วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์ราชการแห่งที่ 2 พื้นที่ของ กทท.บริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย

 

ผุดศูนย์ราชการแห่งที่ 2

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเปิดโครงการ "ท่าเรือสีขาว เพื่อแม่ ของแผ่นดิน" ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) วานนี้ (29 ส.ค.) ว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะใช้พื้นที่ของ กทท.บริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการแห่งที่ 2 เพื่อรองรับหน่วยงานราชการที่ตั้งตามแนวถนนราชดำเนิน เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น โดยจะส่งเสริมถนนราชดำเนินเป็นถนนประวัติศาสตร์และท่องเที่ยว

"พื้นที่ของ กทท.เป็นพื้นที่หนึ่งที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ยังมีพื้นที่อื่นอีก เช่น สถานีแม่น้ำ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย พื้นที่โรงงานยาสูบ โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคม ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาสถานที่เพื่อย้ายกระทรวงคมนาคมแล้ว มีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน หลังจากย้ายอาจใช้กระทรวงคมนาคมเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์"

ส่วนแผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ของ กทท.ที่ได้ศึกษาแล้วนั้น ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี ได้ติดตามงาน 2 ครั้ง เร็วๆ นี้จะได้ขอนัดหารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแนวทางการทำงานต่อไป โดยนายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้พัฒนาพื้นที่ 3 ด้านได้แก่ 

1. การพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแนวตั้งหรือคอนโด 

2. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ท่าเรือด้วยการลดการใช้พื้นที่โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ และ 

3. พัฒนาเป็นพื้นที่สวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยว.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ

30 สิงหาคม 2555, 05:15 น.

คลินิกโรคจากการทำงาน ปี 2555 สถานการณ์สุขภาพความปลอดภัยแรงงานไทย

คลินิกโรคจากการทำงาน ปี 2555 

สถานการณ์สุขภาพความปลอดภัยแรงงานไทย

 

ข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน

การริเริ่มผลักดันแพทย์และคลินิกโรคจากการทำงาน เป็นข้อเสนอและเรียกร้องต่อรัฐบาลของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ในนามสมัชชาคนจนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 สถานการณ์ช่วงแรกๆ นั้น มีแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล จาก รพ.ราชวิถี ทำหน้าที่วินิจฉัยคนคนงานเพียงผู้เดียว

จนมาปัจจุบัน จากการเข้าร่วมฟังและร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน  2555 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555 โดยมีท่านเผดิมชัย สะสมทรัพย์ มาเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิด ได้กล่าวถึงภาพรวมว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมกับกระทรวงสาธารณสุขได้ทำสัญญาตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2548 ให้มีการดำเนินการคลินิกโรคจากการทำงาน แบ่งเป็นระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง โดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อดูแลลูกจ้างในการส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวังและอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐด้านแรงงาน โดยเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน ซึ่งมี รพ.ในสังกัดที่สามารถขยายเพิ่มในปี 55 จำนวน 14 แห่ง จากเดิม 68 แห่ง รวมเป็น 82 แห่ง เพื่อให้สามารถดูแลลูกจ้างจำนวน 8.22ล้านคน ครอบคลุมสถานประกอบการ 338,270 แห่ง จากข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทนปี 54 สามารถลดการประสบอันตรายกรณีหยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป ให้เหลือ 4.55 ต่อพันราย จากอันตราย 5.37 ต่อลูกจ้างพันรายในปี พ.ศ.2553

ในขณะที่ รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิติตภรณ์ ผู้ร่วมอภิปรายบนเวทีได้ให้ข้อมูลว่า ทั่วโลกมีผู้ใช้แรงงานประสบอันตรายจากการทำงานปีละ 250 ล้านคน เสียชีวิต 325,000 คน เป็นโรคจากการทำงาน 160 ล้านคน ทั้งนี้ จากการรายงานสถิติการประสบอันตรายของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนยังต่ำกว่าค่าประเมินการ นั่นคือความจำเป็นที่ทำให้คลินิกโรคจากการทำงานต้องได้รับการพัฒนาให้มีการวินิจฉัยโรคให้มากขึ้น ประกอบกับอนาคตอันใกล้ ไทยจะก้าวเข้าสู่เวทีอาเซียน ซึ่งจะมีการแข่งขันสูง จึงทำให้การพัฒนางานด้านนี้ใความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง

ที่ผ่านมางานอาชีวอนามัยของอาเซียนได้มีการตั้งเครือข่ายแล้ว เรียกว่า Asfan oshnet มีการแบ่งงาน โดยไทยรับเรื่องการพัฒนา มาเลเซียรับเรื่องมาตรฐาน ฟิลิปปินส์รับเรื่องฝึกอบรม อินโดนีเซียรับเรื่องวินิจฉัย สิงคโปร์รับเรื่องตรวจรักษา

สถานการณ์ที่ผ่านมา เกาหลีกับสิงคโปร์มีอัตราการวินิจฉัยโรคสูงมาก ขณะที่ จีน โรคซิริโคซิส ญี่ปุ่น นิวโมนิโคโอซิสมีแนวโน้มลดลง ไทยภาคเกษตรโรคจากสารเคมีสูง แต่กองทุนของเรายังไม่ได้ให้การคุ้มครอง ขณะที่เวียดนาม โรคซิลิโคซิสพบผลการวินิจฉัยสูง เพราะมี ILO เข้าไปช่วย รองลงมาคือโรคหูจากเสียงดัง และโรคบิสซิโนซิส  สิงค์โปรมีการตรวจสุขภาพวินิจฉัยชัดเจน การได้ยินจากเสียงดังแนวโน้วจึงลดลง เป็นเพราะผลการใช้กฎหมายเข้มงวดจริงจัง เกาหลียังมีโรคกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก เขาจึงเอาจริงจัง มีแพทย์เชี่ยวชาญมากขึ้น ตัวเลขผลการวินิจฉัยจึงสูงขึ้น กระทรวงแรงงานเรา ยังมีการรายงานต่ำกว่ามาตรฐานมาก แม้แนวโน้มโรคทางกายศาสตร์จะมากเหลือเกิน เพราะคนงานยกของหนักรีบเร่ง แต่โรคทั้งหมดสามารถป้องกันได้ ซึ่งเรามีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ที่ผลักดันให้ไทยรับอนุสัญญา 155 160 และ 187 เพื่อให้เราจะต้องทำงานส่งเสริมป้องกันให้เต็มที่   

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯมองว่า นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม กว่า 5 ทศวรรษ ยังขาดการเตรียมความพร้อมในการพัฒนา การให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงานที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมควบคู่กันไป ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องทำงานกับเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือสารเคมีอันตรายที่นำเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต หรือระบบการทำงานที่รีบเร่ง เพื่อการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในด้านสุขภาพอนามัย เกิดการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานมีแนวโน้มสูงและทวีความรุนแรงขึ้นด้วย  จากสภาพปัญหาหลายๆ อย่าง การจ้างงานในราคาถูกเพื่อลดต้นทุน คนงานจึงต้องหารายได้ด้วยการทำโอที 12 ชม.ต่อ 6 วัน ต่อสัปดาห์ หรือ 80 ชม.ต่อสัปดาห์ ซึ่งในต่างประเทศเขาทำกันแค่ 35 ชม.ต่อสัปดาห์เท่านั้น

ประเทศในอาเซียนหลายประเทศมีเทคโนโลยีต่ำ แต่การแข่งขันสูง ยิ่งโดยเฉพาะในลาว เขมร เวียดนาม คนงานจึงขาดความมั่นคง เพราะลักษณะการจ้างงานมีการยืดหยุ่นสูง เน้นการจ้างเหมา เอางานกลับไปทำข้างนอก มีแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติซึ่งไม่มีสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครอง ขาดความปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคจากพิษภัยที่มองไม่เห็นต่างๆ และโรคที่สืบเนื่องจากการทำงานด้วยการเร่งการผลิต จนทำให้คนงานเป็นโรคโครงสร้างกระดูกจำนวนสูงสุด ทั้งยังมีปัญหาที่คนงานยังขาดความเข้าใจและการเข้าถึงสิทธิได้ยากเย็น

