วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เสรีไทย กับ การประกาศวันสันติภาพ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘ (1945)


เสรีไทย กับ การประกาศวันสันติภาพ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘ (1945)


ผลงานของ ด.ช.พีท  ตรีบำรุง  จากประกวดภาพศิลปะเด็กและเยาวชนครั้งที่ ๕ "ความดี"

เสรีไทย  กับ  การประกาศวันสันติภาพ   16  สิงหาคม  2488 (1945)

นำเสนอโดย  อุทัย  สุจริตกุล

วันนี้ 16 สิงหาคม 2552 เป็นวันที่เมื่อ 64 ปีที่แล้วมา 16 สิงหาคม 2488 (1945)  ประเทศ ไทยได้ประกาศเป็นวันสันติภาพทันทีที่ญี่ปุ่นได้ประกาศยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตร ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยโดยรัฐบาลขณะนั้นได้ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักร (Great Britain) และสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 (1942)  รวม ทั้งประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นร่วมทำสงครามเอเซียบูรพา สหราชอาณาจักรได้ประกาศตอบทำสงครามกับประเทศไทย แต่สหรัฐฯ มิได้ประกาศตอบ  แต่เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตร  ประเทศ ไทยได้ประกาศสันติภาพทันทีที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้และสัมพันธมิตรโดยมีสหราช อาณาจักรและสหรัฐอเมริกาประกาศยอมรับการประกาศสันติภาพของประเทศไทย

เรื่อง นี้ ได้มีข้อสงสัย และ คำถามจากบุคคลหลายกลุ่ม หลายคณะ ว่าอะไรเป็นเหตุให้สัมพันธมิตรยอมรับการประกาศสันติภาพและไม่ถือว่าไทยเป็น ผู้แพ้สงคราม เบื้องหลังของเรื่องนี้จะต้องมีกลไก กิจกรรม ที่สำคัญ ๆ มากมาย มีผลเป็นที่พอใจและเชื่อถือต่อสัมพันธมิตรตลอดเวลาสงคราม สิ่งเหล่านั้นคืออะไร?  และ พร้อม ๆ กับการประกาศสันติภาพนั้น ดร. ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ประกาศว่า การประกาศสงครามของประเทศไทย ต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกานั้นเป็นโมฆะ เพราะขัดกับเจตนารมย์ของคนไทยทั้งประเทศ

ขบวน การเสรีไทย ซึ่งประกอบด้วยคนไทยและต่างชาติ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือและประสานงานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีอุดมคติและจุดประสงค์เดียวกัน คือร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อต้านและขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย เพื่อให้สงครามยุติโดยเร็วที่สุด การปฏิบัติและผลงานที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับจากขบวนการเสรีไทยตลอดสงครามมี มากมาย ไม่สามารถที่จะบรรยายให้หมด ณ ที่นี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผลงานที่สำคัญ ๆ ส่วนใหญ่ของเสรีไทย จะหาอ่านได้จากหนังสือตำนานของเสรีไทย หรือ THE FREETHAI LEGEND  โดย ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ราชบัณฑิต

การประชุมสุดยอดของฝ่ายสัมพันธมิตร ณ เมือง Quebec  Canada ในปี 2486 (1943) มีหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งที่เกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประชุมได้มีมติให้มีการแบ่งพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia) มีพม่า มะลายู ชะวา อินโดจีน และ ไทย  พื้นที่ของประเทศดังกล่าว ที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 16 (16 N)  จะอยู่ในเขตปฏิบัติการและอำนาจอนุญาตปฏิบัติงานทางทหารของอังกฤษ ส่วนที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 16  (16 N) จะอยู่ในอำนาจของจีน (เจียง ไค เช็ค)  และในปีเดียวกันนั้นเอง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้แต่งตั้ง พล.ร.อ. ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน  เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

พล.ร.อ. เมาท์แบตเตน ได้บินไปพบเจียงไคเช็คที่เมืองจุงกิง เสนอขอแก้ไขความตกลงการแบ่งพื้นที่หรือเขตของประเทศไทยและอินโดจีน ให้อยู่ในอำนาจและอนุญาตปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ  เจียงไคเช็คไม่ตกลงที่จะให้แก้ไข  แต่หากอังกฤษ จะทำการปฏิบัติการทางทหารในเขตประเทศไทย และอินโดจีน เหนือเส้นขนานที่  16 (16 N)   ก็ไม่ขัดข้อง โดยไม่ต้องขออนุญาตจากจีนก่อน  ซึ่งก็หมายความว่าจีนก็ยังคงมีอำนาจทำได้เช่นเดิม

