มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งมีผลการสำรวจค่อนข้างละเอียด ในทุกแง่มุมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (หากสนใจสามารถค้นหาได้จากรายงานการสำรวจดังกล่าว) พบว่า จำนวนและอัตราส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น ประกอบกับอัตราเกิดของประชากรไทยลดลง
อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน แสดงความเป็นห่วงกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้มีมาตรการต่าง ๆ ช่วยเหลือมากมาย เช่น การปรับอาคาร สถานที่ อุปกรณ์การดูแล และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ การตั้งสถานบริบาลผู้สูงอายุที่แยกออกจากบ้านพักคนชรา รวมถึงการส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ
กรมสรรพากรแม้มีภารกิจหลักในการจัดเก็บภาษีอากรเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ แต่ในอีกบทบาทหนึ่งก็มีส่วนช่วยพัฒนาสังคม โดยในประเด็นของผู้สูงอายุแม้มิได้เป็นประเด็นใหม่แต่อย่างใด อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรก็ได้มีมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระภาษีของ ผู้สูงอายุ หรือสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในประเทศไทย เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้นออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ได้รับ และนำเงินได้หลังใช้สิทธิมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ
2. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หากดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันมีจำนวนเกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษี ให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทั้งจำนวน และนำส่งกรมสรรพากร
3. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินบำเหน็จดำรงชีพ มาตรการนี้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่รับบำนาญ แต่ต้องการใช้เงินที่เป็นบำเหน็จตกทอดขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สูงอายุที่รับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินบำเหน็จดำรงชีพนั้น
รวมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้ในลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพของพนักงานการท่า เรือแห่งประเทศไทย พนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยและพนักงานธนาคารออมสินที่ได้รับโดยมีอัตราและ วิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
4. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณ อายุ ทุพพลภาพหรือตาย โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
5. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากออกราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย
6. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แต่รวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนรวม หรือ กบข. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม ได้รับเงินจากกองทุนดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย
7. การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่เลี้ยงดูบิดาหรือมารดา บิดาหรือ มารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยบิดาหรือมารดาจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ บุตรที่มีเงินได้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท บิดาหรือมารดาจะรวมถึงบิดาหรือมารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ด้วย กรณีนี้จะให้สิทธิทางภาษีแก่บุตรที่เลี้ยงดูแต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง กับผู้สูงอายุเช่นกัน
8. การหักค่าลดหย่อนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ
- กรณีบุคคลธรรมดา บริจาคเงินสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษี ได้เท่ากับจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ
- กรณีนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน สามารถนำรายจ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
9. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดาหรือมารดาของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ด้วย โดยบิดาหรือมารดาจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ ทั้งนี้จะยกเว้นภาษีเท่ากับค่าเบี้ยประกันเท่าที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 15,000 บาท ในปีภาษีนั้น
10. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากอง ทุนสงเคราะห์ ฯ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษี และยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชนเมื่อออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพหรือตาย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กรมสรรพากรมีมาตรการสำคัญที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้สูงอายุ บุตร ผู้มีเงินได้ของผู้สูงอายุ มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหลากหลายรูปแบบตามที่กล่าวมา ข้างต้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน สังคมและประเทศชาติโดยรวม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,584 18-20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
--
http://www.isnhotnews.com/
http://www.ekthana.com/seminar_november/
http://www.navyhall.com/home.php?link=main&link2=calendar_year&set=1&md_set=1&md_in_set=1&m_set=1
http://projects.silodesign.nl/vcm/
http://masterpieces.asemus.museum/default.aspx
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1036185&page=32
http://twitter.com/RAFIKALGER
http://profile.imageshack.us/user/RafikH...
http://www.mixpod.com/playlist/47308482
http://fr-fr.facebook.com/people/Rafik-H...
http://www.tlcb.or.th/index.php?option=com_content&view=frontpage&Itemid=494
http://www.moeradiothai.net/home.php?webid=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น