การศึกษาข้อมูลตัวเลขสถิติการเจ็บป่วย ประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิตหรือสูญหายจากการทำงาน หากมองย้อนหลังไป 9 ปี  (ตั้งแต่ปี 2545-2553) คนงานที่ได้สิทธิตามกฎหมายพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 (Workmen's Compensation Act) พบว่า

1.) จำนวนการประสบอันตรายรวม 9 ปี             1,706,779 คน 
2.) จำนวนผู้ประสบอันตรายเฉลี่ยปีละ                  189,642 คน 
3.) อัตราการประสบอันตรายเฉลี่ยปีละ 25 คน/ลูกจ้าง   1,000 คน 
4.) จำนวนผู้เสียชีวิตปีละ                                       791 คน 
5.) จำนวนผู้ทุพลภาพปีละ                                       13 คน
6.) จำนวนผู้สูญเสียอวัยวะบางส่วน                         3,194 คน
7.) จำนวนเงินทดแทนที่เบิกจ่ายเฉลี่ยปีละกว่า      1,500 ล้านบาท
8.) จำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยตกวันละ                             1.2 คน  

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการทำงานนี้  นอกจากจะส่งผมต่อสุขภาพกายใจของคนงานแล้วยังทำให้สูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ทั้งความสูญเสียที่เกิดขึ้นทางตรง และทางอ้อม คือทางด้านจิตใจ ซึ่งไทยยังไม่มีการประเมินค่าสูญเสียในด้านการดำรงชีวิตของแรงงาน หรือในเชิงคุณภาพชีวิตซึ่งไม่อาจประเมินค่าหรือทดแทนได้

แม้ในปี 2550 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เครือข่ายแรงงาน และเครือข่ายประชาชน จะผลักดันจนกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย บัญญัติในมาตรา 44 ว่า "คนทำงานย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันด้านความปลอดภัยและสวัสดิกาพในการทำงานหรือเมื่อพ้นสภาพการทำงาน" แต่สภาพความเป็นจริง คนงานยังไม่ได้รับการบริการด้านสุขภาพ และสิทธิตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.1537 * หรือแม้กระทรวงแรงงานจะผลักให้ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ยกเรื่อง "สุขภาพความปลอดภัยให้เป็นวาระแห่งชาติ แรงงานปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี" แต่รัฐก็ยังไม่มีการตั้งงบประมาณเรื่องนี้อย่างจริงจัง โยนให้เรื่องสุขภาพความปลอดภัยของคนงานอยู่ที่กระทรวงแรงงานอย่างเดียว ถึงแม้จะมีการตั้งคลินิกโรคขึ้นมามากมายถึง 82 แห่ง แต่ทำไมคนงานถึงยังเข้าไม่ถึงสิทธิ ซึ่งยังไม่รู้ว่าตัวเลขคนงานที่เจ็บป่วยประสบอันตราย เสียชีวิต ที่หายไปจากสถิติมีจำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ก็มีปัจจัยหลายเรื่องดังนี้

(1)  ปัจจัยตัวลูกจ้าง
1.1  ปัญหาขาดความรู้ ความเข้าใจสิทธิประโยชน์เงินทดแทนที่พึงต้องได้รับตามกฎหมาย เพราะเข้าไม่ถึงข้อมูล เพราะวันหนึ่งๆ ต้องทำงานอย่างน้อยวันละ 8-12 ชม

1.2 ปัญหาความไม่กล้าใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน เพราะกลัวว่า อาจถูกนายจ้างกลั่นแกล้ง หรือเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้  ไม่เข้าใจขั้นตอน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเวลาและการให้ข้อมูลในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนในแต่ละกรณี จึงทำให้สูญเสียสิทธิที่ควรได้โดยไม่จำเป็น

1.3 ลูกจ้างจำนวนมากได้รับค่าจ้างต่ำ แบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงในการเลี้ยงดูคู่สมรสหรือบิดามารดาและบุตรที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ ทำให้ต้องจำยอมอดทนทำงานโอทีหลายชั่วโมงเป็นประจำต่อเนื่อง ภายใต้สภาวะแวดล้อมในการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงจากความเหนื่อยล้าจึงทำให้ประสบอันตรายในการทำงานได้ง่าย

1.4 เมื่อคนงานหนึ่งคนเรียกร้องสิทธิ คนงานในสถานประกอบการ หรือบางสหภาพแรงงาน กลับมองว่า คนที่ป่วยที่ใช้สิทธิตามกฎหมายเป็นตัวเจ้าปัญหาจะทุบหม้อข้าวตัวเอง  

(2)  ปัจจัยด้านนายจ้าง
2.1  นายจ้างกลัวเสียภาพลักษณ์ของผู้ลงทุน ห่วงว่าถ้ามีข่าวคราวการประสบอุบัติเหตุ /เจ็บป่วยจากการทำงานจำนวนมาก อาจถูกลดคำสั่งซื้อ (ORDER) เพราะผิดกฎจรรยาบรรณทางการค้า (CODE OF CONDUCT) ในประเด็นการดูแลความปลอดภัยในการทำงานที่มีข้อตกลงกับคู่ค้าต่างประเทศ

2.2  นายจ้างส่วนหนึ่งไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลประสบอันตรายในการทำงานของลูกจ้างจำนวนมากในสถานประกอบการ เพราอาจกระทบต่อการถูกวินิจฉัยจากเจ้าหน้าที่เงินทดแทนให้ต้องจ่ายเงินสมทบอัตราใหม่มากขึ้นในอนาคต นายจ้างไม่แจ้งการประสบอันตรายของลูกจ้างแก่เจ้าหน้าที่ภายใน 15 วันตามกฏหมาย เพื่อความสะดวกของลูกจ้างในการใช้สิทธิเงินทดแทน มีโทษแค่ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งเป็นโทษที่น้อยมาก

2.3 นายจ้างบางส่วนมีเจตนาจะลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด เพื่อหวังผลกำไรสูงสุด โดยไม่ยอมลงทุนปรับปรุงเครื่องจักร/อุปกรณ์การผลิตสินค้าให้มีความปลอดภัยในการทำงาน

2.4 นายจ้างบางราย ไม่ยอมรับการวินิจฉัยของแพทย์ ให้ลูกจ้างแจ้งการประสบอันตรายที่ไม่เนื่องจากการทำงานโดยให้ใช้ประกันสังคม หรือให้ไปหาแพทย์คนใหม่ ทำให้ลูกจ้างถึงสิทธิช้า หรือให้ใช้สิทธิประกันสุขภาพหมู่ซึ่งไม่ใช่จากการทำงาน จึงไม่มีสถิติการเจ็บป่วยประสบอันตรายในสถานประกอบการ หรือกลั่นแกล้ง เลิกจ้างลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน

2.5 นายจ้างไม่เขียนหรือกรอกข้อมูลถึงสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ทำให้ไม่มีข้อเท็จจริงครบถ้วนและเป็นผลให้ลูกจ้างถูกวินิจฉัยว่าการเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานว่าไม่ได้เกิดเนื่องจากการทำงาน ถูกกองทุนปฎิเสธ

2.6 นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ไม่สนับสนุนดูแลความปลอดภัยฯ ในสถานประกอบการชัดเจนจริงจัง หรือไม่ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) ย่อมทำให้ลูกจ้างบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้ง่ายมากขึ้น

2.7  การตรวจสุขภาพประจำปีให้กับคนงาน ไม่ได้ตรวจตามปัจจัยเสี่ยง หรือเอ๊กซเรย์ฟิลม์เล็ก และไม่ใช่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ฯ ตรวจอย่างไรก็หาไม่เจอโรค  

(3)  ปัจจัยด้านหน่วยงานรัฐและผู้บังคับใช้กฎหมาย พ.รบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 
3.1  ยังขาดนโยบายเตรียมความพร้อมแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดการจ้างงานในสังคมอุตสาหกรรม

3.2 โครงการ Zero Accident จริงๆ เป็นนโยบายที่ดี แต่กับมีปัญหา เพราะทำให้สถานประกอบการปกปิดกรณีลูกจ้างประสบอันตราย หรือบ่ายเบี่ยงส่งเข้าประกันสังคม หรือกองทุนสุขภาพ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

