตำบล คือ ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี กระบวนการนำร่องในการนำนโยบายลดละเลิกเหล้าไปปฏิบัติจริงในหมู่บ้านชุมชน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านปรือเกรียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ พร้อมกับมีกระบวนการขับเคลื่อนให้เกิดเวทีสาธารณะ และมีข้อเสนอ ข้อตกลงเชิงนโยบายในระดับจังหวัด 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.) นโยบายการส่งเสริมและการพัฒนาเด็กและครอบครัวให้มีสุขภาวะ 2.) การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมของวัยรุ่นสุรินทร์ 3.) การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม (ขยะ)...คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติม

4.      แนะปรับหลักสูตรสุขศึกษาเน้นเด็กรู้โรคใกล้ตัว

        ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชาสุขศึกษา เนื่องจากเนื้อหาสาระในปัจจุบัน มุ่งเน้นการสอนให้เด็กเรียนรู้ในโรคที่ค่อนข้างไกลจากตัวเด็ก หรือโรคที่พบผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก เช่น โรคไข้เหลือง จึงควรเน้นให้เด็กได้เรียนรู้โรคที่มีอุบัติการณ์พบผู้ป่วยมากขึ้น เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของประชาชนเอง และเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้หากมีการหยุด หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการบรรจุไว้ในหลักสูตรสุขศึกษา ทั้งที่คนไทยป่วยโรคนี้ในอัตราสูง ศ.นพ.ปิยะมิตรกล่าวอีกว่า ยกตัวอย่าง โรคความดันโลหิตสูง ที่พบผู้ป่วยจำนวนมาก และอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรสอนให้เด็กรู้ว่าโรคนี้มีสาเหตุจากอะไรบ้าง ซึ่งเกิดจากการที่รับประทานอาหารรสเค็มจัด ขณะที่ผลจากการสำรวจการบริโภคเกลือของคนไทยโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า...คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติม

 

5.      ชงรัฐตั้งคกก.พัฒนาสุขภาพกำหนดนโยบายสาธารณสุขชาติ

        แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เร่งปรับกระบวนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งระบบบริหารและระบบบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยขณะนี้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงถึงร้อยละ 15 ของงบประมาณทั้งประเทศ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดี เสี่ยงที่จะเกิดการล่มสลายของระบบการเงินการคลังด้านค่ารักษาพยาบาลได้ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ และเตรียมเสนอรัฐบาลตั้งคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การสาธารณสุขของประเทศ ซึ่ง คสช.ประกอบด้วย รมว.กระทรวงสาธารณสุข รมว.กระทรวงมหาดไทย รมว.กระทรวงคลัง รมว.กระทรวงแรงงาน รมว.กระทรวงศึกษาธิการ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ...คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติม

 

6.      จดหมายข่าวสานพลังปฏิรูประบบสุขภาพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 31 เดือนมกราคม 2556

        "บ้านนี้ เมืองนี้ ไม่ใช่ของผู้ชายฝ่ายเดียว" สำหรับคนภายนอกอาจมองว่าพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นดินแดนที่มากด้วยความขัดแย้ง มีความรุนแรง ไร้ซึ่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่สำหรับคนในพื้นที่ปลายด้ามขว้านแล้ว ที่นี่คือบ้าน เป็นบ้านเกิดเมืองนอนที่ไม่สามารถเดินจากไปได้

        เช่นเดียวกับ นางกัลยา เอี่ยวสกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จังหวัดปัตตานี สุภาพสตรีชาวไทย-พุทธ ที่เกิดและเติบโตในอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี แม้จะเป็นสตรีแต่มีใจรักบ้านเกิดไม่แพ้บุรุษเพศ

        ย้อนถอยหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2520 จากการมีจิตอาสาเข้าร่วมพัฒนางานต่างๆ ในถิ่นเกิด จึงมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับพี่น้องใน 22 หมู่บ้าน ใน 3 ตำบลของอำเภอแม่ลาน ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ทั้งไทย-พุทธ ไทย-มุสลิม กระทั่งได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีบ้านแม่ลาน...คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติม

วีดีโอ

1.      วิดิทัศน์สรุป สมัสชาสุขภาพครั้งที่ 5 ( ฉบับ 15 นาที)