ก่อน การประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่น ทางกองบัญชาการทหารสูงสุดของ พล.ร.อ. เมาท์แบตเตน ได้ให้คำแนะนำ ให้ดร.ปรีดีฯประกาศโดยด่วนยกเลิกการประกาศสงคราม ตลอดจนสัญญาและข้อตกลงต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับญี่ปุ่น  โดยกระทรวง การต่างประเทศอังกฤษให้แจ้งว่า หากดร.ปรีดีฯ ดำเนินการตามข้อแนะนำ อังกฤษก็พร้อมที่จะไม่บังคับให้ไทยยอมจำนน เยี่ยงผู้แพ้สงคราม เพราะขบวนการเสรีไทยได้ให้ความสนับสนุนภารกิจสงครามแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็น อย่างดีตลอดมา

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2488 สมเด็จพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นประกาศให้ประชาชนและกองทัพญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตร  พล.ร.อ. เมาท์แบตเตนได้ส่งวิทยุด่วนถึง ดร.ปรีดีฯ  แจ้ง เรื่องนี้ในวันที่ 16 สิงหาคม และในวันเดียวกันนี้เองประเทศไทยก็ได้ประกาศสันติภาพ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาประกาศยอมรับการประกาศสันติภาพของไทยทันที

ในวันที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ จีนได้ส่งทหารเข้าไปในเขตรัฐฉาน (Shan State) เพื่อจะเข้ามาปลดอาวุธญี่ปุ่นในประเทศไทย   ดร.ปรีดีฯได้ขอให้หน่วย O.S.S.  ของสหรัฐฯ ที่ประจำอยู่กับเสรีไทยในกรุงเทพฯ แจ้งพฤติกรรมของกองทหารจีนแก่สหรัฐฯ พร้อมกับแจ้งให้สหรัฐฯทราบว่า    หากกองทัพจีนเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนไทย ความไม่สงบเรียบร้อยจะเกิดขึ้น  

การ แจ้งให้สหรัฐฯได้ทราบอย่างรวดเร็วนี้ เป็นผลให้ประธานธิบดีทรูแมน ออกคำสั่งและย้ำว่า พล.ร.อ. เมาท์แบตเตนเป็นผู้มีอำนาจปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เมื่ออังกฤษส่งกองทหารจากอินเดียจำนวนหนึ่งเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น  ทำให้จีนไม่พอใจ และมีจีนกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพฯ มีปฏิกิริยาก่อความไม่สงบ แต่ก็ถูกทหารและตำรวจของไทยปราบปรามได้อย่างรวดเร็ว

ผลงานที่ดีเด่นของเสรีไทย และการประกาศสันติภาพของประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 (1945)  เป็นผลให้ประเทศไทยยังคงรักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้เช่นเดิม กองทัพไทยไม่ต้องยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร และถูกปลดอาวุธ  ทหาร ของสัมพันธมิตรที่เข้ามาปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย เมื่อเสร็จภารกิจแล้วก็ถอนกลับไปหมด ไม่เหมือนกับบางประเทศในเอเชียและยุโรป ที่ยังคงมีทหารต่างชาติประจำการอยู่จนทุกวันนี้

ขบวน การเสรีไทย ได้เพียรพยายามมาด้วยความยากลำบากในการที่จะได้มาซึ่งการประกาศสันติภาพของ ไทย ในโอกาสที่วันสำคัญได้เวียนมาครบ 64 ปี ในปี 2552 นี้ คนไทยน่าจะภาคภูมิใจ ไม่สมควรที่จะลืมวันสำคัญนี้เสียตลอดไป

อนึ่ง ตลอดมานับจากวันประกาศสันติภาพในปี 2488 ทุก ๆ วันที่ 16 สิงหาคมของปี พวกเราเสรีไทยได้ประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อระลึกถึงและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ เสรีไทยทุกท่านที่ได้สละชีวิตรับใช้ชาติ พิธีการก็ได้กระทำอย่างเรียบง่ายเท่าที่โอกาสและฐานะจะอำนวยให้ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2538 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการกำหนดให้วันที่ 16 สิงหาคม เป็นวันสันติภาพไทย และกรุงเทพมหานคร คุณพิจิตร รัตตกุล ผู้ว่าราชการฯ ขณะนั้น และคุณสมคาด สืบตระกูล เลขานุการผู้ว่าราชการฯ ได้เห็นคุณค่าและความเสียสละของขบวนการเสรีไทย ได้ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อก่อสร้างอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ ณ สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม และเมื่อการก่อสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว การประกอบพิธีทางศาสนาอุทิศส่วนกุศลตามที่ได้เคยจัดทำที่ตึกวชิรญานวงศ์ รพ. จุฬาลงกรณ์ เป็นประจำจึงได้ย้ายมาจัดทำที่อาคารเสรีไทยอนุสรณ์ บึงกุ่ม โดยท่านอดีตผู้ว่าฯ ได้มอบให้ ผอ. เขตบึงกุ่มให้ความร่วมมือกับฝ่ายปฏิบัติงานของสถาบันปรีดีพนมยงค์เป็นผู้จัด ทำตั้งแต่ปี    2546      เป็นต้นมา