3.3  พนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่ ที่รับเรื่องร้องเรียน ไม่อำนวยความสะดวกรวดเร็วเพียงพอ บางครั้งบ่ายเบี่ยงให้ลูกจ้าง กลับไปแจ้งนายจ้างหรือให้ใช้สิทธิกองทุนประกันสังคม โดยลูกจ้างไม่เข้าใจ ไม่กล้าโต้แย้ง

3.4  เจ้าหน้าที่ไม่แนะนำให้ลูกจ้างเข้าใจหลักเกณฑ์วิธีการเข้าถึงสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนอย่างชัดเจน ซึ่งต้องมีข้อมูลเอกสารหลายอย่าง และแพทย์ที่วินิจฉัยมาแจ้ง แก่เจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วน เพราะขาดประสบการณ์ในการทำงาน และหรือถูกกดดันจากฝ่ายนายจ้าง

3.5  กระบวนการวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์ ในหลายกรณีมีความล่าช้ามาก และลูกจ้างบางรายอาจ เสียชีวิตหรือพิการ หรือถูกไล่ออก ไม่สามารถอดทนรอคอยความเป็นธรรมจากคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่เงินทดแทน ต่อไปได้

3.6 หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่จะได้รับค่ารักษาพยาบาลที่แบ่งเป็นวงเงินตามความจำเป็นเบื้องต้น กรณีเป็นโรคเรื้อรัง และกรณีต้องผ่าตัดใหญ่ มีปัญหากรณีที่ลูกจ้างบางรายต้องทำการรักษาพยาบาลต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือต้องรอการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต่อเนื่องรวดเร็วได้

3.7  เจ้าหน้าที่ที่วินิจฉัย คณะกรรมการแพทย์ คณะกรรมการอุทธรณ์กองทุนเงินทดแทน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ซึ่งเป็นผู้รักษา มีขั้นตอนการวินิจฉัยซ้ำ หรือกลับคำวินิจฉัยให้ลูกจ้าง ไม่เนื่องจากการทำงาน ทำให้แพทย์ผู้รักษาไม่อยากวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ทำให้ต้องอุทธรณ์ และต่อสู้คดีต้องใช้ระยะเวลานานถึง 3-4 ปี จึงจะได้เป็นข้อยุติ

3.8 บางกรณีที่ชนะคดีในการฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ คณะกรรมการอุทธรณ์ ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง แต่ก็ติดปัญหาในกรณีเรื่องการทดแทนสิทธิประโยชน์เนื่องจากขณะที่ป่วยและถูฏเลิกจ้าง หรือ ลาออกงานมาพักรักษาตัวที่บ้าน ไม่ได้รักษาพยาบาลกับแพทย์อย่างต่อเนื่องเพราะถูกระงับสิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลตัวไปก่อนระหว่างที่รอผลคำวินิจฉัย ประกอบกับไม่มีเงินสำรองในการรักษาตัวก่อน จึงเป็นสาเหตุให้ไม่มีหลักฐานที่จะเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้การหยุดงานตามความเห็นของแพทย์

3.9  คณะอนุกรรมการและคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน  ดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานความเจ็บป่วยของลูกจ้างค่อนข้างล่าช้า

3.11 ศักยภาพการตรวจวัดประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในการทำงานตามกฎหมายรัฐยังทำได้น้อย ตรวจได้เพียงปีละประมาณ 17,000 กว่าแห่ง จากสถานประกอบการกว่า 4 แสนแห่ง ด้วยข้อจำกัดทั้งบุคลากร และองค์ความรู้ 

(4)  ปัจจัยด้านแพทย์และสถานพยาบาล
4.1  แพทย์จำนวนมากขาดแคลนองค์ความรู้ด้านอาชีวเวชศาสตร์  ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน 

4.2  แพทย์บางรายจะไม่ยอมวินิจฉัยว่าลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ถ้านายจ้างไม่อนุญาตหรือ  ยินยอมเห็นชอบด้วย  หรือ กลัวภาระตามมาภายหลังที่อาจต้องไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่หรือขึ้นศาลและเป็น

4.3  แพทย์บางราย ระบุในใบรับรองแพทย์ให้ลูกจ้างลาป่วยจำนวนน้อยเพียง 1-2 วัน  ซึ่งไม่เพียงพอต่อการหยุดพักรักษาตัว  ทำให้ต้องไปหาหมอบ่อยครั้ง หรือ ลาหยุดงานกับนายจ้างบ่อยๆ

4.4  สถานพยาบาลจำนวนมาก  ไม่มีนโยบายบริหารจัดการที่คำนึงถึงอาชีวอนามัย  โดยสนับสนุนให้แพทย์เรียนรู้ด้านอาชีวเวชศาสตร์  และมีโอกาสทำงานด้านนี้ได้ก้าวหน้าต่อเนื่องในสถานพยาบาล  ทำให้ลูกจ้างต้องเดินทางไปแสวงหาแพทย์หลายคน ในหลายสถานพยาบาลเพื่อวินิจฉัยความเจ็บป่วยของตน

4.5 มีการจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปปัจจุบันมีกว่า 82 แห่ง แต่มาตรฐาน ยังมีความแตกต่าง

4.6 ต้องสนับสนุนคลินิกโรคจากการทำงาน ให้เกิดการวินิจฉัยโรคมากขึ้น และควรมีสิ่งจูงใจให้แพทย์พยาบาลทางด้านอาชีวเวชศาสตร์

(1) ข้อเสนอแนะต่อลูกจ้างและองค์กรลูกจ้าง
1.1 ต้องให้ความสำคัญและสนใจ การศึกษา การฝึกอบรม เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง   

1.2 ต้องมีนโยบาย โครงสร้าง แผนงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่องภายในองค์กรแรงงาน และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (อาทิเช่น มีฝ่ายความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน)

1.3 ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แผนงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ร่วมกับนายจ้าง / หน่วยงานภาครัฐ และร่วมปฏิบัติการ

1.4 ต้องสร้างเครือข่ายสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างกันและกันในการแก้ไขปัญหากรณีการเจ็บป่วยด้วยโรคและการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง และการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม

(2) ข้อเสนอแนะต่อนายจ้างและองค์กรนายจ้าง
2.1 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และกฏหมายความปลอดภัยฯที่เกี่ยวข้อง

อาทิ ส่งใบ กท. 16) ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิประโยชน์เงินทดแทน ภายใน 15 วัน เพื่อเจ้าหน้าที่เป็นผู้วินิจฉัยสิทธิประโยชน์เงินทดแทนเร็วขึ้น  และทำการแจ้งส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอย่างรวดเร็ว

2.2 ต้องมีนโยบายและแผนงานงบประมาณด้านสุขภาพแลความปลอดภัยในการทำงาน และมีผู้บริหารที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจนในสถานประกอบการ (โดยไม่ใช่เป็นงานฝากของฝ่ายบุคคลหรือกรรมการผู้จัดการ/หัวหน้างาน) รวมทั้งต้องให้ลูกจ้างเข้าไปมีส่วนร่วม

2.4 ต้องเรียกประชุม คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ของสถานประกอบกิจการ อย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามผลการประชุมโดยเร่งด่วน

2.5 ต้องส่งเสริมการทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพ (จป.) อย่างจริงจัง  ไม่ควรให้ (จป.) ทำงานทุกอย่าง ที่ไม่สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ตนเอง 

(3) ข้อเสนอแนะต่อสำนักงานกองทุนเงินทดแทน แพทย์ สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงแรงงาน)
3.1 กระทรวงแรงงานต้องมีนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมสำรวจตรวจสอบการขึ้นทะเบียนของนายจ้างและลูกจ้าง โดยประสานข้อมูลกับอุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัดอย่างต่อเนื่อง

3.2 ประกันสังคมต้องทำงานเชิงรุก ต้องมีการทำงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนและหลักเกณฑ์ขั้นตอนการเข้าถึงสิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ แก่ลูกจ้างและนายจ้างอย่างทั่วถึง

3.3 เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนต้องตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในกรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน หรือส่งล่าช้า