        การประชุมใหญ่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 เริ่มขึ้นแล้ว ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกว่า 3 พันคน ผลักดันฉันทามติ 9 เรื่องด่วนเสนอทุกฝ่ายร่วมแก้ไข รองนายกฯ "ปลอดประสพ" แนะควรใช้พลังเครือข่ายภาคีร่วมกัน สร้างกระบวนการทางสังคม เน้นป้องกันพฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน ทั้งโรคอ้วน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมเสนอแนวคิดประชานิยมด้านสุขภาพช่วยประชาชน

        การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 โดยมี ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา เป็นประธาน ท่ามกลางภาคีเครือข่ายสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจากทั่วประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยภาคีเครือข่าย ภาคประชาชน ประชาสังคม ภาควิชาการและวิชาชีพ และภาคการเมือง จำนวนกว่า 3,000 คนเข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีการจัดเวทีประชุมคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อสร้างฉันทามติจากบทเรียนและปัญหาสู่นโยบายด้านสุขภาพจำนวน 9 วาระ ก่อนนำเสนอให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ไข

        ดร.ปลอดประสพ กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อเรื่อง "ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ" ว่า ปัจจุบันเราพบโรคร้ายที่เกิดขึ้น 2 ลักษณะ คือโรคที่เกิดจากเชื้อโรค ซึ่งสามารถเยียวยาด้วยการแพทย์ได้ อีกโรคมาจากความบกพร่องของร่างกายและการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เช่นรับประทานอาหารมากไป อ้วนมากเกินไป นำไปสู่โรคความดันโรหิตสูงและโรคหัวใจ ซึ่งอนาคตน่าเป็นห่วงคนไทยจะเป็นกันมากขึ้น ซึ่งการป้องกันน่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการรักษา...คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมวีดิโอเพิ่มเติม

 

2.      วิดิทัศน์สรุป สมัสชาสุขภาพครั้งที่ 5 (ฉบับ 9 นาที)

        ดร.ปลอดประสพ กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อเรื่อง "ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ" ว่า ปัจจุบันเราพบโรคร้ายที่เกิดขึ้น 2 ลักษณะ คือโรคที่เกิดจากเชื้อโรค ซึ่งสามารถเยียวยาด้วยการแพทย์ได้ อีกโรคมาจากความบกพร่องของร่างกายและการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เช่นรับประทานอาหารมากไป อ้วนมากเกินไป นำไปสู่โรคความดันโรหิตสูงและโรคหัวใจ ซึ่งอนาคตน่าเป็นห่วงคนไทยจะเป็นกันมากขึ้น ซึ่งการป้องกันน่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการรักษา

        สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จึงควรมีฉันทามติออกมาเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของคนให้มาก เนื่องจากเรื่องของการรักษาพยาบาลนั้น กระทรวงสาธารณสุขซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาล เป็นผู้ดูแลอยู่แล้ว รวมไปถึงโรคที่มนุษย์ไปนำเข้าสู่ตัวเอง เช่นซิฟิลิส โกโนเรีย เอชไอวี สิ่งเหล่านี้ป้องกันได้โดยภาคสังคมต้องเข้าไปดูแล

        รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยกำลังพบกับสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาเรื่องของการเคลื่อนย้ายประชากรที่สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม เพราะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อีกทั้ง วัคซีนหลายอย่างที่มีราคาแตกต่างกัน เช่นโรคไข้หวัดใหญ่ ควรจะแจกฟรีหรือไม่ เมื่อเรากำลังอยู่ในนโยบายประชานิยม ก็ควรนำดอกผลมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับด้านสุขภาพ ระบบแก้ปัญหาสุขภาพนั้นมีหลายมิติ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่จะทำได้ การจะครอบคลุมทุกมิติของปัญหา จะต้องมาจากมุมมองที่แตกต่างกัน การจะเลือกมาเป็นนโยบายหลักของประเทศได้ ก็ต้องมองดูว่าจะให้อยู่ในรูปแบบอะไร มติ กฎเกณฑ์ ปฏิบัติได้จริงหรือไม่....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมวีดิโอเพิ่มเติม

 

3.      เวที ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ"

3.1)   การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารศูนย์เด็กเล็กการขับเคลื่อนนโยบายขึ้นภาษีน้ำอัดลม

        ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ"

วันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2556 โรงแรม ที.เค.พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

        ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา มีหัวข้อที่น่าสนใจ เรื่อง "การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารศูนย์เด็กเล็ก" วิทยากร อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ และ การขับเคลื่อนนโยบายขึ้นภาษีน้ำอัดลม วิทยากร น.ส.สรินทร์ยา พูลเกิด  ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมวีดิโอเพิ่มเติม

 

