วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

e-magazine ฉบับที่ 39 ปัญหาฟิตเนสเอาเปรียบที่รอการแก้ไข



จาก: เดชา กิตติวิทยานันท์ <decha007@cscoms.com>
วันที่: 22 ธันวาคม 2553, 12:21
หัวเรื่อง: e-magazine ฉบับที่ 39
ถึง:


สวัสดีพี่น้องทนายคลายทุกข์ ทาง E-Magazine ทุกท่าน

ทีมงานทนายคลายทุกข์ขอนำบทความที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเพื่อนสมาชิก เกี่ยวกับ ปัญหาฟิตเนสเอาเปรียบที่รอการแก้ไข

ผู้บริโภคมีปัญหาด้านสัญญากับผู้ให้บริการฟิตเนส ผู้บริโภคหลายคนไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ แม้จะมีเหตุสุดวิสัยอย่างกรณีการตั้งครรภ์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบปัญหาเกี่ยวพนักงานขายเชิญชวนผู้บริโภคให้ไปใช้บริการฟรี เมื่อไปใช้กลับบอกว่าไม่มีบริการฟรีให้ แต่จะให้ส่วนลดในการใช้บริการ และเมื่อสมัครใช้บริการไปแล้ว สถานที่ให้บริการยังไม่พร้อม อุปกรณ์ไม่เพียงพอกับผู้ให้บริการ เมื่อผู้บริโภคขอบอกเลิกสัญญาก็ไม่ให้เลิกสัญญา โดยมีเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาได้นั้นต้องทุพลภาพหรือย้ายที่อยู่เท่านั้น ทนายคลายทุกข์จึงสรุปประเด็นปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนฟิตเนสบางส่วนมานำเสนอ ดังต่อไปนี้
สรุปปัญหาข้อร้องเรียน จาก www.decha.com เกี่ยวกับฟิตเนส
1. ปัญหาเรื่องการทำสัญญา การทำสัญญาทาง Sale ไม่ได้แจ้งว่า ไม่สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิกได้ ซึ่งปกปิดข้อมูลอันทำให้เกิดสัญญา แล้วสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคคือ ด้วยทั้งวัยวุฒิ และสถานภาพที่ไม่สามารถรับผิดชอบเงินที่เป็นสมาชิกดังกล่าวได้
2. ค่าติดตามหนี้ มีบริษัทสำนักกฎหมายส่งจดหมายมาทวงค่าสมาชิกที่ค้างชำระ+ค่าธรรมเนียมในการชำระเงินล่าช้า+ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม และระบุว่าหากไม่ได้มาชำระเงินภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ที่ได้รับจดหมายนี้ หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีตามกฎหมายโดยไม่ต้องมีหนังสือเตือนอีก และจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการติดตามทวงถาม รวมทั้งค่าดำเนินการทางกฎหมายที่เกิดขึ้น
3. การโอนสิทธิ ถูกโอนสิทธิสมาชิกให้บุคคลอื่น โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากดิฉันเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ได้กระทำการเอง จึงขอให้ทาง Fitness ยกเลิกสัญญาให้ เนื่องจากไม่ปลอดภัยในข้อมูล ไม่มั่นใจ และไม่พอใจที่อนุญาตให้คนอื่นมาโอนสิทธิแทน โดยที่ไม่มีการมอบอำนาจแต่อย่างใด และไม่มีการแจ้งให้ทราบด้วย
4. trainner trainner โทรมาให้ช่วยซื้อครอสเพิ่ม พยายามบอกปัดไปก็ตื้อ ก็เลยบอกไปว่าเดี๋ยวเข้าไปดูเอง หลังจากนั้นไม่เกิน 10 นาทีโทรกลับไปบอกว่าไม่สนใจเพราะไม่มีเงิน trainner บอกว่าส่งยอดไปแล้ว ยกเลิกไม่ได้เดี๋ยวจะให้คนอื่นมารูดบัตรเครดิตให้ก่อนแล้วให้ดิฉันโอนเงินไปทีหลัง ทำทุกอย่างแบบมัดมือชกกันเลย
5. การยกเลิกสัญญา สัญญาทำไว้ 1 ปี ถ้าไม่ครบ 1 ปี ทางฟิตเนสบอกแต่ว่ายกเลิกไม่ได้
6. การชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิต ไปทำสัญญา โดยในตอนที่ทำสัญญาไม่มีบัตรเครดิต เพราะยังเรียนอยู่ ทาง Sale เสนอว่าจะใช้บัตรของพนักงานอีกคนค้ำไว้ก่อน แล้วให้มาชำระเงินที่ฟิตเนส ก่อนที่ยอดจะไปตัดบัตรเครดิตของพนักงานคนนั้น
7.การตรวจร่างกายผู้ใช้บริการ ตรวจร่างกายพบว่า ตั้งครรภ์ จึงได้พิมพ์เป็นจดหมาย พร้อมแนบใบรับรองแพทย์ fax ไปยังสถานออกกำลังกาย โดยในจดหมายได้ระบุแจ้งขอยกเลิกสัญญาและการเป็นสมาชิกด้วยเหตุผลทางการแพทย์คือ ตั้งครรภ์ ไม่สามารถมาออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่พนักงานขายกับแจ้งว่าไม่สามารถยกเลิกได้ เนื่องจากติดสัญญา ( สัญญามีอายุ 1 ปี) แต่ทาง fitness จะทำการเปลี่ยนแปลงคือ มอบสิทธิ์หยุดพักให้ 1 ปี โดยไม่คิดค่าบริการ
นี่เป็นเพียงข้อร้องเรียนบางส่วนเท่านั้นที่หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น และกำลังหาทางออกจากโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค (สคบ.) แต่ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ทั้งที่มีเรื่องร้องเรียนวันละหลายสิบสาย ทางออกอีกทางหนึ่งที่สามารถจะทำได้ ผู้บริโภคก็คงต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522, พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ช่วยไปก่อน ถึงแม้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง แต่ขบวนการชั้นศาล น่าจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่อาจต้องทำ แต่หากมีกฎระเบียบที่คุมสถานบริการออกกำลังกายออกมาอย่างชัดเจน ก็น่าจะกว่าที่จะต้องไปเจอปัญหาและต่อสู้กับปัญหาด้วยตนเอง โดยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยังไม่สามารถช่วยเหลือให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้บริโภค" หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
"สัญญา" หมายความว่า ความตกลงกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อซื้อและขายสินค้าหรือให้และรับบริการ

มาตรา 35 ทวิ ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใด ถ้าสัญญาซื้อขายหรือสัญญาให้บริการนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือที่ตามปกติประเพณีทำเป็นหนังสือ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการนั้นเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้
ในการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญา สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคจะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นซึ่งหากมิได้ใช้ข้อสัญญาเช่นนั้น จะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร
(2) ห้ามใช้ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และรายละเอียดที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนด และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจะให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา


ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น