3.4 เจ้าหน้าที่ฝ่ายประโยชน์ทดแทน ต้องมีหลักการรับเรื่องและการยื่นเรื่อง แบบแจ้งการประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหายและคำร้องขอรับเงินทดแทนตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โดยเร็วไม่มีเงื่อนไข

3.5 ฝ่ายประโยชน์ทดแทน ควรรับเรื่องการยื่นใช้สิทธิ์ของลูกจ้างตามแบบแจ้งการประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหายและคำร้องขอรับเงินทดแทนตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และการกรอกข้อมูลข้อเท็จจริงควรสอบถามลูกจ้างอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อสำหรับเป็นข้อมูลการประกอบคำวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์เงินทดแทนไม่ควรเขียนรวบรัด(เพราะลูกจ้างไม่สามารถเขียนเองได้)

3.6 ให้มีการจัดทำเกณฑ์วินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพที่เป็นมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับรวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

3.7 จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายพรบ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่จะนำไปสู่การลดข้อจำกัดต่างๆ เหมาะสมกับสถานการณ์ของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะกฏหมายดังกล่าวใช้มากว่า 18 ปี โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาค

3.8 กระบวนการวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่วินิจฉัย อนุกรรมการหน่วย คณะกรรมการแพทย์กองทุนเงินทดแทน ในแต่ละขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน ควรมีระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน เพราะที่ผ่านมาไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้

3.9 กระบวนการวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์เงินทดแทนในชั้นการอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนไม่ควรเกิน 30 วัน

3.10 กระบวนการวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและการประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องมีการเชื่อมประสานกันระหว่าง ลูกจ้างที่ได้รับเจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงาน องค์กรลูกจ้าง นายจ้าง สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กองตรวจความปลอดภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แพทย์ที่เชี่ยวชาญอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  โดยทำงานเชิงรุกต้องเข้าไปตรวจสอบในสถานประกอบการนั้นๆ โดยทันทีที่มีการเจ็บป่วยหรือการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้างเกิดขึ้นทุกกรณี เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น และลดการสูญเสียในอนาคต แบบซ้ำซาก

3.11 เสนอให้มีการปรับปรุง อัตราค่ารักษาพยาบาล ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2551 เสนอหลักการควรมีการปรับปรุงวงเงินค่ารักษาพยาบาลอย่างน้อย 5 ปีต่อครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง

3.12 สำนักงานประกันสังคมจะพัฒนาประชาสัมพันธ์ระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศให้เข้าถึงคนทำงานเข้าถึงคลินิกโรคจากการทำงาน ได้ง่ายและอย่างทั่วถึง

3.13 จะต้องมีแผนงานในการเพิ่มศักยภาพการตรวจวัดประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งด้าน เพิ่มอัตรากำลัง และมาตรฐานในการตรวจวัดประเมินความเสี่ยง

3.14 สร้างมาตรฐานของแพทย์  พยาบาล บุคลากร ด้านอาชีวอนามัย รวมทั้ง เกณฑ์วินิจฉัยโรคจากการทำงาน ให้เป็นมาตรฐานสากล และเป็นมาตรฐานในระดับเดียวกัน

3.13 มีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพทย์และพยาบาลอาชีวอนามัยอย่างเพียงพอ รองรับการดูแลลูกจ้างที่มาใช้บริการ อย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มแรงจูงใจให้มากกว่านี้

(4) ข้อเสนอต่อนโยบายรัฐบาล
4.1 ต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มีการผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย

4.2 ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

4.3 ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง

4.4 รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้

-      

ฉบับที่ 155 ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย  ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
-       ฉบับที่ 161 ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528)
-       ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549)

4.5 ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ "วัฒนธรรมความปลอดภัย" ในการทำงาน

4.6 การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง

4.7 ควรมีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และบูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทยโดยมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา

http://prachatai.com/journal/2012/04/40008

 

Mozart - Requiem

 Healthstation สช.ออนไลน์ ‎
"All men are equal in God's eyes. มนุษย์ทุกคนมีเท่าเทียมกันในสายพระเนตรของพระเจ้า 
ผลงานชิ้นสุดท้ายของ mozart Requiem ขณะที่ mozart นอนป่วยบนเตียงนอน เสมือนเพลงๆ นี้ 
mozart กำลังมอบให้ มัจจุราช และ บุคคลที่อิจฉาเขา 

Mozart - Requiem
Requiem Mass in D Minor Wolfgang Amadeus Mozart's final Masterpiece 
was commissioned in mid 1791 by the Austrian count Franz Von Walsegg, as a Tribute to the...
ในชีวิตจริงของ Mozart เขาอาจจะเป็นนักประพันธ์ที่มีฝีมือ เขาอาจจะโด่งดังไปทั่วยุโรป 
แต่จุดประสงค์ของการแต่งเพลงทั้งหมดของเขานั้นก็เพื่อ ความรัก ดังที่เขาเคยกล่าวไว้ว่า

"Neither a lofty degree of intelligence nor imagination
nor both together go to the making of genius.
Love,love,love, that is the soul of genius."

Salieri ผู้โหยหาชื่อเสียง และอยากเป็นที่จดจำ เขาเลยคิดแผนฆ่า Mozart ด้วยการสวมหน้ากากเป็นพ่อของ Mozart 
ที่ตายไปแล้ว แล้วมาขอให้ Mozart แต่งเพลง requiem (Mozart มีความเชื่อว่า ถ้าเค้าเขียนบทเพลง requiem 
เค้าจะสิ้นชีวิตทันที) และเมื่อ Mozart ตาย Salieri ก็จะฉวยโอกาสว่าเพลง requiem บทนี้คือเพลงที่เขาแต่งขึ้นเอง 
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ Salieri ทำลายชีวิตของ Mozart ได้สำเร็จ แทนที่ Salieri จะดีใจ แต่เขากล
ับรู้สึกผิด 
จนท้ายสุดต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลบ้า

บาทหลวงที่โรงพยาบาลบ้าได้บอก Salieri ว่า "All men are equal in God's eyes." 
(มนุษย์ทุกคนมีเท่าเทียมกันในสายพระเนตรของพระเจ้า) เท่านั้นแหละ Salieri ถึงกับปล่อยโฮสารภาพ
สิ่งที่เค้าทำกับ Mozart ออกมาทั้งหมด ทิ้งท้ายไว้เพียงคำถามที่ยังคาใจ Salieri ว่า ทำไม Mozart ตายไปแล้ว 
แต่ชื่อและดนตรีของเค้ายังอยู่ ขณะที่ตัวเขาเองยังอยู่ กลับกลายเป็นว่าไม่มีใครจดจ

Salieri ผู้อิจฉาริษยา Mozart คือคนที่เข้าใจงานของ Mozart มากที่สุด 

ความอิจฉาริษยา ก็คือความต้องการ ความปรารถนาในสิ่งที่ผู้อื่นมี และคิดว่าตนเองไม่มี หรือมีน้อยกว่า

ซึ่ง ค่อนข้างคล้ายคลึงกับความโลภ เพียงแต่ความโลภจะเน้นหนักไปที่เรื่องของทรัพย์สินเงินทอง 
ส่วนความริษยาจะหมายถึงเรื่องทั่วๆ ไปมากกว่า
ความอิจฉา บางครั้งก็ทำร้ายตนเอง และคนที่เกี่ยวข้องด้วย
ความอิจฉาฆ่าคนได้ บางครั้งก็เป็นการฆ่าโดยทางอ้อม โดยที่ท่านไม่รู้ตัว

อ สมศักดิ์ ร่วมกล่าวคำไว้อาลัย อากง 26 8 2012 26 8 2012

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฉบับที่ 132 รู้ทันสัญญาฟิตเนส

ฉบับที่ 132 รู้ทันสัญญาฟิตเนส PDF พิมพ์
เขียนโดย กองบรรณาธิการ   
Share

 