3.2)  การบริการปฐมภูมิและการขับเคลื่อนนโยบายการควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.นิทัศน์ รายยวา

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ"

วันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2556 โรงแรม ที.เค.พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา มีหัวข้อที่น่าสนใจ เรื่อง การบริการปฐมภูมิและการขับเคลื่อนนโยบายการควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.นิทัศน์ รายยวา....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมวีดิโอเพิ่มเติม

 

4. ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม ครั้งที่

4.1)  ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรมครั้งที่1 หัวข้อ มหามวลมิตรการพัฒนาประเทศไทย โดย ศจ.นพ.ประเวศ วะสี

       บนเวที ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 หัวข้อ มหามวลมิตรการพัฒนาประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

       ระหว่างที่อาจารย์ ไพบูลย์มีชีวิตได้ทำเรื่องการสร้างเสริมพลังคนจน พยายามให้คนจนมีการรวมตัวเป็นองค์กรชุมชน และสร้างเสริมความสามารถในการบริหารจัดการ ถึงแม้ว่าอาจารย์จะลาจากโลกนี้ไปแล้ว แต่คุณค่า ความดี จิตวิญญาณ ความเป็นไพบูลย์ จะยังคงอยู่ตลอดไป และ ศ.นพ ประเวศ วะสี จะได้กล่าวสรุปถึงยุทธศาสตร์ ที่ควรจะมีการขับเคลื่อนร่วมกันในระยะต่อไป เพื่อสื่บสานเจตนารมร์ของอาจารย์....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมวีดิโอเพิ่มเติม

 

4.2)  ช่วง พิธีเปิดการขับร้องประสานเสียงคณะครูดุษฏี พนมยงค์ ฉายชีวะประวัติ และกล่าวรายงาน โดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2556 มูลนิธิเพื่อ "คนไทย" และภาคีเครือข่ายการพัฒนา กว่า 200 องค์กร จัดมหกรรมงานจิตอาสาแห่งปี "คนไทยขอมือหน่อย" คนละไม้ คนละมือ เพื่อสังคมน่าอยู่ ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมอโนมา ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) เพื่อมุ่งเชิญชวนมาสัมผัสกับงานพัฒนา แต่ไม่ว่าเราจะเป็นใครก็ตาม เราสามารถสร้างให้สังคมน่าอยู่ได้ทั้งสิ้น

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป คณะกรรมการจัดงาน กล่าวว่า ย้อนหลังไป 50 ปี ในเส้นทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา มีกลุ่มนักคิดนักพัฒนาได้ก่อตัวขึ้นมาคอยเฝ้าระวังผลกระทบจากแผนพัฒนาที่เอาเศรษฐกิจเป็นนตัวตั้ง คนกลุ่มนี้ทุ่มเท ฝังตัว ค้นค้วารูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชมชนท้องถิ่น จากวันนั้นถึงวันนนี้ขบวนการชุมชนเข็มแข็งผ่านการเดินทางไกล จนสามารถยกระดับเป็นทฤษฎีใหม่ที่แพร่หลาย

จากวันนั้นถึงวันนี้ ได้เดินทางมาอย่างโชกโชน ผ่านช่วงทศวรรษที่ 3 และ 4 สามารถยกระดับความรู้เป็นแนวทางปฏิบัติ จัดให้มีการเรียนการสอน จนได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับ ทุกวันนี้งานพัฒนาชุมชนความเข้มแข็ง จะต้องมีความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นมนุษย์ ไปพร้อมกัน และขยายตัวไปสู่มิติที่หลากหลายทั้งชนบท เมือง ทั้งการแก้ปัญหาความยกาจน ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชน มูลนิธิกองทุน งานแก้ปัญหา งานสันติวิธี งานการเมือง ภาคพลเมือง และงานพัฒนานโยบายสาธารณะ....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมวีดิโอเพิ่มเติม

เสียง

1.      รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคเหนือ สานใจสานพลัง 28 กุมภาพันธ์ 2556 (เชียงใหม่) ตอน หยุดการค้าช้างและงาช้าง โดย ไพศาล ภิโลคำ

       25 ก.พ.56-เครือข่ายรักษ์ช้าง ร่วมประชุม "หยุดการค้างา หยุดฆ่าช้าง" ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว โดยมีตัวแทนองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งตัวแทนจากปางช้างร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย และมีหลายหน่วยงานที่เช้าร่วมในเวทีเสวนาในครั้งนี้