ปี หน้า พ.ศ. 2553 จะเป็นวันครบรอบปีที่ 65 ของการประกาศสันติภาพของประเทศไทย กระผมขออนุญาตเสรีไทยทุกท่านพูดในนามของเสรีไทย เสนอ พณฯ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดให้ความสำคัญแก่วันดังกล่าวนี้ให้มากขึ้น และหากเป็นไปได้ขอเรียนเสนอให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดมอบหมายหรือสั่งการ ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนี้ให้เป็นผู้อุปถัมภ์ และจัดงานระลึกถึงวันสำคัญนี้ โดยมีเขตบึงกุ่มและสถาบันปรีดีพนมยงค์เป็นที่ปรึกษาและประสานงานเป็นประจำ ทุกปี

 

FREETHAI  MOVEMENT  AND  DECLARATION  OF PEACE  DAY

16 AUGUST 1945

Presented by Uthai  Sucharitkul

                  Go back to 64 years ago – today 16 August 1945, Thailand had declared Peace Day immediately after Japanese Armed Forces had surrendered to the  Allies  - Great Britain and United States of America.  Such declaration by Thailand was actively endorsed by Great Britain and United States of  America despite Thailand – the then Government had declared war against G.B. and U.S.A. on 25 January 1942.

                  There are and there were questions about this matter from various groups doubtfully what caused  the Allies to endorse such Declaration and disregard Thailand as looser.  Apparently, there must be an outstanding mechanism and performances played the most important roles throughout the war by FreeThai Movement which caused great satisfaction to the Allies.   At the same time with Peace Day Declaration, Dr. Pridi or rather code name RUTH the leader of FreeThai Movement announced that the Declaration of War against G.B. and U.S.A. by the then Thai Government on 25 January 1942 was invalid as it was contradicted to the intention of the majority of the Thai people.

                  FreeThai Movement comprised of Thais and foreigners inside and outside the Country with the same ideal and objective to work together and collaborate with Allies in order to resist and defeat the Japanese Armed Forces as soon as possible.  There were lots of activities and results performed by FreeThai Movement throughout the War which cannot be able to present right here due to time given.  Nevertheless, details of FreeThai Movement performances are available in the Legend of FreeThai Movement Book written by Dr. Vichitwong Na Pompet, member of the Royal Institute.

                  Shortly, prior to the Japanese’s surrender, the Allies Supreme Command H.Q. Southeast Asia advised RUTH to urgently announce the Cancellation of War Declaration as well as all agreements that Thailand had agreed with the Japanese and if RUTH has proceeded in accordance with such advice, the Foreign Ministry  agreed not to treat Thailand to either surrender or looser.  This is simply because the FreeThai Movement has been continuously performing an outstanding collaboration and field activities to the Allies.

                  15 August 1945, Japanese Emperor requested all Japanese and the Armed Forces to surrender to Allies.  In such incident, Admiral Mountbatten had transmitted the urgent message  informing the incident to RUTH on 16 August and on the same day Thailand immediately declared the Peace Day.  G.B. and U.S.A. endorsed such declaration by Thailand.

                  Right after Japanese’s surrender, China, Chiang Kai Check deployed troops into Shan State to make path into Thailand to disarm the Japanese.  RUTH requested O.S.S. in Bangkok to report this incident to Washington plus the remarks that “if Chinese troops come to disarm the Japanese in Thailand, the situation unrest will possibly be occurred.”

                  By the result of urgent notification, President Truman issued the order and stressed that Admiral Mountbatten had full authorization to disarm the Japanese Armed Forces in Thailand.  By having British troops to disarm the Japanese in Thailand, the situation unrest had occurred in downtown Bangkok by some Chinese groups.  But the situation was settled shortly by Thai military and police.

                  FreeThai Movement’s outstanding performance and Declaration of Peace Day on 16 august 1945 caused Thailand to maintain Independence and Sovereignty.  Submission by the Royal Thai Armed Forces to Allies  was not required and the most important point to be notice is there was no single Allied troops left in Thailand after the disarmed mission completed, unlike some countries in Asia and Europe up till now.

                  In order to obtain the Declaration of Peace Day, FreeThai Movement had endeavoured  and sacrificed lives and blood as well as all kinds of hardship.  On this occasion of the auspicious day has turned 64 years today, all Thai people should be proud of and should not forget this auspicious day – keep it in mind forever and ever.

                  Honourable Governors, Excellencies, Distinguished Guests.

                  May I take this auspicious occasion to request you all to rise for 1 minute to commemorate to our Heroes members of FREE-THAI MOVEMENT.

                  Thank you – much obliged.


--
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=489471

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น