อยากเสียเหงื่อให้กีฬา...แต่กลับต้องเสียน้ำตาให้บริการฟิตเนส


คนที่ไม่เคยใช้บริการ ฟิตเนส คลับ คงจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีข่าวการร้องเรียนของคนที่ใช้บริการออกมาอยู่ตลอดเวลา หรือถ้าใครลองเสิร์ชข้อมูลเรื่องฟิตเนสในอินเตอร์เน็ตก็จะพบว่า มีคนมาบอกเล่าปัญหาต่างๆ ที่ได้เจอจากการใช้บริการฟิตเนสเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดกับบรรดาฟิตเนส คลับชื่อดังที่เป็นแฟรนไชส์มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น เรียกว่าสวนทางกับภาพลักษณ์ที่แสนจะหรูเลิศอลังการของความเป็นสถานบริการเพื่อสุขภาพราวฟ้ากับเหว


ฉลาดซื้อเลยส่งทีมงานหน้าใส ไปนั่งฟังพนักงานขายหรือเซลล์ของฟิตเนส คลับ ชื่อดังแห่งหนึ่ง ทำให้ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ พร้อมๆ กับนึกชมตัวเองที่สามารถรอดพ้นจากพนักงานขายฝีมือขั้นเทพเหล่านั้นมาได้

เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับสถานบริการฟิตเนสปี 2554  จำนวน 32 เรื่อง แบ่งตามสถานบริการแต่ละแห่งได้ดังนี้
ทรู ฟิตเนส  14  เรื่อง
แคลิฟอร์เนีย ว้าว  9 เรื่อง
ฟิตเนส เฟิร์ส  7  เรื่อง
อื่นๆ   2 เรื่อง


ปัญหาที่ร้องเข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและปัญหาเรื่องการขอยกเลิกสัญญา ซึ่งมีการร้องเรียนเข้ามาถึง 29 เรื่องจากทั้งหมด 32 เรื่อง ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่มีการร้องเรียนเข้ามาคือ ถูกนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางอื่นโดยไม่ขออนุญาต ปิดบริการไม่แจ้งล่วงหน้า และปัญหาด้านมาตรฐานการบริการ


ที่มา ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

 


สำนักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาของผู้บริโภคโดยตรง ก็เคยเก็บรวบรวมสถิติเรื่องร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการฟิตเนสเอาไว้เมื่อปี 2548 - 2551 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากถึง 893 เรื่อง โดย แคลิฟอร์เนีย ว้าว นำมาเป็นอันดับ 1 ที่ 576 เรื่อง ลองลงมาคือ ทรู ฟิตเนส 180 เรื่อง และ ฟิตเนส เฟิร์ส 74 เรื่อง

 

ฟิตสมองก่อน ใช้ฟิตเนส


ฟิตเนสเป็นบริการที่คนให้ความสนใจมาก เพราะฟิตเนส คลับ ต่างๆ จะมีบริการที่พร้อมสำหรับคนเมือง และมักตั้งอยู่ในย่านที่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะบรรดาฟิตเนส คลับที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นสาขามาจากต่างประเทศ จะมีบริการครบวงจร ตั้งแต่อุปกรณ์ออกกำลังกายแบบพื้นฐาน อย่าง ลู่วิ่งไฟฟ้า ที่ปั่นจักรยาน ไปจนถึงกิจกรรมพิเศษอื่นๆ อย่าง โยคะ เต้นรำ และอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย


ฉลาดซื้อสนับสนุนให้ทุกคนออกกำลังกาย เพราะอย่างที่ทุกคนรู้ดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์และจำเป็นกับชีวิต ซึ่งการเลือกที่จะใช้บริการ ฟิตเนส คลับ ต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ภาพข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ อาจทำให้ผู้บริโภคหวั่นๆ ว่าตัวเองจะกลายเป็นอีกคนหนึ่งหรือไม่ ที่ต้องปวดหัวจากบริการฟิตเนส


ฉลาดซื้อได้ลองประมวลปัญหาที่เกิดจากการเข้าใช้บริการฟิตเนสแล้วพอจะสรุปได้ดังนี้


1. ความไม่จริงใจของฟิตเนส คลับ ที่เน้นเพียงการเพิ่มยอดสมาชิก


หนึ่งในเรื่องปวดสมองของผู้ได้รับความเสียหายที่ร้องเรียนเกี่ยวกับบริการฟิตเนส คือ เซลล์บอก
อย่างแต่จริงๆ เป็นอีกอย่าง บรรดาคุณเซลล์ทั้งหลายจะเน้นอธิบายแต่ตัวเลขราคาค่าใช้จ่าย บริการที่จะได้ แต่ไม่ได้อธิบายถึงสิทธิการร้องขอเมื่อเกิดปัญหา รวมทั้งการสร้างสัญญาที่ผูกมัดมากเกินไป ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาในการใช้บริการ ตัวสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั่นเองที่เป็นตัวกดดันให้ผู้ใช้บริการที่เกิดปัญหาต้องออกไปร้องเรียนหน่อยงานต่างๆ และบางคนที่เจอปัญหาแล้วแต่ไม่ได้ไปร้องเรียน ก็ต้องกลายเป็นคนมีหนี้ มีภาระ ต้องยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อยุติปัญหา ทั้งที่ปัญหานั้นไม่ได้มาจากตัวผู้ที่ใช้บริการ


2. ผู้บริโภคใจไม่แข็งพอ เชื่อคนง่าย


ในฐานะผู้ใช้บริการ ก่อนจะทำสัญญาก็ต้องมีหน้าที่ด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าในการทำสัญญาตกลงใช้บริการ ตัวเราเองก็ยินยอมที่จะเซ็นสัญญา การใช้บริการไม่ได้เกิดจากการบังคับขืนใจ (แต่อาจจะเกิดจากการถูกหว่านล้อมกดดัน) ทำให้เวลาที่ปัญหาเกิดขึ้น ฟิตเนส คลับ คู่กรณีจึงมักไม่ยินยอมจัดการในสิ่งที่เราร้องของไป เพราะเขาก็จะใช้ข้อได้เปรียบตรงที่เราได้ยินยอมทำสัญญากันไว้แล้ว ถือว่ารับรู้และยินยอมในเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้หากใครที่อยากจะไปสมัครใช้บริการที่ ฟิตเนส คลับ ไม่ว่าชื่อดังหรือไม่ดัง มีบริการที่ปั่นจักรยานเป็นร้อยตัวหรือไม่ถึงสิบตัวก็ตาม ต้องขอดูสัญญาก่อน ไม่งั้นไม่เซ็นชื่อ


3.ไม่ได้ศึกษาข้อมูลในสัญญาให้ดี


การใช้บริการฟิตเนสเป็นอะไรที่มากกว่าเซลล์บอก ดังนั้นต้องขอเอกสารมาศึกษาก่อน โดยไล่ตั้งแต่ ค่าบริการ วิธีการชำระเงิน บริการที่จะได้รับ เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ฯลฯ ต้องทำความเข้าใจให้ดี ให้ได้มากที่สุด ก่อนเซ็นสัญญา และที่สำคัญคือ ต้องพิจารณาจากสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อตกลงที่มาจากคำพูดของพนักงานขาย เพราะหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาก็มาจาก การที่ตัวพนักงานขายมักจะเสนอโปรโมชั่นและเงื่อนไขสุดพิเศษ เรียกว่าดีจนไม่มีที่ติ ยิ่งพอมาเทียบกับราคา ก็ยากที่จะหักห้ามใจ แต่ถ้ามาดูในใบสัญญาก็จะไม่เจอข้อความที่บอกถึงสิทธิพิเศษอย่างที่พนักงานโม้ให้เราฟังก่อนเซ็นสัญญา


เช่น เรื่องการขอยกเลิกสัญญา ที่ว่าถ้ามีปัญหาสามารถมาขอยกเลิกสัญญาได้ตลอดเวลา แต่เอาเข้าจริงกลับทำไม่ได้เพราะในสัญญาจริงๆ ระบุว่าต้องเป็นสมาชิกไปอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งถ้าเลือกตัดสินใจจากการฟังแต่สิ่งที่ได้ยินจากพนักงานขายที่มาทำสัญญาเพียงอย่างเดียว ผู้ใช้บริการอย่างเราก็จะเข้าใจผิด พออยากจะขอยกเลิกสัญญาเข้าจริงๆ ก็ทำไม่ได้