       กระบวนการลักลอบล่าและสังหารสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อการค้าขยายตัวอย่างมากช่วงหลายปีที่ผ่านมาและคุกคามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์โดยเฉพาะช้างป่า เพื่อสนองความต้องการงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้างของตลาดในเอเชีย ขณะที่ปัจจุบันช้างป่าของประเทศไทยมีเหลืออยู่ราว 3,200 ตัวเท่านั้น ความอยู่รอดของประชากรช้างเอเชียในไทยจึงอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากการล่าเอางา และการสูญเสียถิ่นอาศัยในป่าเช่นกัน....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับฟังเสียงรายงานข่าวสุขภาวะ สานใจสานพลัง

 

2.      รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคเหนือ สานใจสานพลัง 1 มีนาคม 2556 (แม่ฮ่องสอน) ตอน วิทยุภาคประชาชนในวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ. แม่ฮ่องสอน โดย วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์

        25 ก.พ. 56 มีการประชุมคณะกรรมการวิทยุภาคประชาชนซึ่งเป็นคณะกรรมการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนภายใต้การหนุนเสริมจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ. แม่ฮ่องสอน (สวท. แม่ฮ่องสอน)ขึ้น เพื่อพัฒนารายการวิทยุต่างๆของ สวท.แม่ฮ่องสอน ทั้งที่ผลิตโดยภาครัฐ และภาคประชาชน โดยเฉพาะรายการวิทยุภาคประชาชนที่มีอยู่ในผังรายการเกือบทุกวัน นอกจากรายการที่ภาคประชาชนผลิตแล้ว ที่ประชุมได้ร่วมอภิปรายประเด็นการสื่อสารในเรื่องราวต่างๆ เช่น ประเด็นแม่ฮ่องสอนกับอาเซียน , ประเด็นการสร้างเครือข่ายผู้ฟังรายการ , การสื่อสารภาษากลุ่มชาติพันธุ์ในรายการที่สถานีจัดทำขึ้น ผลจากการประชุมได้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจมากมาย

        การจัดให้มีคณะกรรมการจากภาคประชาชนทำงานร่วมกับนักจัดรายการภาครัฐเช่นนี้ เป็นกระบวนการทำงานแบบหุ้นส่วนพหุภาคีที่เสริมพลังคนทำงานด้วยกัน และยังมีพลังในการพัฒนาสังคมมากกว่าการทำงานแบบหน่วยงานเดี่ยว....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับฟังเสียงรายงานข่าวสุขภาวะ สานใจสานพลัง

 

3.      รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคอีสาน สานใจ สานพลัง 28 กุมภาพันธ์ 2556 ( อำนาจเจริญ) ตอน เวทีฟื้นฟูพลังท้องถิ่น โดย ยอดนารี บุญเรือง

        เวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น สู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปี 2556  ในวันที่ 13 มีนาคม 2556 พลังพลเมือง พลังชุมชนท้องถิ่น ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร การสร้างการเรียนรู้ให้เป็นเครื่องมือสร้างพลเมือง เพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน

สร้างผลกระทบ คือ รูปธรรมของความสุข สร้าง 10 กระทบ 100 เป็นกระบวนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้น่าอยู่....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับฟังเสียงรายงานข่าวสุขภาวะ สานใจสานพลัง

 

4.      รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคกลาง สานใจ สานพลัง 1 มีนาคม 56 (กาญจนบุรี) ตอน ประชุมเศรษฐกิจอาเซียน โดย จารุณี กฐินหอม

กระทรวงอุตสาหกรรม จัดการประชุมวิชาการ "ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"

        กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี จัดการประชุมวิชาการ "ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและประชาชนชนผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค

        เมื่อวันที่ (27 ก.พ.56) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 5 โรงแรมราชศุภมิตร จังหวัดกาญจนบุรี นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ เรื่อง ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีนายกาศพล แก้วประพาฬ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวต้อนรับ และ นายอนุสรณ์ เอี่อมสะอาด ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน....คลิ๊กที่นี่เพื่อรับฟังเสียงรายงานข่าวสุขภาวะ สานใจสานพลัง

 

ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หากอีเมล์ฉบับนี้รบกวนท่าน

ด้วยความเคารพนับถือ

ขอบพระคุณมากค่ะ

 

 

นางสาวฐิติชญาน์ บุญกั้น (บี)

สถานีวิทยุและโทรทัศน์สุขภาพแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

มือถือ  087-208-6428     โทร.02-832-9148   แฟกซ์  02-832-9001

www.healthstation.in.th   /  www.facebook.com/healthstation

 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น