ข้อควรสังเกตในสัญญาฟิตเนส


-เงื่อนไขในการยกเลิกสัญญา เพราะเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคนที่ใช้บริการฟิตเนส ไม่รู้ว่าเป็นเพราะฟิตเนสห่วงใยสุขภาพของเราเป็นอย่างมากหรือเปล่าไม่แน่ใจ ตอนสมัครก็คะยั้นคะยอเราสุดฤทธิ์ ว่าให้มาออกกำลังกายเถอะ มาดูแลสุขภาพกันเถอะ พอตอนจะขอยกเลิกสัญญาก็ไม่ยอม บอกว่าทำไม่ได้ต้องใช้บริการให้ครบตามระยะเวลาขั้นต่ำที่ทำสัญญากันเอาไว้ เพราะฉะนั้นก่อนจะเซ็นสัญญาอย่าลืมพิจารณาให้ดีๆ ว่าการขอยกเลิกสัญญาสามารถทำได้หรือไม่ ระยะขั้นต่ำของสัญญาคือเท่าไหร่ ถ้าหากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถมาใช้บริการได้ต้องทำอย่างไรจึงจะยกเลิกสัญญาได้ แล้วเมื่อขอยกเลิกสัญญาแล้วมีเงื่อนไขในการขอรับเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ คืนได้หรือไม่อย่างไร


-เงื่อนไขในการตัดเงินอัตโนมัติจากบัตรเครดิตเป็นค่าบริการรายเดือน การหักเงินผ่านบัตรเครดิต เป็นวิธีที่ฟิตเนสชื่อดังทุกแห่งเลือกใช้ในการเก็บค่าบริการกับผู้ใช้บริการ ผู้บริโภคอาจมองว่าเป็นความสะดวก แต่ความจริงแล้วเป็นการการันตีให้กับผู้ให้บริการฟิตเนสว่า จะได้รับค่าบริการรายเดือนจากสมาชิกแน่นอน แม้สมาชิกคนนั้นอาจไม่ได้มาใช้บริการเลยสักครั้งในเดือนนั้นๆ สิ่งที่ผู้ใช้บริการควรรู้ก่อนเซ็นสัญญาคือ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และระยะเวลาที่ต้องจ่าย วันที่ทำการตัดยอดในแต่ละเดือน รวมทั้งค่าปรับที่เกิดจากการผิดนัดชำระ


-ความรับผิดต่ออาการบาดเจ็บที่เกิดจากใช้บริการ อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แล้วถ้าหากเกิดขึ้นขณะที่ใช้บริการฟิตเนสล่ะ ดังนั้นให้ดูในสัญญาว่าเรามีสิทธิได้รับการดูแลหรือเรียกร้องอะไรได้หรือไม่ ถึงแม้ฟิตเนสที่เราไปใช้บริการจะดูปลอดภัยหรือน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตาม ส่วนใหญ่พนักงานขายมักอ้างว่า ทางฟิตเนสมีทั้งบุคลากรและเครื่องมืออย่างดีและมีคุณภาพสำหรับดูแลเรื่องนี้ แต่ถ้าดูในสัญญาส่วนใหญ่จะระบุไว้ว่า สมาชิกจะไม่เรียกร้องความรับผิดชอบใดๆ ต่อทางฟิตเนส กรณีเกิดความบาดเจ็บไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ ไม่ว่ากรณีใดๆ ขณะใช้บริการในฟิตเนส หรือแม้แต่อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้สมาชิกต้องรับประกันและรับรองตัวเองได้ว่า มีสุขภาพร่างกายที่พร้อมกับการออกกำลังกาย หรือได้ความเห็นชอบจากแพทย์มาแล้วก่อนที่จะมาใช้บริการของฟิตเนส


-ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ปกติฟิตเนสส่วนใหญ่จะมีบริการตู้ล็อคเกอร์ไว้สำหรับเก็บสิ่งของต่างๆ ให้กับสมาชิก แต่เรื่องของหายในฟิตเนสก็เคยเกิดขึ้นจนเป็นข่าวโด่งดังมาแล้ว ต้องดูให้ดีว่าฟิตเนสที่เราไปใช้บริการนั้นมีมาตรการในการดูแลทรัพย์สินของผู้ที่ไปใช้บริการอย่างไรบ้าง จะชดเชยเยียวยาแค่ไหน อย่างไร  ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รับผิดชอบถ้าของหายไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้น


เมื่อ "ฉลาดซื้อ" ถูกชวนให้ไปทดลองใช้บริการฟิตเนส


-ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้าย เมื่อฉลาดซื้อได้รับโทรศัพท์จากฟิตเนสชื่อดังแห่งหนึ่งให้ไปทดลองใช้บริการฟรี เพราะทางฟิตเนสกำลังจะเปิดสาขาใหม่ จึงมีโปรโมชั่นดีๆ มานำเสนอเพียบ


-พอไปถึงเราจึงได้รู้ว่า ที่บอกว่าให้มาทดลองใช้บริการฟรีนั้น ความจริงกลับไม่ได้ทดลองใช้บริการอะไรสักอย่าง เพราะพนักงานจะพาเราไปคุยเพื่อเปิดการขาย โดยจะถามเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกายของเรา มีการตรวจปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อของเราด้วย


-หลังจากนั้นก็จะเอาโปรโมชั่นมาเสนอ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยราคาที่สูงจนน่าตกใจ ก่อนจะค่อยๆ ลดลงมาโดยอ้างว่าเป็นสิทธิพิเศษนู่นนี่ ซึ่งราคาที่เสนอมาถ้าเรายังไม่พอใจ พนักงานก็จะลดให้เราได้อีก เพราะว่าเราเป็นคนพิเศษเลยได้รับสิทธิพิเศษอีก แต่เป็นเงื่อนไขที่ต้องตกลงทำสัญญากันในวันนี้เท่านี้ ถ้ามาสมัครวันอื่นจะไม่ได้ราคานี้

-ตลอดระยะเวลาที่พนักงานนำเสนอเรื่องราคา เราไม่มีโอกาสได้เห็นสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น


-แรกๆ พนักงานก็แสดงความห่วงใยสุขภาพของเราดี ที่อยากให้สมัครเพราะอยากให้มาออกกำลังกาย แต่พอเราเริ่มแสดงท่าทีว่าไม่สนใจสมัคร โดยให้เหตุผลไปว่ากลัวไม่มีเวลามาใช้บริการ สมัครไปแล้วอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่ต้องเสีย พนักงานก็จะบอกในเชิงว่าให้สมัครทิ้งไว้ มีเวลาก็ค่อยมาเล่น ซึ่งถ้าคิดในแง่ของการออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์จริงๆ ก็ควรออกให้ได้สม่ำเสมอ การมาออกกำลังกายตามสะดวกอย่างที่พนักงานบอกคงไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่


-เมื่อการเจรจาเพื่อให้สมัครสมาชิกดูแววแล้วจะไม่สำเร็จ พนักงานขายก็จะไปตามพนักงานมาอีกคน ซึ่งเป็นระดับตัวแม่ เพื่อเพิ่มระดับการเจรจา(กดดัน)ให้เข้มข้นขึ้นอีก


-มาถึงตรงนี้การเจรจาเพื่อชักชวนของพนักงานขายเพื่อให้เราสมัครสมาชิกเริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้น พนักงานขายจะใช้คำพูดทั้งอ้อนวอน หว่านล้อม บางครั้งก็เริ่มใช้คำพูดที่ไม่ค่อยเหมาะสม อย่างการพูดเหน็บแนม ประชดประชัน ดูหมิ่น เมื่อเริ่มเห็นว่าเรามีท่าทีว่า ยังไงก็ไม่สมัครแน่ๆ


-แม้จะแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่สมัครสมาชิกแน่ๆ แต่การจะปลีกตัวออกมาก็แสนยากเย็น เพราะพนักงานขายต้องการให้เราตกลงทำสัญญาให้ได้(ทำยอด) โปรโมชั่นต่างๆ จะเพิ่มมาเรื่อยๆ ปรับราคาลงมาเรื่อยๆ พูดคุยกับเราไปเรื่อยหวังว่าเราจะใจอ่อน ซึ่งก็คงมีหลายคนที่ต้องจำยอมตกลงสมัครสมาชิกไป ไม่ใช่เพราะอยากใช้บริการ แต่เพราะอยากตัดความรำคาญมากกว่า หรือไม่ก็ใจอ่อนกับตัวเลขค่าบริการ จากระดับหมื่นเหลือแค่ไม่กี่พัน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าสมัครไปแล้วจะหาเวลามาใช้บริการได้หรือเปล่า


วันนั้นฉลาดซื้อก็รอดตัวมาได้อย่างหวุดหวิด คำแนะนำง่ายๆ ที่อยากฝากไว้ก็คือ ถ้าไม่ได้มีความสนใจที่จะไปใช้บริการฟิตเนสตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริการเหล่านี้จะดีที่สุด ไม่ว่าจะคำชวนแบบไหน ให้ไปทดลองใช้บริการฟรี ได้บัตรส่วนลด หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะถ้าเผลอไปทดลองตามคำชวนล่ะก็ ไม่ปวดหัวก็ต้องปวดใจ และเผลอๆ อาจต้องเสียทรัพย์ทั้งๆ ที่ไม่อยากเสียด้วย
--------------------------------------------------------------------

 

"ฟิตเนสเป็นบริการควบคุมสัญญา"

 

ฟิตเนสที่ดีต้องมีอะไรบ้าง


1.สัญญาต้องเป็นข้อความภาษาไทย ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร มีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว


2.เงื่อนไขในสัญญาต้องมีรายละเอียดของขนาดสถานที่ให้บริการ จำนวนและประเภทของอุปกรณ์การออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการให้บริการอื่นๆ ตามที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ


3.รายละเอียดแสดงอัตราค่าบริการ ค่าสมาชิก ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการใช้บริการ พร้อมทั้งวิธีการชำระและเงื่อนไขต่างๆ


4.วันเริ่มต้นและการสิ้นสุดการเป็นสมาชิก


5.เงื่อนไขที่นำไปสู่การบอกยกเลิกสัญญา ต้องมีการแสดงข้อความเฉพาะที่ทำให้เห็นได้ชัดเจน โดยต้องใช้ตัวอักษรสีแดง สีดำ หรือตัวเอียง เพื่อสามารถเห็นได้ชัดกว่าข้อความทั่วไป


6.ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
-ไม่มีอุปกรณ์หรือบริการตามที่บอกไว้ตามข้อตกลงในสัญญา หรืออุปกรณ์ชำรุดเสียหาย มีไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อผู้ใช้บริการ โดยไม่มีการหามาทดแทนหรือทดแทนด้วยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำกว่า
-มีใบรับรองจากแพทย์ว่าไม่สามารถออกกำลังกายได้ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียกับสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ
-ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการใช้บริการ อุปกรณ์ไม่ได้คุณภาพชำรุด ผู้ดูแลฝึกสอนไม่มีความชำนาญ


7.การคืนเงินให้กับผู้บริโภคหลังยกเลิกสัญญา ผู้ให้บริการต้องคืนตามจำนวนเงินที่เหลือจากค่าสมาชิกหรือตามระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการ ภายใน 30 วัน หลังจากยกเลิกสัญญา


8.ผู้บริโภคมีสิทธิในการโอนสิทธิความเป็นสมาชิกตามสัญญาให้กับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้ให้บริการ แต่ต้องมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้ให้บริการ


9.หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการในการต่อสัญญาใหม่หลังจากผู้บริโภคใช้บริการมาจนครบกำหนดสัญญา ผู้ให้บริการต้องทำหนังสือแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ของการต่ออายุสมาชิกครั้งใหม่


10.ห้ามกำหนดให้การต่ออายุสมาชิกเป็นไปแบบอัตโนมัติ


11.ห้ามกำหนดอายุสัญญาสมาชิกเกิน 1 ปี


12.ในสัญญาต้องห้ามมีข้อความที่แสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อผิดพลาดหรือเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ 

ทั้งเรื่องการผิดสัญญาของผู้ให้บริการ อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย และทรัพย์สินสูญหาย

ภายในสถานที่ที่ให้บริการ

http://www.chaladsue.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1102:%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-132-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AA&catid=89:2010-04-01-16-52-27&Itemid=227

[ถาม-ตอบ ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจาก แคลิฟอร์เนีย ว้าว แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง]

[ถาม-ตอบ ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจาก แคลิฟอร์เนีย ว้าว แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง]
===============================
ชวนคุณมาร้องเรียนตั้งแต่วันนี้ จนถีง วันที่ 31 สิงหาคม 2555 
ระหว่างเวลา 9.00-12.00 น.และ 13.00-17.00 น. (หยุดวันเสาร์-อาทิตย์)

ร้องเรียนการใช้บริการ "แคลิฟอร์เนีย ว้าว"
สามารถร้องเรียนได้อีก 3 ช่องทางค่ะนั่นคือ

1. ทางโทรศัพท์ 02 – 248 3737
2.ทางเว็บไซต์ www.consumerthai.org ส่วน ร้องทุกข์ Online กับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ลงทะเบียนร้องทุกข์ ออนไลน์

3. ร้องเรียนทางอีเมลล์ค่ะ โดยส่งรายละเอียดมาที่ complaint@consumerthai.org

เพื่อความรวดเร็วในการร้องเรียน ผู้ร้องควรให้ข้อมูลดังนี้ค่ะ
1. ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
2. ลักษณะของสมาชิก (แบบรายปี,ตลอดชีพ) สมัครสมาชิกตั้งแต่เมื่อไร
3. เอกสารสัญญาที่ทำไว้กับทางฟิตเนส ,บัตรสมาชิก เอกสารการชำระเงิน
4. สำเนาจดหมายบอกเลิกสัญญาทางฟิตเนส (กรณีมีใบตอบรับกลับมาแนบสำเนามาด้วย)

===================================

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า มีผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับสถานออกกำลังกายแคลิฟอร์เนีย ว้าว ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2555 จนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2555 นับแต่แถลงข่าวพบว่า มีทั้งสิ้นจำนวน 295 ราย ลักษณะปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด คือ ปิดบริการโดยไม่แจ้งล่วงหน้า รองลงมาเป็น เรื่องสัญญาไม่เป็นธรรม/บอกเลิกสัญญาไม่ได้ และเรื่องมาตรฐานบริการ ซึ่งทางศูนย์พิทักษ์สิทธิได้รวบรวมปัญหาและแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้

ดาวโหลดตัวอย่างหนังสือ บอกเลิกสัญญา
http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=2439%3A2012-08-24-05-30-34&catid=254%3A2012-08-20-05-23-48&Itemid=305 

Q- ถาม สมัครสมาชิกกับสถานออกกำลังกายไว้แล้วไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ 
แถมยังถูกหักเงินจากบัตรเครดิตอยู่ จะทำอย่างไรได้บ้าง

A- ตอบ ผู้บริโภคต้องทำการบอกเลิกสัญญาด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้
1.ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาการขอใช้บริการไปยังบริษัทฟิตเนสพร้อมส่งเอกสารสำเนาบัตรสมาชิกคืนไปด้วย โดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับอาจชี้แจงเหตุในการเลิกสัญญา คือ 
สถานบริการปิด ไม่สามารถใช้บริการได้
ตัวอย่างจดหมายบอกเลิกสัญญาฟิตเนส

- เมื่อเลิกสัญญาแล้วต่างฝ่ายต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เหมือนก่อนที่จะมาทำสัญญากัน
- เงินที่ต้องจ่ายตามระยะเวลาที่คงเหลืออยู่ตามสัญญา ก็ไม่ควรต้องจ่ายเพราะเราไม่ได้เข้าไปใช้บริการ
- ส่วนเงินที่จ่ายไปแล้ว หากเป็นกรณีที่เราไม่ได้ไปใช้บริการเลย บริษัทฯควรต้องคืนให้เรา แต่หากว่าเราเคยไปใช้บริการบ้าง ก็คิดหักกันไปตามส่วน และหากบริษัทฯ เห็นว่ามีความเสียหายก็ให้เรียกร้องค่าเสียหายมา

2.ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทบัตรเครดิตให้ระงับการหักบัญชีพร้อมแนบสำเนาหนังสือตามข้อ 1. ไปด้วย โดยส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ตัวอย่างจดหมายบอกเลิกการชำระบัตรเครดิต


3.หากยังถูกหักเงินจากบัญชีอีก ให้นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน พร้อมกับร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สคบ.
- แนะนำว่าผู้บริโภคต้องทำการยกเลิกสัญญาโดยทำจดหมายแจ้งไปที่กรรมการผู้จัดการของธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต เพื่อขอความอนุเคราะห์ระงับการจ่ายเนื่องจากไม่สามารถใช้บริการสถานออกกำลังกายดังกล่าวได้ ผู้บริโภคมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญา เมื่อไม่สามารถใช้บริการได้ตามเงินที่ชำระไป เพราะสัญญาบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาตามกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ด้วย แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร และลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับด้วย

-----------------------------------------------------------------------

Q- ถาม มีการเรียกเก็บค่ารักษาสมาชิกเพิ่มจากปีละ 100 บาท เป็น 700 บาท ต้องจ่ายหรือไม่

A - ตอบ ไม่ต้องจ่าย เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้

1.ในปัจจุบันสถานออกกำลังกายนี้กำลังมีปัญหาของการประกอบกิจการ รวมทั้งสถานภาพก็อยู่ในช่วงของการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมของผู้บริโภคในการที่จะเข้าทำสัญญา หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายที่เกินควร จึงไม่ควรจ่ายเงินดังกล่าว

2.เนื่องจากบริษัท ยังอยู่ในช่วงของการขอยื่นฟื้นฟูกิจการ จึงไม่สามารถทำนิติกรรม หรือธุรกรรม ใดๆได้ รวมทั้งการปรับค่าสมาชิกเพิ่มเติม ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินดังกล่าว

-------------------------------------------------------------------------
Q- ถาม ถ้าไม่จ่ายเงินค่าบริการต่อครั้งที่เรียกเก็บ ก็จะไม่สามารถเข้าใช้บริการในสาขาที่เปิดได้ ผู้บริโภคต้องทำอย่างไรดี

A - ตอบ ผู้บริโภคไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีการเรียกเก็บเพิ่มเติม

เพราะเงื่อนไขข้อสัญญาการใช้บริการนั้น ผู้บริโภคก็ต้องยึดเงื่อนไขในข้อสัญญาเดิม คือสัญญาที่ทำกันในตอนสมัครครั้งแรก การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในภายหลัง ถึงแม้ว่าจะมีการแจ้งให้ผู้บริโภคทราบโดยการแปะประกาศ การแจ้งด้วยวาจาจากพนักงานที่หน้าเค้าท์เตอร์ ก็ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ผู้บริโภคต้องทำตาม และหากต้องการเข้าไปใช้บริการออกกำลังกาย ก็สามารถดินเข้าไปได้เลย หากพนักงานไม่ยอมสถานบริการนี้ก็เข้าข่ายผิดสัญญากับผู้บริโภคโดยปริยาย สามารถบอกเลิกสัญญา และขอเงินค่าสมาชิกคืนได้

----------------------------------------------------------------------------
Q- ถาม หากยังมีของมีค่า หรือทรัพย์สินอื่นๆ อยู่ในล๊อคเกอร์ แต่ไม่สามารถเข้าไปเอาคืนได้ เพราะสาขานั้นปิดไปแล้ว หรือ ยังเปิดอยู่ แต่พนักงานไม่อนุญาตให้เข้าไป จะทำอย่างไรได้บ้าง

A - ตอบ ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ ดังต่อไปนี้
1. สำหรับสาขาที่ปิดไปแล้ว ไม่สามารถเข้าไปในสถานบริการได้ ผู้บริโภคต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อแจ้งรายละเอียดว่ามีทรัพย์สินใดบ้าง เพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อการเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้ประกอบการต่อไป

2. สำหรับสาขาที่ยังเปิดให้บริการอยู่ หากไม่สามารถเข้าไปได้เพราะพนักงานอ้างว่าหากจะเข้าต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ให้ผู้บริโภคไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ อีกเช่นกัน เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่พามารับทรัพย์สินที่ติดค้างไว้คืน ไม่ควรดื้อดึงบุกรุกเข้าไป เพราะอาจถูกแจ้งข้อหาบุกรุกได้

3. หากตำรวจท้องที่ไม่รับแจ้งความ หรือช่วยดำเนินการอำนวยความสะดวกให้ท่าน สามารถแจ้งไปยัง ตำรวจ ปคบ. หรือ ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค ที่ตู้ ปณ.459 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทร 02-513 7111 หรือสายด่วน 1135
-------------------------------------------------------------------------
Q- ถาม ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะช่วยอะไรได้บ้าง

A - ตอบ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ ดังต่อไปนี้
1. ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะ รวบรวม รายชื่อ ผู้เดือดร้อน จากเหตุการณ์ดังกล่าว จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2555 เพื่อหาทางดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้กับผู้บริโภคต่อไป

2. ติดตามการทำงานของทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหา ให้รวดเร็วที่สุด

3. ให้คำปรึกษา ตลอดจนช่วยเหลือผู้บริโภคในการเรียกร้องทางกฎหมาย คือให้คำแนะนำในการยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่ง โดยใช้ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551

มาตราที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551

มาตรา 12

ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริต โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสม ภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม

มาตรา 42

ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจกำหนดได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดมีจำนวนเงินไม่เกินห้าหมื่นบาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด


มาตรา 44

ในคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งถูกฟ้องเป็นนิติบุคคล หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านิติบุคคลดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นหรือดำเนินการโดยไม่สุจริต หรือมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภคหรือมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของนิติบุคคลไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และทรัพย์สินของนิติบุคคลมีไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ตามฟ้อง เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ให้ศาลมีอำนาจเรียกหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลหรือผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และให้มีอำนาจพิพากษาให้บุคคลเช่นว่านั้นร่วมรับผิดชอบในหนี้ที่นิติบุคคลมีต่อผู้บริโภคได้ด้วย เว้นแต่ผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว หรือในกรณีของผู้รับมอบทรัพย์สินนั้นจากนิติบุคคลจะต้องพิสูจน์ได้ว่าตนได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน

ผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งให้ร่วมรับผิดไม่เกินทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้รับจากนิติบุคคลนั้น

---------------------------------------------------------------------------
Q - ถาม ปัจจุบันระหว่างที่รอให้บริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว อยู่ในขั้นตอน ขอฟื้นฟูกิจการ ผู้บริโภคทำอะไรได้บ้าง

A - ตอบ ผู้บริโภคควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.ในระหว่างบริษัทยื่นแผนขอฟื้นฟูกิจการและรอคำสั่งจากศาลล้มละลายจะมีข้อยกเว้นคือ ห้ามฟ้องคดีต่อศาล แต่ ผู้บริโภคต้องมีความระมัดระวังในการเข้าทำสัญญาและจ่ายเงิน เช่น

- หากมีพนักงานมาบอกให้จ่ายเงินค่ารักษาสมาชิก โดยให้เหตุผลกับท่านว่าถ้าไม่จ่ายจะสิ้นสภาพการเป็นสมาชิก ก็ไม่ต้องจ่ายเงินกับเขาเพราะทางบริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอมาทาง สคบ. เพื่อขยายระยะเวลาให้สมาชิกเพิ่ม 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น


2. หลังจากทราบผลการพิจารณาจากศาลแล้ว ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก คือ
- ยื่นขอรับชำระหนี้กับทางผู้ประกอบการรายใหม่ที่ทำแผนฟื้นฟูกิจการ หากไม่ประสงค์เป็นสมาชิกต่อไป
- ยื่นฟ้องศาลเพื่อเป็นเจ้าหนี้ โดยใช้กฎหมายคดีผู้บริโภค ถ้าศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการ
---------------------------------------------------------------------------
Q-ถาม ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องอะไรกับบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว ได้บ้าง หากฟ้องคดี

A - ตอบ ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องได้ดังต่อไปนี้
1. ค่าสมัครสมาชิกตามจำนวนเงินที่เสียไป
2. ค่าจ้างในส่วนอื่นๆ เช่น ค่าเทรนเนอร์ หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ได้จ่ายไปแล้ว
3. ค่าอุปกรณ์ ค่าเช่าล๊อกเกอร์ เป็นต้น